-หญ้าหนวดแมว
ที่ตั้ง 108 ม.8 บ.กุดลิง ต.ร่องคำ อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46210 โทรศัพท์ 08-7860-9032
-กลุ่มยาขับปัสสาวะ
-ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
-ชื่อพ้อง : O. grandiflorus Bold.
-ชื่อสามัญ : Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers
-วงศ์ : Lamiaceae ( Labiatae)
-ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
-ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป
--สรรพคุณ :
* ราก - ขับปัสสาวะ
* ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
* ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต
-วิธีและปริมาณที่ใช้ :
* ขับปัสสาวะ
1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4กรัม หรือ 4หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1ขวดน้ำปลา (750ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6เดือน
2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1กอบมือ (สด 90- 120กรัม แห้ง 40- 50กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1ถ้วยชา (75ซีซี.) วันละ 3ครั้ง ก่อนอาหาร
--ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
---การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
- หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ
** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4กรัม ชงกับน้ำเดือด 750ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
-สารเคมี :
- ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
- ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_2.htm