ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 26' 40.0196"
15.4444499
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 7' 33.5197"
104.1259777
เลขที่ : 86927
ผ้าไหมย้อมมะเกลือ
เสนอโดย นายอนุวงค์ ศรีเมือง วันที่ 1 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 29 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 605
รายละเอียด
ชาวเยอ เป็นชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งในอำเภอราษีไศล ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร เรียกตนเองว่า กวย มีความหมายว่า คน หากจัดกลุ่มแล้ว ชาวเยอจัดอยู่ในกลุ่มของชาวกูย มีภาษาพูดภาษาเดียวกัน ซึ่งมีเพียงบางคำเท่านั้นที่แตกต่างกัน ตำนานของชาวเยอในศรีสะเกษ เริ่มต้นที่ พญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยอ อพยพมาโดยทางเรือ มาตั้งเมืองคงโคกหรือเมืองคงปัจจุบันนี้ ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อค้าขาย มูลเหตุของการตั้งชื่อเมืองอาจมาจากการที่พื้นที่เหล่านี้อาจจะมีป่ามะม่วงมาก่อนแล้ว หรือมีการปลูกต้นไม้ผล เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะพร้าว ฯลฯ ผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลเร็วคือ มะม่วง มะม่วงภาษาเยอว่า เยาะค็อง หรือเยาะก็อง ต้นมะม่วงที่มีอยู่จำนวนมากจึงเรียกเมืองตนเองว่า เมืองเยาะค็อง และเพี้ยนเป็นเมืองคอง-เมืองคง ในที่สุด ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลา ที่บึงคงโคก บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอและมีการบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามทุกปี การอพยพของพญากตะศิลาเป็นคำบอกเล่าที่น่าสนใจ เพราะใช้เรือส่วง (เรือยาวที่ใช้พายแข่งขันกัน) ๒ ลำ เรือลำที่ ๑ ชื่อ คำผาย เรือลำที่ ๒ ชื่อคำม่วน แต่ละลำจุคนได้ประมาณ ๔๐-๕๐ คน พายจากลำน้ำโขงเข้าปากแม่น้ำมูล รอนแรมทวนกระแสน้ำขึ้นมาเรื่อยๆ ผ่านเมืองไหนก็บอกกับเจ้าเมืองนั้นว่าจะไปตั้งเมืองใหม่อยู่ เจ้าเมืองๆนั้นก็ให้ไปเลือกอยู่ตามที่เห็นเหมาะสม ถึงบ้านท่า ตำบลส้มป่อย ก็พาไพร่พลแวะพักแรม รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำพวกออกสำรวจหาพื้นที่ตั้งเมือง มาเห็นเมืองร้างเป็นเนินดินสูงมีคูน้ำล้อมรอบ ที่บึงคงโคกทุกวันนี้ เห็นว่ามีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมก็นำไพร่พลตั้งบ้านเรือน ปัจจุบันที่เมืองคงโคกมีศาลและรูปปั้นของพญากตะศิลา เป็นที่เคารพสักการะ บนบานของชาวบ้านเป็นประจำ ชาวเยอจะมีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งชายและหญิงจะใช้ผ้าไหมเหยียบแขนยาวย้อมสีดำ ซึ่งเป็นผ้าไหมเส้นเล็กทอลวดลายขิดดอกเล็กๆ แทรกตลอดผืน เมื่อตัดเย็บแล้วนำมาย้อมด้วยผลมะเกลือดิบที่ตำแล้วนำมาย้อมหลายครั้ง ตากให้แห้งแล้วคลุกหมักไว้ในโคลน เสื้อผ้าไหมเหยียบย้อมดำนี้ เป็นผ้าเนื้อแน่นและอ่อนนุ่ม มีความคงทนเป็นพิเศษใช้สวมใส่ในทุกโอกาส ไม่ว่าทำนา ทำไร่ ไปตลาด หรือไปเที่ยวงานรื่นเริง ถ้าทำนาหรือทำงานอื่นๆ จะสวมเสื้อย้อมดำคู่กับผ้าซิ่นฝ้าย แต่ในโอกาสทำบุญต่างๆ หรือโอกาสพิเศษหรือไปตลาดจะนิยมสวมเสื้อไหมเหยียบย้อมดำคู่กับผ้าซิ่นหมี่ มีผ้าสไบสีดำพาดไหล่ ใช้เช็ดหน้าตาเช็ดมือได้ ส่วนผู้ชายถ้าทำไร่ทำนาก็สวมเสื้อไหมเหยียบย้อมดำแขนยาวในลักษณะเสื้อเชิ้ต แต่ถ้าเป็นงานบุญหรือโอกาสพิเศษจะนุ่งโสร่งไหม มีผ้าขาวม้าไหมหรือฝ้ายสีสดใสเป็นลวดลายตารางมัดคาดเอว ปัจจุบันชาวเยอได้ประยุกต์ตนเองเข้ากับสมัยนิยมแล้ว แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเชือก
ตำบล จิกสังข์ทอง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางไพรวรรณ วรรณวงษ์
ชื่อที่ทำงาน องค์การบริหารส่วนตำบลจิกสังข์ทอง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเชือก
ตำบล จิกสังข์ทอง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่