ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 48' 56.9999"
15.8158333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 35' 55"
102.5986111
เลขที่ : 111043
ประวัติอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
เสนอโดย suwanna_ood วันที่ 31 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
1 2960
รายละเอียด

อำเภอพลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดขอนแก่น พิกัด ทีซี ๓๔๒๔๙๘ ห่างจากจังหวัด ๗๔ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๓๗๑ กิโลเมตร มีรถไฟสายกรุงเทพ ฯหนองคาย ผ่าน

และมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ จากกรุงเทพ ฯหนองคาย ผ่านตรงหลักกิโลเมตรที่ ๓๗๖ ได้รับยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ เดิมอำเภอพลเป็นอำเภอที่มีเนื้อที่กว้างขวางมาก ต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งเขตอำเภอพลออกเป็นอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

.. ๒๕๐๖ แยกเป็นอำเภอหนองสองห้อง

.. ๒๕๑๔ แยกเป็นอำเภอแวงน้อย

.. ๒๕๑๙ แยกเป็นอำเภอแวงใหญ่

ปัจจุบันอำเภอพลมีพื้นที่ ๔๒๐. ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๖๙,๔๓๗ ไร่ และมีเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับอำเภอแวงใหญ่, อำเภอชนบทและ
อำเภอโนนศิลา
จังหวัดขอนแก่น

ทิศใต้ ติดกับอำเภอบัวลายและอำเภอประทาย
จังหวัดนครราชสีมา

ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอแวงน้อยและอำเภอแวงใหญ่
จังหวัดขอนแก่น

- ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่อำเภอพลเป็นที่ราบสูง
โดยมีความลาดเอียงจากเหนือลงใต้
บางบริเวณเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทุ่งพึงพืด บึงละเลิงหวาย และมีหนองน้ำอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภคและทำการเกษตรในชุมชนแต่ละแห่ง พื้นที่
ส่วนใหญ่จะใช้ทำนาและปลูกพืชไร่
หรือทำสวนบางส่วน

- ลักษณะภูมิอากาศ อำเภอพลตั้งอยู่ในเขตอีสานตอนล่างค่อนไปทางอีสานตอนกลาง จึงได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในราวเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ส่วนในเดือนสิงหาคมปลายเดือนต่อกับเดือนกันยายนจะได้รับพายุฝนจากทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งมีลักษณะพายุดีเปรสชั่นหรือความกดอากาศต่ำ โดยทั่วไปอำเภอพลไม่แห้งแล้งและไม่ถึงกับมีฝนตกชุกมากเกินไป

- ทรัพยากร

- ดิน สภาพดินโดยทั่วไปของอำเภอพลมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการอุ้มน้ำไม่ดีเท่าที่ควร ในฤดูร้อนดินจะแห้ง
ดินเค็มไม่อุดมสมบูรณ์

- แหล่งน้ำที่สำคัญ อำเภอพลไม่มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน จะต้องอาศัยน้ำฝนในการทำนา อำเภอพลมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ๒ แห่งคือ บึงละเลิงหวายและทุ่งพึงพืดแต่มีน้ำน้อย ในฤดูแล้งแห้งขอดทุกปี จึงไม่พอในการทำเกษตรกรรมนอกฤดู ไม่มีระบบชลประทาน น้ำใต้ดินส่วนใหญ่จะเค็มใช้บริโภคไม่ได้

ด้านการปกครอง
มีนายอำเภอทำหน้าที่ปกครองและบริหารมาแล้ว ๓๘ คน
มีรายนามดังต่อไปนี้

. ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) .. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๓

. นายถวิล เจียรมานพ .. ๒๔๖๓ - ๒๔๖๕

. พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) .. ๒๔๖๕ - ๒๔๗๑

. ขุนพิศาลคีรี (ซุน เต็งกี่) .. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๒

. พระอุดมสารเขต (แสง ภาสะฐิติ) .. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๖

. ขุนจิตรประสาสตรา (ทองอินทร์ ลิตารมย์) .. ๒๔๗๖–๒๔๗๘

. ..สุวรรณ โรจนวิภาค .. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙

. นายหา บุญมาชัย .. ๒๔๗๙ - ๒๔๘๐

. ขุนเสลภูมิพิพัฒน์ (เบี้ยว งามจิตร) .. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๓

๑๐. ขุนเดชสุภารักษ์ (โกศล เดชสุภา) .. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๙

๑๑. นายขจิต ไชยาคำ .. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐

๑๒. ขุนอำนวยมงคลราษฎร์ .. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๑

๑๓. นายเวียง สาครสินธ์ .. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๒

๑๔. นายยอด อ่อนโสภา .. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๓

๑๕. นายเวช สุริโย .. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๖

๑๖. ...แถว พรหมประกาย ณ นครพนม .. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๙

๑๗. นายเพิ่ม ดวงมาลา .. ๒๔๙๙ - ๒๕๑๒

๑๘. นายสงวน รักษ์สุจริต .. ๒๕๑๒๒๕๑๔

๑๙. นายพุธ ศิริพงษ์ .. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖

๒๐. นายบุญนาค เจริญศรี .. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๐

๒๑. ..วิรุฬ พรหมายน .. ๒๕๒๐๒๕๒๒

๒๒. นายแม้นเทพ รัตนโกมสุมภ์ .. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๒

๒๓. นายชาญยุทธ์ ประเสริฐ์ศรี .. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๖

๒๔. ..วิโรจน์ โรจนหทัย .. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗

๒๕. นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ .. ๒๕๒๗ - ๒๕ พ.. ๒๕๒๗

๒๖. นายสมหมาย ฉัตรทอง .. ๒๕๒๘ - .. ๒๕๒๙

๒๗. นายสมเกียรติ เกียรติศักดิ์ .. ๒๕๒๙ - ๑๖ ต.. ๒๕๓๑

๒๘. นายสุวิช อุยยานนท์ ๑๗ ต.. ๒๕๓๑ - ๓๐ ก.. ๒๕๓๓

๒๙. นายปรีชา แพทย์ธเนศวร .. ๒๕๓๓ - ๓๑ ต.. ๒๕๓๘

๓๐. ดร.สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ๑ พ.. ๒๕๓๘ - ๑๔ มิ.. ๒๕๓๙

๓๑. นายณรงค์ หรือโอภาส ๑๔ มิ.. ๒๕๓๙ - ๙ พ.. ๒๕๔๐

๓๒. นายนิมิต จันทน์วิมล ๑๐ พ.. ๒๕๔๐ - ๒๑ พ.. ๒๕๔๒

๓๓. นายชวลิต ธูปตาก้อง ๒๒ พ.. ๒๕๔๒ - ๑๕ ธ.. ๒๕๔๕

๓๔. นายสมชาย มีสิงห์ ๑๖ ธ.. ๒๕๔๕ - ๓๐ ต.. ๒๕๔๗

๓๕. นายสุทธินันท์ บุญมี ๑ พ.. ๒๕๔๗๒๕ ธ.ค. ๒๕๔๘

๓๖. นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๘ ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๐
๓๗. นายวิศิษฐ์ ทองสมบูรณ์ ๒๔ ต.ค. ๒๕๕๐
๓๐ ก.ย. ๒๕๕๓

๓๘. นายเสน่ห์ นนทะโชติ พ.ค. ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน

อำเภอพลแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ ตำบล ได้แก่

๑. ตำบลเก่างิ้ว

๒. ตำบลหนองแวงโสกพระ

๓. ตำบลโจดหนองแก

๔. ตำบลหนองแวงนางเบ้า

๕. ตำบลหนองมะเขือ

๖. ตำบลโคกสง่า

๗. ตำบลลอมคอม

๘. ตำบลหัวทุ่ง

๙. ตำบลเพ็กใหญ่

๑๐. ตำบลโสกนกเต็น

๑๑. ตำบลโนนข่า

๑๒. ตำบลเมืองพล

คำขวัญอำเภอพล

เมืองพลโนนแท่นพระ

อ่างน้ำละเลิงหวาย

ค้าขายกว้างไกล

น้ำใจมากล้น

ชนชาตินักรบ

ทำนบภูดิน

เที่ยวถิ่นทุ่งพึงพืด

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
อำเภอพล
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน พลรัตน์
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอพล
บุคคลอ้างอิง สุวรรณา มานิตย์ศิริกุล อีเมล์ suwanna_ood@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอพล
เลขที่ - ซอย - ถนน พลรัตน์
อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40120
โทรศัพท์ 081-8719462
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่