ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 39' 20.9999"
13.6558333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 4.0001"
100.2677778
เลขที่ : 97229
กล่ำ
เสนอโดย admin group วันที่ 14 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 3427
รายละเอียด

กล่ำ- เป็นอุปกรณ์จับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง แม่น้ำท่าจีนและลำคลองในเขตอำเภอกระทุ่มแบนมีน้ำจืดไหลจากทางด้านทิศเหนือและได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล จึงเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นและน้ำลง น้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุดต่างกันประมาณ 3 เมตร เมื่อน้ำขึ้นสัตว์น้ำจะหาอาหารและพักอาศัยอยู่ตามรากไม้ ต้นไม้ตามชายฝั่ง เมื่อเวลาน้ำลงสัตว์น้ำจะไม่มีที่พักอาศัยที่สะดวกสบายเหมือนเวลาน้ำขึ้นชาวประมงจะนำไม้หลักจำนวน 4 ต้น ปักเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้ไม้ไผ่ผูกยึดเสาทั้งสี่โดยรอบนำกิ่งไม้ไปวางเรียงไว้ในพื้นที่สี่เหลี่ยมโดยใช้โคนกิ่งไม้ปักไว้กับดิน จำนวนกิ่งไม้ที่ปักไว้มีจำนวนมาก อุปกรณ์ลักษณะเช่นนี้เรียกว่ากล่ำ จะมีขนาดใหญ่เล็กหรือเสาจำนวนมากกว่า 4 ต้นก็ได้แล้วแต่ภูมิประเทศ กล่ำจะถูกสร้างไว้ริมแม่น้ำตรงบริเวณที่จุดน้ำลงต่ำสุด เมื่อน้ำลงสัตว์น้ำจะพากันมาอาศัยอยู่ในกล่ำนานวันก็จะมีจำนวนมากขึ้นหลังจากสร้างกล่ำแล้วประมาณ 5-6 เดือน เมื่อถึงวันที่น้ำตาย ( น้ำน้อย ) เมื่อถึงเวลาน้ำลงชาวประมงจะนำอวนไปปิดล้อมกล่ำไว้สามด้านเปิดให้ปลาเข้าไปอาศัยในกล่ำตามปกติต่อมาอีกสองวันเมื่อน้ำลงแห้งสุดปลาจะมาอาศัยอยู่ในกล่ำชาวประมงจะนำอวนไปปิดด้านที่เหลือ ปลาจะถูกขังอยู่ในกล่ำชาวประมงจะช่วยกันนำกิ่งไม้ออกจากกล่ำแล้วช่วยกันจับปลาที่อยู่ในอวนแต่ละครั้งจะได้ปลานับร้อยกิโลกรัม เมื่อจับปลาเสร็จแล้วชาวประมงจะเก็บอวนแล้วนำกิ่งไม้มาปักไว้ในกล่ำเช่นเดิมเพื่อทำการจับปลาอีกรอบหนึ่ง การล้อมอวนชาวบ้านเรียกว่าการล้อมกล่ำ การเอาไม้ลงไปปักไว้ในกล่ำชาวบ้านเรียกว่าการสระกิ่งไม้ การนำกิ่งไม้ออกจากกล่ำเพื่อจับปลาเรียกว่าการลุกล่ำ เสาที่นำไปปักส่วนใหญ่จะเป็นต้นหมากเพราะต้นหมากอยู่ในน้ำได้นานกว่าอยู่บนบกและเป็นพืชท้องถิ่นที่มีอยู่โดยทั่วไปส่วนกิ่งไม้นิยมใช้กิ่งต้นโกงกางมีความคงทนสามารถใช้ได้หลายรอบ การล้อมกล่ำจำเป็นจะต้องใช้เรือขนาดใหญ่นิยมใช้เรือมาด การล้อมกล่ำต้องใช้คนหลายคน การจับปลาด้วยวิธีการล้อมกล่ำจึงเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ ในอดีตไม่มีการจ้างแรงงานแต่เป็นการแบ่งปันปลาที่ได้ให้กับผู้ที่มาช่วยล้อมกล่ำแหล่งอ้างอิงข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
ตำบล ท่าไม้ อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่