พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บนยอดเขาตันหยง ติดชายทะเล ตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนราธิวาส ประมาณ ๘ กิโลเมตร ไปตามถนนสายนราธิวาส - อำเภอตากใบ ครอบคุลมเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่ บริเวณเชิงเขาตันหยงและหาดทรายริมทะเล สร้างขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๖ สำหรับเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ของทุกปี ลักษณะอาคาร ประทับก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาสมัยใหม่ตามแบบนิยมของภาคใต้ แบ่งเป็นอาคารหมู่บน ซึ่งเป็นที่ประทับ และตำหนักของกองราชเลขาฯ และหมู่อาคารล่างอันเป็นที่พักของทหารมหาดเล็ก ในบริเวณมีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น รวมถึงกรงเลี้ยงไก่ฟ้า นก และสัตว์ป่าพันธ์ต่างๆ ท่ามกลางแวดล้อมพรรณไม้ ป่าดงดิบ หายากของภาคใต้ และไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม ส่วนบริเวณด้านล่าง จัดเป็นศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เซรามิค และเครื่องปั้นดินเผา เพื่อเสริมสร้างรายได้ และพัฒนาฝีมือแก่คนในท้องถิ่น ความสำคัญ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เป็นพระตำหนักที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินินาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ และพระราชวงศ์ เมื่อเสด็จมาประทับแรมที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งตามปกติจะเสด็จแปรพระราชฐานอยู่เป็นประจำทุกปี เพื่อทรงงานตามโครงการพระราชดำริ และทรงตรวจเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศเป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ลักษณะเป็นทรงปันหยาสมัยใหม่ ซึ่งสถาปัตยกรรมทรงนี้เป็นศิลปะนิยมของชาวภาคใต้ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสให้สถาปนิกออกแบบให้มีรูปทรงประสานกลมกลืน กับอาคารบ้านเรือนแบบท้องถิ่นที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม เส้นทางคมนาคมเข้าสู่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระตำหนักแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายทะเลบริเวณเชิงเขาตันหยง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส ตามทางหลวงสายอำเภอเมืองนราธิวาส - อำเภอตากใบ ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๘ กิโลเมตร
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ แบ่งออกเป็น ๓ เขตพระราชฐาน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นใน และเขตพระราชฐานที่ประทับ มีพื้นที่ประมาณ ๕๔๒ ไร่ และนอกจากนั้นยังมีพื้นที่เป็นป่าอีกประมาณ ๑,๙๗๕ ไร่ ที่จะต้องดูแลรักษาป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า การยิงและจับสัตว์บนขาตันหยง ซึ่งพื้นที่ประมาณ ๑,๘๗๕ ไร่ ถือเป็นเขตพระราชฐานอีกส่วนหนึ่งด้วย บนเขาตันหยงมีสำนักสงฆ์ของพระตำหนัก สำหรับเป็นที่พักของพระราชาคณะ หรือพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จฯ อย่างเป็นสัดส่วน