ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 32' 26.4649"
13.5406847
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 6' 27.0284"
102.1075079
เลขที่ : 126377
เซิ้งบั้งไฟ
เสนอโดย สระแก้ว วันที่ 12 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย สระแก้ว วันที่ 29 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สระแก้ว
0 4590
รายละเอียด

เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำนานพญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำนาน “ท้าวผาแดง – นางไอ่คำ” ซึ่งปราชญ์ชาวอีสาน ได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม

การเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำบั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถนบนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำเป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำเป็นบั้งไฟ และจุดในพิธีขอฝนต่อไป

เซิ้งบั้งไฟตำบลตาหลังใน เริ่มต้นขึ้นจากการจัดทำประเพณีบุญบั้งไฟของชาวบ้านตำบลตาหลังใน หมู่ 1 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน เมื่อประมาณปี 2520 โดยนายสาย กุลวงษ์ และนายพิม ได้ริเริ่มจัดงานบุญบั้งไฟขึ้น และชาวบ้านได้ร่วมกันรำเซิ้งประกอบขบวนแห่บั้งไฟ ไปรอบ ๆ หมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียงตามประเพณี ชาวบ้านที่มีทักษะด้านการรำเซิ้ง ก็ได้ฝึกฝน ถ่ายทอด ให้กับเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2525 คณะกรรมการจัดงานสืบสานงานประเพณีบุญบั้งไฟตำบลตาหลังใน เห็นว่าควรจัดกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบล ให้มีความสนุกสนาน แต่ยังคงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ การประกวดรำเซิ้งบั้งไฟของตำบลจึงเริ่มขึ้น ควบคู่มากับการสืบสานงานประเพณีบุญบั้งไฟของตำบลตาหลังใน มีการประกวดรำเซิ้งบั้งไฟทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยนางรำส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีแม่บ้าน เด็ก เยาวชน ของหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน ที่จะมาฝึกฝนเพื่อเข้าร่วมขบวนแห่และการประกวดรำเซิ้งบั้งไฟในเทศกาลนี้โดยเฉพาะ

ลักษณะของการแสดง

การแสดงเซิ้งบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้าน จะมีผู้แสดงไม่ต่ำกว่า 12 คนขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นหญิงล้วน แต่งกายด้วยผ้าซิ่น ผ้ามัดหมี่ เสื้อแขนกระบอก ห่มด้วยสไบ หลากสีสันรูปแบบทางภาคอีสานท่าเซิ้งมีหลากหลายท่าแล้วแต่ละหมู่บ้านจะฝึกฝนกันมา แต่ต้องมีความพร้อมเพรียงและสวยงาม และไม่ได้รับงานแสดงทั่วไป แต่รับเป็นการแสดงเฉพาะกิจเท่านั้น

สถานที่ตั้ง
บ้านตาหลังพัฒนา
เลขที่ 14 หมู่ที่/หมู่บ้าน 12 ซอย - ถนน -
ตำบล ตาหลังใน อำเภอ วังน้ำเย็น จังหวัด สระแก้ว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านตาหลังพัฒนา
บุคคลอ้างอิง นางพิมาย โคหนองบัว
ชื่อที่ทำงาน -
เลขที่ 14 หมู่ที่/หมู่บ้าน 12 ซอย - ถนน -
ตำบล ตาหลังใน อำเภอ วังน้ำเย็น จังหวัด สระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27210
โทรศัพท์ 087 9427393
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่