ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 51' 59.7042"
14.8665845
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 2' 26.2572"
104.0406270
เลขที่ : 124047
พิธีกรรมรำมะม๊วด(รำแม่มด) บ้านเหล็ก ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 13 มีนาคม 2555
จังหวัด : ศรีสะเกษ
2 1738
รายละเอียด

แม่มด คืออะไร

พิธีกรรมรำแม่มด หรือ เรือมมะม๊วด เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย ของชาวบ้านชาวไทยเขมร เป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติ สืบทอดต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งบรรพ บุรุษของชาวไทยเขมรได้ใช้ภูมิปัญญาดังกล่าวในการบำบัด รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับตัวเองและคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชน เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของอำนาจเหนือธรรมชาติ ความ ลึกลับ และความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายโดยเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกนี้เพื่อคอยดูแล ปกปักษ์รักษาลูกหลาน หรือให้คุณให้โทษกับลูกหลานที่มีชีวิตอยู่เมื่อทำผิด ดังนั้น การรำแม่มด จึงเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อให้รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยวิธีการบนบาน กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกกันว่า “ครูรักษา” หรือ “ครูกำเนิด”ด้วยการประกอบพิธี กรรมทรงเจ้าเข้าผี เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษหรือผีมาเข้าทรงในร่างของนางรำ หรือภาษา ถิ่น(เขมร)เรียก โจลมะม๊วด ประกอบการเล่นดนตรีและการขับร้อง ฟ้อนรำ ที่เรียกว่า “แม่มด” ซึ่ง แม่มด ที่มาเข้าร่างนางรำนั้นก็คือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง มีทั้งที่เป็นชาย และหญิง

พิธีรำแม่มด เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์มากโดยในกลุ่มชาวไทย เขมร ซึ่งอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในเขตอีสานตอนใต้ โดยจะเรียกตัวเองว่า แขมร์ หรือ คแมร์ ซึ่งชาวเขมรที่อยู่ในเขตประเทศไทยจะเรียกว่า แขมร์- ลือ หมายถึงเขมรสูง และเรียกเขมรที่อยู่ในเขตประเทศกัมพูชาว่า แขมร์-กรอม หมายถึงเขมรต่ำ เรียกคนไทยว่า เซียม หรือ ซีม ตรงกับคำว่า สยาม

พิธีกรรมรำแม่มดกับความเชื่อ

ความเชื่อของชนชาวไทยเขมรในจังหวัดศรีสะเกษ เกี่ยวกับแม่มดนี้ พระเทพวรมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญท่านหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการรำแม่มด ว่ามูลเหตุที่ทำให้เกิดมีพิธีกรรมการรำแม่มดนี้ เกิดจากความเชื่อถือดั้งเดิมที่ว่าคนเรา หลังจากที่ตายแล้ว วิญญาณที่ออกจากร่างเดิมจะต้องไปถือปฏิสนธิคือเกิดใหม่ ตามคติที่สืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าพระพรหมเป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก โลกธาตุทั้งหมดประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ และในดิน น้ำลมไฟ นั้น มีวิญญาณประจำอยู่ คนเราก็ประกอบด้วยสิ่งดังกล่าว วิญญาณที่แบ่งภาคไปเกิดเป็นคนแต่ละคนนั้น เรียกว่า “อาตมัน” ซึ่งต้องออกไปจากสิ่งที่เรียกว่า “ปรมาตมัน” อันได้แก่ศูนย์รวมของวิญญาณ

เพราะเหตุที่ว่าคนเราตายแล้วไม่ดับสูญวิญญาณ จนต้องไปเกิดอีกนั้น จะต้องอาศัยอำนาจลึกลับอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่าพระพรหมเป็นเจ้า หรือเทพเจ้า ก็ได้ หรืออำนาจของผู้วิเศษนั้นเอง ส่งให้วิญญาณไปเกิด จะไปเกิดที่ใด จะดีหรือชั่วอย่างไร แล้วแต่พระพรหมหรือเทพเจ้าจะจัดการให้เป็นไป และมีความเชื่อถือว่า อำนาจลึกลับของท่านผู้วิเศษจะคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น คนเราถือกำเนิดมาจึงไม่เหมือนกันทุกคน แต่ความเชื่อถือว่าวิญญาณต้องมีอำนาจลึกลับจัดการให้ สิ่งที่ติดตามมาพร้อมกับวิญญาณต้องมีแน่ และต้องถือว่าสิ่งนั้นสำคัญ อาจจะถือว่าเป็น “ขวัญ” หรือ “มิ่งขวัญ” ของวิญญาณ ถือว่าเป็น “ครู” ของชีวิต ภาษาพื้นบ้านจึงเรียกว่า “ครูกำเนิด” บางคนพอคลอดออกมา สังเกตเห็นมีรอยคล้ายสังวาลติดมาด้วย

เมื่อร่างกายของคนเรา ซึ่งประกอบด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม มีความไม่สุขสบายหรือมีการเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องถือว่ามีการทำผิด “ครูกำเนิด”หมายถึงการกระทำที่ไม่เป็นที่พอใจของเทพเจ้าหรือพระพรหมผู้มีอำนาจลึกลับนั้นเอง เมื่อท่านผู้มีอำนาจลึกลับไม่พอ ใจ ก็จะทำไม่ดีไม่งามแก่เจ้าของชีวิต เช่น ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทำให้หลงเพ้อ บางทีอาจจะเข้าสิงสู่ในร่างกายทำให้ชักดิ้นชักงอ หรืออาจทำให้ถึงแก่ความตายได้

เมื่อเกิดอาการเป็นเหตุเภทภัยดังกล่าว จำเป็นต้องหาวิธี “แต่งแก้” ก็คือการทำพิธีแต่งแก้ครูกำเนิด การแต่งแก้ครั้งแรกที่เกิดความไม่ดีไม่งามขึ้น ได้แก่การหาหมอครู (หมอผี) มาขอยินยอมและบนบานสารกล่าว โดยจัดหาเครื่องเซ่นในการบนบานสารกล่าว เท่าที่จำเป็น เช่น ข้าวต้ม กล้วยสุก หมาก พลู บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน แล้วบนบานสารกล่าว ว่า เมื่อหายเหตุเภทภัยแล้วจะจัดการเซ่นสรวงใหญ่โตเป็นพิเศษให้ คือ เล่นแม่มด ให้นั้นเอง

สถานที่ตั้ง
พิธีกรรมรำมะม๊วด(รำแม่มด) เป็นพิธีกรรมรักษาโรคตามความเชื่อ
หมู่ที่/หมู่บ้าน เหล็ก
ตำบล พิมายเหนือ อำเภอ ปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านเหล็ก ตำบลพิมายเหนือ
บุคคลอ้างอิง นายสำรวย สิลารักษ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอปรางค์กู่
หมู่ที่/หมู่บ้าน เหล็ก
ตำบล พิมายเหนือ อำเภอ ปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33170
โทรศัพท์ 045-6178112 โทรสาร 045-617812
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่