ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 19' 7.4251"
15.3187292
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 29' 43.9566"
105.4955435
เลขที่ : 99449
เจดีย์ไตรภูมิ
เสนอโดย nang15 วันที่ 17 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 27 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 490
รายละเอียด

เจดีย์ไตรภูมิ (ธรรมเจดีย์ศรีไตรภูมิ) สร้างเมื่อประมาณปี ๒๕๔๕ และเสร็จประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ใช้บรรจุจารึกธรรม ในห้องโถ่งกลางมีพระประธานคือ พระพุทธชิโนดมบรมโรคเชษฐ์ ในเรือนธาตุมีพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช รูปทรงเจดีย์เป็นเก้ายอด

ไตรภูมิหรือ ไตรโลก หมายถึง สามโลก ซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสันฐานตามความเชื่อในพุทธศาสนาไตรภูมิประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

กามภูมิ

กามภูมิ หรือ กามโลก แบ่งเป็น 11 ส่วนย่อยได้แก่ ทุคติภูมิ

1.นรกภูมิ 2.เปรตภูมิ 3.อสูรกายภูมิ 4.เดรัจฉานภูมิ สุคติภูมิ 5.มนุสสภูมิ

6.จาตุมหาราชิกา7.ดาวดึงส์8.ดุสิต9.ยามา10.นิมมานรดี11.ปรมิตวสวัตตี

รูปภูมิรูปภูมิ หรือ รูปโลก แบ่งเป็น 16 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหม (ตามคติของพราหมณ์)

อรูปภูมิอรูปภูมิ หรือ อรูปโลก แบ่งเป็น 4 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหมระดับสูงซึ่งไม่มีรูปกายมนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้ จนกว่าจะสำเร็จมรรคผล

คติความเชื่อ

คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ปรากฏมากมายในวัฒนธรรมเขมร เมื่อมาสมัยการสร้างเมืองพระนครของพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ก็ได้มีการนำคติไตรภูมิซึ่งสืบต่อมาจากอินเดียคือ มีภูเขาศักดิสิทธิ์อยู่กลางเมืองเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา โดยพระเจ้ายโศวรมันทรงเลือกเขาพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลางแห่งเมืองพระนคร และสร้างปราสาทพนมบาแค็งเป็นปราสาท 5 หลังซึ่งมีหลังหนึ่งอยู่ตรงกลางและอีก 4 หลังอยู่ 4 มุมนั้น แสดงถึงยอด 5 ยอดของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา บนยอดเขาพระสุเมรุนั้นเป็นที่ประทับของเทวดา 33 องค์ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศาสตราจารย์ฟิลลิโอซาต์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเขาพนมบาแค็งนั้น ถ้าเรามองดูจากเฉพาะฐานแต่ละด้านเราจะเห็นเฉพาะปราสาท 33 หลัง สำหรับปราสาทที่เหลือนั้นจะมองไม่เห็น ดังนั้นเขาพนมบาแค็งจึงเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดาและศูนย์กลางของมนุษยโลก

ผู้จัดเก็บข้อมูล นางภัคจิรา มูลศรี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

สถานที่ตั้ง
วัดถ้ำคูหาสวรรค์
เลขที่หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๒/บ้านด่านใหม่ ซอย - ถนน -
ตำบล โขงเจียม อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดถ้ำคูหาสวรรค์
บุคคลอ้างอิง พระครูพิพัฒนากร
ชื่อที่ทำงาน วัดถ้ำคูหาสวรรค์
เลขที่หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๒/บ้านด่านใหม่ ซอย - ถนน -
จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ ๐๘๖-๒๖๒๙๖๓๒
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่