ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 27' 35.3143"
19.459809523114003
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 57.7765"
99.74938236897728
เลขที่ : 118777
กลุ่มตีเหล็กทำมีด บ้านป่าสักใต้
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงราย
0 1153
รายละเอียด

ตั้งอยู่ที่ พาน บ้านบุญศรี วงค์พิชัย บ้านป่าสักใต้ กลุ่มตีเหล็กทำมีด จึงเป็น ๑ ใน ๕ ของกลุ่มหมู่อาชีพ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นการสร้างโอกาส และเพิ่มทุนทางสังคม ภายในหมู่บ้าน มีสมาชิกครั้งแรกจำนวน ๑๓ คน ยืมเงินมาจากโครงการเศรษฐกิจชุมชนจากองค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวันเป็นจำนวน ๑,๘๐๐ บาท กำหนดการชำระคืน ภายใน ๕ ปี จึง ทำให้มีการออมทรัพย์กันขึ้นอยู่กันภายในกลุ่มครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๕ พ.ค ๒๕๔๓ โดยกลุ่มได้มีการออมทรัพย์ในแต่ละเดือน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะนำผลิตภัณฑ์ที่ออมในแต่ละเดือน นำไปขาย และขายปลีกในลูกค้าของกลุ่ม , เพื่อนำเงินได้ไปใช้หนี้ ในแต่ละปี ซึ่งภาย ๒ ปี กลุ่มก็กำหนดแต่สมาชิกของแต่ละกลุ่มก็ยังออมทรัพย์กันต่อไปด้วยเหตุผลเพื่อนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อความสามัคคีภายในกลุ่มและภายในชุมชนและเพื่อสมาชิกมีรายได้ที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สวยงามดียิ่งขึ้นยิ่งเพื่อผลักดันให้หมู่บ้านป่าสักใต้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวในเชิง วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวบ้าน คือการตีเหล็กแบบโบราณซึ่งมีแห่งเดียวในจังหวัดเชียงราย การออมทรัพย์จัดทำโดยให้สมาชิกภายในกลุ่มนำเอาผลิตภัณฑ์ของแต่ละคนที่ผลิตได้ เช่น มีด เสียบ มาออมกันคนละ ๒ - ๓ ชิ้น ต่อเดือน และตีราคาวัสดุออกเป็นเงินของแต่ละเดือน กลุ่มสมาชิกมีทั้งหมด จำนวน ๑๓ คนดังนี้คือ.- ๑. นายบุญศรี วงค์พิชัย ๒. นายเสถียร พุดซื่อ ๓. นางสุภาพ วงค์พิชัย ๔. นายอดุลย์ แก้วผัด ๕. นายจันทร์ ก้อนแก้ว ๖. นายอนุพงษ์ ใจคำปัน ๗. นายปฐมพงษ์ เรือนปง ๘. นายสมศักดิ์ หม่องดุ ๙. นายสมชาย พุดซื่อ ๑๐. นายอ้วน ท้าวบังวัน ๑๑. นางบุญธรรม ปูธิปิน ๑๒. นางไปรยา เขียวคำปัน ๑๓. นางบัวงาม เชื้อเมืองพาน นอกจากนี้กลุ่มยังมีคณะกรรมการบริหารงาน จำนวน ๔ คน คือ นายบุญศรี วงค์พิชัย เป็นประธาน , นายเสถียร พุดซื้อ รองประธาน, นางสุภาพ วงค์พิชัย เป็น เลขา และ นายอดุลย์ แก้วผัด เป็นเหรัญญิกกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่มได้จัดทำระเบียบข้อบังคับการบริหารของกลุ่มโดยให้ สมาชิกทุกคนต้องนำมีดมารวมกลุ่มทุกวันที่ ๒๕ ถึงวันที่ ๑ ของทุกเดือนถ้าครบกำหนดวันที่กำหนดไว้แล้วยังไม่นำมีดมารวมกลุ่มจะต้องโดนปรับเล่มละ ๑๐ บาท ตามจำนวนมีดสะสมเมื่อคณะกรรมการนัดประชุมสมาชิกทุกคนต้องมารวมกันทุกคนในกรณีที่สมาชิกท่านใดไม่มาประชุมโดยไม่แจ้งเหตุผลที่ชัดเจนถ้ามีเหตุผลเป็นข้อให้คณะกรรมการทราบก่อนล่วงหน้าถ้าท่านใดไม่มาแจ้งต้องปรับครั้งละ ๒๐ บาท ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ประชุมไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับการบริหารงาน เนื่องจากกลุ่มตีเหล็กทำมีด