ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 39' 20.9999"
13.6558333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 4.0001"
100.2677778
เลขที่ : 97230
เบ็ดราว
เสนอโดย admin group วันที่ 14 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 1717
รายละเอียด

เบ็ดราว

- เบ็ดราวเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยสายเบ็ดหลักที่ทำด้วยเชือก ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 200 เมตร ปลายทั้งสองข้างผูกติดอยู่กับก้อนหินหรือผูกติดอยู่กับไม้ที่ปักอยู่ในแม่น้ำ ทอดยาวไปตามความยาวของแม่น้ำ จากนั้นชาวประมงจะใช้เหล็กงอเป็นตะขอ 3 อันผูกติดกัน ให้ส่วนที่เป็นตะขออยู่ด้านนอกมีลักษณะคล้ายสมอ ชาวประมงจอดเรืออยู่ริมตลิ่งแล้วโยนสมอลงไปในบริเวณที่มีสายเบ็ดแล้วลากสมอเข้ามาที่ชายฝั่งสมอจะเกี่ยวสายเบ็ดหลัก ดึงสายเบ็ดหลักขึ้นมาซึ่งขณะนั้นเรือจะถูกสายสมอดึงออกไปยังกลางแม่น้ำ สายเบ็ดหลักจะถูกดึงขึ้นมาบนผิวน้ำ จากนั้นชาวประมงจะใช้เบ็ดที่ผูกอยู่กับเชือกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร นำปลายเชือกที่ไม่มีเบ็ดผูกติดไว้กับสายเบ็ดหลัก ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งผู้ติดไว้กับเบ็ดที่มีเหยื่อเกี่ยวติดอยู่ที่ตัวเบ็ด สายเบ็ดจะผูกติดอยู่กับสายเบ็ดหลักเป็นระยะห่างกันประมาณ 50 ซม. ตลอดความยาวของสายเบ็ดหลักเบ็ดลาวแต่ละสายผูกเบ็ดได้ประมาณ 200-300 ตัว เหยื่อที่ใช้ได้แก่ไส้เดือนปูตัวเล็ก ๆ กุ้งเล็ก ตามปกติชาวประมงจะเกี่ยวเหยื่อติดกับเบ็ดเวลาก่อนน้ำขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่น้ำนิ่ง ปลาส่วนใหญ่จะออกหากิน เมื่อวางเบ็ดเรียบร้อยแล้วนานประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ทำการกู้เบ็ดโดยใช้สมอดึงสายเบ็ดขึ้นมา ในแต่ละวันจะมีการกู้เบ็ดและวางเบ็ด 2 ครั้ง ปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นปลากด ปลาดุกทะเล ปลาเหล่านี้จะมีเงี่ยงสามเงี่ยงคือเงี่ยงด้านข้างทั้งสองและเงี่ยงที่อยู่ด้านบน หากถูกเงี่ยงปลาตำจะได้รับบาดเจ็บและเจ็บปวดมาก ชาวประมงมักจะใช้ทางจากที่ปอกเปลือกออกเหลือแต่ด้านในซึ่งมีลักษณะนิ่ม นำทางจากมาสับเข้าไปที่เงี่ยงปลาแล้วบิดให้เงี่ยงปลาหักคาอยู่กับทางจาก ชาวประมงก็สามารถจับปลาได้โดยไม่ถูกเงี่ยงปลาตำ การจับปลาโดยใช้เบ็ดราวเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติว่าเวลาใดควรจะเกี่ยวเหยื่อ ควรกู้เบ็ดเวลาใดเป็นการเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ เป็นการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชนในสมัยนั้น เด็กและเยาวชนในสมันนั้นมีแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากมายใช้เวลาเรียนรู้และเพลิดเพลินอยู่กับธรรมชาติเป็นการทำมาหากิน ทำงาน และการเล่นสนุกไปในกิจกรรมอันเดียวกัน คือการวางเบ็ดราว

แหล่งอ้างอิงข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
- จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย...
พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร

ข้อมูลภาพ http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=168101

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่