ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 48' 52.9034"
14.8146954
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 38' 58.8332"
100.6496759
เลขที่ : 108843
ไม้กวาดทางมะพร้าวบ้านสะพานอิฐ
เสนอโดย ลพบุรี วันที่ 18 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย ลพบุรี วันที่ 8 เมษายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
1 2864
รายละเอียด

ไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นไม้กวาดที่ใช้มาแต่โบราณ โดยมีวิธีผลิตที่ไม่ยุ่งยากมากนัก คือ ต้องนำก้านใบมะพร้าวมารีดบริเวณที่เป็นใบออกให้เหลือแต่ก้าน แล้วนำมาตากแห้ง พอแห้งแล้วก็นำมามัดรวมกันโดยจะใช้ด้ามต่อเป็นไม้ไผ่ ซึ่งส่วนมากจะใช้กวาดใบไม้ตามพื้นดิน หรือจะไม่ต่อด้ามก็ได้ แต่ต้องตัดส่วนต้นของก้านใบให้เสมอกัน เพื่อที่จะได้ถนัดต่อการกวาดตามพื้นปูน หรือพื้นใด ๆ ก็ได้ที่มีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่โดยทั่วไปมักจะใช้กวาดน้ำหรือบนพื้นปูน หรือใบไม้ตามพื้นดิน จากที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าชาวบ้านจะนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้จริง

แหล่งผลิตที่ทำกันมากอยู่ที่ หมู่บ้านสะพานอิฐ แต่เดิมหมู่บ้านสะพานอิฐ เป็นสวนมะพร้าว ซึ่งมีต้นสูง ชาวบ้านก็ใช้ประโยชน์จากมะพร้าวทุกอย่าง ตั้งแต่ต้น ผล ก้าน ใบ และทำไม้กวาดใช้กันเองในหมู่บ้าน ต่อมาได้มีการโค่นต้นมะพร้าวออก เนื่องจากผล และกิ่งหล่นใส่บ้านเสียหาย คุณสมบัติ คมกิจ อายุ 43 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว ที่เป็นฝีมือของตนเองนั้น เดิมทีทำกันใช้อยู่แล้วในหมู่บ้าน มาเริ่มต้นทำกันอย่างจริงจัง เป็นสินค้าจำหน่ายตั้งแต่ ปี 2510 ซึ่งนับได้ว่า มีการทำไม้กวาดทางมะพร้าวมา 44 ปี แล้วนั้น เป็นเพราะว่าสินค้ามีคุณภาพมีความคงทนใช้ได้นานเป็นสิบๆ ปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าใช้แล้ว เก็บรักษาดีหรือไม่ และซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่คดโกงต่อลูกค้า สาเหตุที่ ทำไม้กวาดทางมะพร้าวขาย เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำที่บ้านได้ ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว

การจำหน่ายกระจายสินค้านั้น ก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับจากที่บ้าน ไปจำหน่ายที่จังหวัดนครสวรรค์ สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ต้นทุนในการผลิต ไม้กวาดต่อด้ามนั้นประมาณ 14.50-16.50 บาท กำไร ที่ได้จากไม้กวาดต่อด้าม ประมาณ 5.50-8.50 บาท และราคาไม้กวาดก็จะแบ่งตามขนาด คือ ขนาดเล็ก ราคา 20 บาท ราคาขายส่ง ราคา 14.50 บาท ส่วนไม้กวาดขนาดใหญ่ ราคา 25 บาท ราคาขายส่งขนาดใหญ่ 16.50 บาท

การทำไม้กวาดให้มีคุณภาพคงทน ต้องพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่ หรือไม้รวกมาทำด้าม คือ ด้ามต้องตรง ปลายเล็ก แต่ไม้ไผ่ที่ซื้อมาส่วนใหญ่ ไม่ค่อยตรง ต้องใช้ไฟดัด และเมื่อดัดเสร็จแล้ว จะใช้ขี้โคลนทาทิ้งไว้ (ทาเฉพาะจุดที่ใช้ไฟลน) เพื่อไม่ให้ไม้คืนรูป เป็นวิธีเดียวกับการดัดโกกคอม ที่ใช้วางบนคอควาย นับเป็นภูมิปัญญา ของคนไทยมาแต่ดั้งแต่เดิมส่วนก้านมะพร้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ให้เลือกก้านยาว ๆ และให้ฉีกด้วยมือ (ปัจจุบันใช้มีดตัดทำให้ ก้านมะพร้าวหลุดง่าย) เพื่อให้มีเส้นใยรอยฉีกบริเวณขั้ว ก้านเป็นตัวยึดเวลานำไปเข้าด้าม คัดเลือกขนาดความยาวเท่า ๆ กัน จากนั้นนำมาหลาวใบออกและนำไปตากแดดให้แห้ง ไม้กวาด 1 ด้ามใช้ทางมะพร้าว ประมาณ 5-6 ทาง เมื่อเตรียมวัตถุดิบพร้อมแล้ว ก็จะเริ่มทำ โครงหรือด้าม ถักปลอก โดยจะใช้หวายหรือพลาสติกนำมาถักก็ได้ เริ่มจากนำก้านที่เตรียมไว้มาชุบน้ำ เพื่อให้นิ่มแล้วพันเข้ากับโครงด้ามด้วยลวด ทำประมาณ 10 ชั้น แล้วเสียบเข้ากับปลอก จากนั้นจึงสานลายสองและสานลายสันปลาช่อน เพื่อให้ก้านมะพร้าวบานสวยงามเป็นอันเสร็จ

ขั้นตอนการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าว

1. นำก้านมะพร้าวมาเหลาเอาใบออกผึ่งแดดไว้ 2 วัน

2. นำก้านมะพร้าวที่แห้งดีแล้วมามัดเป็นกำ ๆ ละ 30 อัน จำนวน 12 มัด

3. นำมาถักเรียงกันเป็นรูปเฝือก มัดด้วยเชือกถักมาประกอบกับด้ามไม้ที่เตรียมไว้ มัดด้วยลวดตอกตะปูให้แน่น กันเลื่อนขึ้น-ลง ของไม้กวาด

4. แบ่งถักด้วยเชือกถัก 24 กำ (จากเดิม 12 กำ) ดึงให้แน่น

5. แซมด้วยก้านมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไม้กวาดแน่นหนาขึ้น

สถานที่ตั้ง
บ้านสะพานอิฐ
เลขที่ 30 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล ทะเลชุบศร อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสมบัติ คมกิจ
เลขที่ 30 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านสะพานอิฐ
ตำบล ทะเลชุบศร อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
โทรศัพท์ 08 7810 4188
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ลพบุรี 18 สิงหาคม 2554 เวลา 09:26
น่าสนใจ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่