ไม่ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่นการสร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดซื้ออุปกรณ์บางอย่างและจัดส่งสมาชิกไปอบรมต่างจังหวัดกิจกรรมที่กล่าวมาต้องใช้เงินจากผลกำไร จากการขายผลิตภัณฑ์และรายได้อื่น ๆ ในแต่ละปี จึงไม่มีเงินปันผลให้แก่สมาชิก การพัฒนารูปแบบ สมัยก่อนรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีไม่มากแต่ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบมากขึ้นมาอีกระดับหนึ่งอย่างหลากหลายมีขนาดเล็กไปหาใหญ่และมีการตกแต่งให้สวยงาม เทคนิคที่นำมาพลิกแพลงรูปแบบของมีดให้ออกมาตามขนาดรูปแบบที่ต้องการโดยอาศัยความรู้ความชำนาญในการตีมีดให้ออกไปในสภาพที่มีความคงทน และสวยงาม จุดเด่น/เนื้อหาสาระสำคัญในแหล่งเรียนรู้ เอกลักษณ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมการตีเหล็กทำมีด มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ, เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง คม และ ทนทาน ต่อการใช้งาน และ สามารถแปรเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า โดยมีวัตถุดิบที่ใช้คือแหนบรถยนต์ ถ่านไม้ ซึ่งมี กระบวนการ / ขั้นตอนการตีเหล็กทำมีด ดังต่อไปนี้คือ.- - นำเหล็กมาตีให้ได้ขนาดตามชนิดตามชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขึ้นตามรูป - นำเหล็กมาเผาและตีโดยใช้แรงงานคนจำนวน ๖คนอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันตีขึ้นตามรูปตามจังหวะโดยพร้อมเพียงกัน(หากตีเพื่อขึ้นรูปด้วยเครื่องจักกลจะลดแรงงานเหลือเพียง ๒ คน) - นำเหล็กมาตีขึ้นรูปแล้วตกแต่งด้วยมืออีกครั้งเพื่อเพิ่มความละเอียดของชิ้นงาน - นำเหล็กที่ตกแต่งเสร็จมาดัดขึ้นรูปตามลักษณะของมีด - นำเหล็กที่ผ่านขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาใสเหล็ก เพื่อตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม - นำมีดที่ตีเสร็จมาใส่ ปลอกเหล็ก ด้ามมีด ตามขนาดของผลิตภัณฑ์ - นำมีดที่ผ่านขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาชุบคม ขัดเหล็กให้มันวาวและชุบน้ำมัน พร้อมจำหน่าย ประเภทผลิตภัณฑ์ ๑. หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดประกอบอาหาร ปริมาณการผลิต ราคาส่ง ราคาปลีก ๑.๑ มีดสับใหญ่ ขนาดยาว ๙ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๑.๒ มีดปอกผลไม้ปลายแหลม ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๓๕ ๔๐ ๑.๓ มีดครัวปลายตัด ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๔๕ ๔๐ ๑.๔ มีดครัวปลายมน ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๔๕ ๕๐ ๒ . หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดเครื่องมือทำการเกษตรต่าง ๆ ๒.๑ มีดปลายตัด ขนาดยาว ๑๔ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/ เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๒ มีดปลายตัดหนา ขนาดยาว ๑๑ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๒.๓ มีดปลายตัดบาง ขนาดยาว ๑๑ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๔ มีดรูปปลายหางปลา ขนาดยาว ๑๒ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๒.๕ มีดทรงคอม้า ขนาดยาว ๑๓ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๖ มีดกัดรูปเฉียง ขนาดยาว ๘ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๓.หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดโบราณและรูปแบบต่าง ๆ ๓.๑ ดาบ ,กระบี่ ๓.๒ หอก ๓.๓ มีดโบวี่ ๓.๔ มีดรูปแบบต่าง ๆ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ ๑.ชุดมีดผลิตภัณฑ์ประกอบอาหาร เหมาะสำหรับใช้ประโยชน์ในงานครัวเรือนทั้งงานหนักและเบา ตามขนาดและตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ๒..ผลิตภัณฑ์ชุดมีดเครื่องมือการเกษตรเหมาะสำหรับใช้ประโยชน์ในการเกษตรทั้งงานหนักและงานเบาทุกอย่างตามขนาดและความเหมาะสมกับชิ้นงาน ๓..ผลิตภัณฑ์ชุดมีดโบราณและรูปแบบต่าง ๆเหมาะสมสำหรับใช้ตกแต่งบ้านและ สถานที่ต่าง ๆ การนำผลิตภัณฑ์ออกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของกลุ่มได้จัดทำดังนี้คือ.- ก. โดยการจำหน่าย ๑.จำหน่ายในกลุ่ม ซึ่งจะทำการผลิต ณ บ้านป่าสัก หมู่ที่ ๖ ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๒.จำหน่ายในงานเทศกาล ต่าง ๆ ของตำบล อำเภอ จังหวัดเชียงราย ๓.จำหน่ายในจังหวัดเชียงราย ลำปาง ลำพูนและเชียงใหม่ ข. โดยการอนุรักษ์ และสืบสาน ไปยังกลุ่มเยาวชนที่สนใจภายในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในเขตหมู่บ้าน และตำบล นอกจากนี้ยังจัดแสดงโชว์สาธิตการตีเหล็กทำมีดในงานต่าง ๆในระดับอำเภอ และจังหวัด เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น งานฤดูประจำปีของอำเภอและจังหวัด งานวันอนุรักษ์มรดกไทย ฯลฯ เป็นต้น ค. ขยายเครือข่าย กิจกรรมของกลุ่มมีการขยายเครือข่ายไปยังผู้สนใจทั้งเด็กและเยาวชนภายใน และภายนอกหมู่บ้าน จัดสอนเป็นวิทยาทานแก่นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ในตำบลทานตะวัน และมีการประสวนงานกับกลุ่มอำเภอต่าง ๆ ที่สนใจโดยเชิญชวนให้ผู้สนใจมาฝึกปฏิบัติจริง ณ ภายในหมู่บ้านของกลุ่มตีเหล็ก ทำมีด ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ๑. มีดสำหรับใช้ในการทำครัว เช่น มีดน้อยปลายแหลม มีดน้อยปลายตัด มีดกุ้ง และมีดปังตอ มีหลายแบบให้ลูกค้าต้องการ ๒. มีดสำหรับใช้สำหรับในงานการเกษตร มีดคด มีดแวงยาว มีดคอม้า มีดคอม้า มีดปากนกแลแวงและเสียม ๓. มีดสวยงามสำหรับพกพกหรือประดับบ้าน เช่น มีดดาบ หอก มีดโบวี่ มีดสปาต้า เอกลักษณ์ และคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ ๑. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ๒. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง คม และ ทนทาน ต่อการใช้งาน ๓. สามารถแปรเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ความรู้ที่สามารถเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ - การประกอบอาชีพ - การจัดการการท่องเที่ยว - การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้นี้ได้รับรางวัลการยกย่องจาก - เคยได้รับรางวัล อุตสาหกรรมในครัวเรือนดีเด่นประจำปี ๒๕๔๒ ได้รับเกียรติจากคุณ คำรณ เหล่าหวังศรี ให้ออกรายการหากินด้วยลำแข้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับรางวัลชนะเลิศการออกร้านงานกาชาด อำเภอ พาน พ.