ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 58' 26.679"
12.9740775
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 54' 16.808"
101.9046689
เลขที่ : 85960
บ้านช่องกะพัด
เสนอโดย อิศรวรรณ วัฒนกูล วันที่ 31 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : จันทบุรี
0 427
รายละเอียด

1.พื้นที่ตั้งหมู่บ้านนี้ในสมัยก่อนในช่วงฤดูฝน จะเกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำในคลองโตนดไหลท่วมพื้นที่ และเกิดช่องน้ำไหลขึ้นในบริเวณนี้ ต่อมาวันหนึ่ง ได้มี “ปลากะพัด” ตัวใหญ่ลอยมาติดอยู่บริเวณช่องน้ำไหล ชาวบ้านจึงถือว่า ปลากะพัด เป็นปลาคู่หมู่บ้าน และเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “บ้านช่องกะพัด”

2. ได้มีประชาชนอพยพมาจากจังหวัดปราจีนบุรี และมาจากบ้านทุ่งตาอินทร์ บ้าน พยาท บ้านแตงเม บ้านขอม บ้านลาว เป็นคนชอง เขมร ได้เข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ และได้ลงไปตักน้ำในคลองโตนดกิน อยู่มาวันหนึ่งเกิดฝนตกหนักจากเขาสิบห้าชั้น น้ำไหลแรงมาก และคนที่ไปตักน้ำในคลองได้พบปลาใหญ่ตัวหนึ่งนอนติดอยู่ชายหาด คนที่เห็นปลาเกิดประหลาดใจ จึงได้วิ่งขึ้นมาบอกพวกเพื่อนบ้านไปดูปลา ในบรรดาคนที่เข้าไปดูปลามีคนทราบชื่อปลาตัวนั้นว่าเป็นปลากะพัด พวกเขาเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านช่องกะพัด”

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีวิวัฒนาการจากปลาโบราณเพียงเล็กน้อย จึงมีลักษณะคล้ายปลาโบราณ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

สำหรับชื่อ "ตะพัด" เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หางเข้" ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิธที่ลำน้ำเขาสมิง จังหวัดตราด โดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ ฟักไข่ในปาก เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมใช้ทำเป็นอาหาร

ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใสอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอโดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กรือซอ" แต่จากการจับอย่างมากในอดีต ทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%94

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านช่องกะพัด
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือชื่อบ้านนี้มีความหมาย โดย นางสาวอิศรวรรณ วัฒนกูล
บุคคลอ้างอิง นายจวน เจริญสุข
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี อีเมล์ chanthaburi_culture@hotmail.co.th
ถนน เลียบเนิน
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000
โทรศัพท์ 039303298 โทรสาร 039303298 ต่อ 16
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่