ศ. ๒๕๔๗ - สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย - สภาวัฒนธรรมอำเภอพาน - องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน แผนที่แหล่งเรียนรู้ บ้านป่าสักใต้ กลุ่มตีเหล็กทำมีด จึงเป็น ๑ ใน ๕ ของกลุ่มหมู่อาชีพ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นการสร้างโอกาส และเพิ่มทุนทางสังคม ภายในหมู่บ้าน มีสมาชิกครั้งแรกจำนวน ๑๓ คน ยืมเงินมาจากโครงการเศรษฐกิจชุมชนจากองค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวันเป็นจำนวน ๑,๘๐๐ บาท กำหนดการชำระคืน ภายใน ๕ ปี จึง ทำให้มีการออมทรัพย์กันขึ้นอยู่กันภายในกลุ่มครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๕ พ.ค ๒๕๔๓ โดยกลุ่มได้มีการออมทรัพย์ในแต่ละเดือน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะนำผลิตภัณฑ์ที่ออมในแต่ละเดือน นำไปขาย และขายปลีกในลูกค้าของกลุ่ม , เพื่อนำเงินได้ไปใช้หนี้ ในแต่ละปี ซึ่งภาย ๒ ปี กลุ่มก็กำหนดแต่สมาชิกของแต่ละกลุ่มก็ยังออมทรัพย์กันต่อไปด้วยเหตุผลเพื่อนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อความสามัคคีภายในกลุ่มและภายในชุมชนและเพื่อสมาชิกมีรายได้ที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สวยงามดียิ่งขึ้นยิ่งเพื่อผลักดันให้หมู่บ้านป่าสักใต้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวในเชิง วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวบ้าน คือการตีเหล็กแบบโบราณซึ่งมีแห่งเดียวในจังหวัดเชียงราย การออมทรัพย์จัดทำโดยให้สมาชิกภายในกลุ่มนำเอาผลิตภัณฑ์ของแต่ละคนที่ผลิตได้ เช่น มีด เสียบ มาออมกันคนละ ๒ - ๓ ชิ้น ต่อเดือน และตีราคาวัสดุออกเป็นเงินของแต่ละเดือน กลุ่มสมาชิกมีทั้งหมด จำนวน ๑๓ คนดังนี้คือ.- ๑. นายบุญศรี วงค์พิชัย ๒. นายเสถียร พุดซื่อ ๓. นางสุภาพ วงค์พิชัย ๔. นายอดุลย์ แก้วผัด ๕. นายจันทร์ ก้อนแก้ว ๖. นายอนุพงษ์ ใจคำปัน ๗. นายปฐมพงษ์ เรือนปง ๘. นายสมศักดิ์ หม่องดุ ๙. นายสมชาย พุดซื่อ ๑๐. นายอ้วน ท้าวบังวัน ๑๑. นางบุญธรรม ปูธิปิน ๑๒. นางไปรยา เขียวคำปัน ๑๓. นางบัวงาม เชื้อเมืองพาน นอกจากนี้กลุ่มยังมีคณะกรรมการบริหารงาน จำนวน ๔ คน คือ นายบุญศรี วงค์พิชัย เป็นประธาน , นายเสถียร พุดซื้อ รองประธาน, นางสุภาพ วงค์พิชัย เป็น เลขา และ นายอดุลย์ แก้วผัด เป็นเหรัญญิกกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่มได้จัดทำระเบียบข้อบังคับการบริหารของกลุ่มโดยให้ สมาชิกทุกคนต้องนำมีดมารวมกลุ่มทุกวันที่ ๒๕ ถึงวันที่ ๑ ของทุกเดือนถ้าครบกำหนดวันที่กำหนดไว้แล้วยังไม่นำมีดมารวมกลุ่มจะต้องโดนปรับเล่มละ ๑๐ บาท ตามจำนวนมีดสะสมเมื่อคณะกรรมการนัดประชุมสมาชิกทุกคนต้องมารวมกันทุกคนในกรณีที่สมาชิกท่านใดไม่มาประชุมโดยไม่แจ้งเหตุผลที่ชัดเจนถ้ามีเหตุผลเป็นข้อให้คณะกรรมการทราบก่อนล่วงหน้าถ้าท่านใดไม่มาแจ้งต้องปรับครั้งละ ๒๐ บาท ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ประชุมไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับการบริหารงาน เนื่องจากกลุ่มตีเหล็กทำมีด ไม่ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่นการสร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดซื้ออุปกรณ์บางอย่างและจัดส่งสมาชิกไปอบรมต่างจังหวัดกิจกรรมที่กล่าวมาต้องใช้เงินจากผลกำไร จากการขายผลิตภัณฑ์และรายได้อื่น ๆ ในแต่ละปี จึงไม่มีเงินปันผลให้แก่สมาชิก การพัฒนารูปแบบ สมัยก่อนรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีไม่มากแต่ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบมากขึ้นมาอีกระดับหนึ่งอย่างหลากหลายมีขนาดเล็กไปหาใหญ่และมีการตกแต่งให้สวยงาม เทคนิคที่นำมาพลิกแพลงรูปแบบของมีดให้ออกมาตามขนาดรูปแบบที่ต้องการโดยอาศัยความรู้ความชำนาญในการตีมีดให้ออกไปในสภาพที่มีความคงทน และสวยงาม จุดเด่น/เนื้อหาสาระสำคัญในแหล่งเรียนรู้ เอกลักษณ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมการตีเหล็กทำมีด มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ, เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง คม และ ทนทาน ต่อการใช้งาน และ สามารถแปรเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า โดยมีวัตถุดิบที่ใช้คือแหนบรถยนต์ ถ่านไม้ ซึ่งมี กระบวนการ / ขั้นตอนการตีเหล็กทำมีด ดังต่อไปนี้คือ.- - นำเหล็กมาตีให้ได้ขนาดตามชนิดตามชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขึ้นตามรูป - นำเหล็กมาเผาและตีโดยใช้แรงงานคนจำนวน ๖คนอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันตีขึ้นตามรูปตามจังหวะโดยพร้อมเพียงกัน(หากตีเพื่อขึ้นรูปด้วยเครื่องจักกลจะลดแรงงานเหลือเพียง ๒ คน) - นำเหล็กมาตีขึ้นรูปแล้วตกแต่งด้วยมืออีกครั้งเพื่อเพิ่มความละเอียดของชิ้นงาน - นำเหล็กที่ตกแต่งเสร็จมาดัดขึ้นรูปตามลักษณะของมีด - นำเหล็กที่ผ่านขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาใสเหล็ก เพื่อตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม - นำมีดที่ตีเสร็จมาใส่ ปลอกเหล็ก ด้ามมีด ตามขนาดของผลิตภัณฑ์ - นำมีดที่ผ่านขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาชุบคม ขัดเหล็กให้มันวาวและชุบน้ำมัน พร้อมจำหน่าย ประเภทผลิตภัณฑ์ ๑. หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดประกอบอาหาร ปริมาณการผลิต ราคาส่ง ราคาปลีก ๑.๑ มีดสับใหญ่ ขนาดยาว ๙ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๑.๒ มีดปอกผลไม้ปลายแหลม ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๓๕ ๔๐ ๑.๓ มีดครัวปลายตัด ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๔๕ ๔๐ ๑.๔ มีดครัวปลายมน ขนาดยาว ๖ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๔๕ ๕๐ ๒ . หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดเครื่องมือทำการเกษตรต่าง ๆ ๒.๑ มีดปลายตัด ขนาดยาว ๑๔ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/ เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๒ มีดปลายตัดหนา ขนาดยาว ๑๑ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๒.๓ มีดปลายตัดบาง ขนาดยาว ๑๑ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๔ มีดรูปปลายหางปลา ขนาดยาว ๑๒ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๗๕ ๘๐ ๒.๕ มีดทรงคอม้า ขนาดยาว ๑๓ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๒.๖ มีดกัดรูปเฉียง ขนาดยาว ๘ นิ้ว ๑,๐๐๐ เล่ม/เดือน ๕๕ ๖๐ ๓.หมวดผลิตภัณฑ์ ชุดมีดโบราณและรูปแบบต่าง ๆ ๓.๑ ดาบ ,กระบี่ ๓.๒ หอก ๓.๓ มีดโบวี่ ๓.๔ มีดรูปแบบต่าง ๆ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ ๑.ชุดมีดผลิตภัณฑ์ประกอบอาหาร เหมาะสำหรับใช้ประโยชน์ในงานครัวเรือนทั้งงานหนักและเบา ตามขนาดและตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ๒..ผลิตภัณฑ์ชุดมีดเครื่องมือการเกษตรเหมาะสำหรับใช้ประโยชน์ในการเกษตรทั้งงานหนักและงานเบาทุกอย่างตามขนาดและความเหมาะสมกับชิ้นงาน ๓..ผลิตภัณฑ์ชุดมีดโบราณและรูปแบบต่าง ๆเหมาะสมสำหรับใช้ตกแต่งบ้านและ สถานที่ต่าง ๆ การนำผลิตภัณฑ์ออกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของกลุ่มได้จัดทำดังนี้คือ.- ก. โดยการจำหน่าย ๑.จำหน่ายในกลุ่ม ซึ่งจะทำการผลิต ณ บ้านป่าสัก หมู่ที่ ๖ ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๒.จำหน่ายในงานเทศกาล ต่าง ๆ ของตำบล อำเภอ จังหวัดเชียงราย ๓.จำหน่ายในจังหวัดเชียงราย ลำปาง ลำพูนและเชียงใหม่ ข. โดยการอนุรักษ์ และสืบสาน ไปยังกลุ่มเยาวชนที่สนใจภายในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในเขตหมู่บ้าน และตำบล นอกจากนี้ยังจัดแสดงโชว์สาธิตการตีเหล็กทำมีดในงานต่าง ๆในระดับอำเภอ และจังหวัด เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น งานฤดูประจำปีของอำเภอและจังหวัด งานวันอนุรักษ์มรดกไทย ฯลฯ เป็นต้น ค. ขยายเครือข่าย กิจกรรมของกลุ่มมีการขยายเครือข่ายไปยังผู้สนใจทั้งเด็กและเยาวชนภายใน และภายนอกหมู่บ้าน จัดสอนเป็นวิทยาทานแก่นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ในตำบลทานตะวัน และมีการประสวนงานกับกลุ่มอำเภอต่าง ๆ ที่สนใจโดยเชิญชวนให้ผู้สนใจมาฝึกปฏิบัติจริง ณ ภายในหมู่บ้านของกลุ่มตีเหล็ก ทำมีด ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ๑. มีดสำหรับใช้ในการทำครัว เช่น มีดน้อยปลายแหลม มีดน้อยปลายตัด มีดกุ้ง และมีดปังตอ มีหลายแบบให้ลูกค้าต้องการ ๒. มีดสำหรับใช้สำหรับในงานการเกษตร มีดคด มีดแวงยาว มีดคอม้า มีดคอม้า มีดปากนกแลแวงและเสียม ๓. มีดสวยงามสำหรับพกพกหรือประดับบ้าน เช่น มีดดาบ หอก มีดโบวี่ มีดสปาต้า เอกลักษณ์ และคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ ๑. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ๒. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง คม และ ทนทาน ต่อการใช้งาน ๓. สามารถแปรเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ความรู้ที่สามารถเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ - การประกอบอาชีพ - การจัดการการท่องเที่ยว - การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้นี้ได้รับรางวัลการยกย่องจาก - เคยได้รับรางวัล อุตสาหกรรมในครัวเรือนดีเด่นประจำปี ๒๕๔๒ ได้รับเกียรติจากคุณ คำรณ เหล่าหวังศรี ให้ออกรายการหากินด้วยลำแข้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับรางวัลชนะเลิศการออกร้านงานกาชาด อำเภอ พาน พ.ศ. ๒๕๔๗ - สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย - สภาวัฒนธรรมอำเภอพาน - องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน แผนที่แหล่งเรียนรู้

คำสำคัญ
วิถีชีวิต
สถานที่ตั้ง
บ้านบุญศรี วงค์พิชัย
อำเภอ พาน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อีเมล์ chiangrai@m-culture.go.th
ตำบล ริมกก อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100
โทรศัพท์ 053150169 โทรสาร 053150170
เว็บไซต์ http;//province.m-culture.go.th/chiangrai
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่