ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 42' 18"
15.7050000
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 15"
100.1375000
เลขที่ : 134047
สิงโตกว่องสิว นครสวรรค์
เสนอโดย สมปอง อินทับ วันที่ 6 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : นครสวรรค์
2 2085
รายละเอียด

ประวัติ “สิงโตกว๋องสิว”

สมาคมกว๋องสิว นครสวรรค์เป็นสมาคมที่รวบรวมชาวกวางตุ้งในนครสวรรค์ให้เป็นกลุ่มที่ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน มีอายุกว่า 100 ปี จากคำเล่าต่อ ๆ กันมาของผู้อาวุโสอาปักเซ้ก แซ่เหลี่ยง (ร้านเซี๊ยะล้ง)เล่าว่าตอนนี้อาปักอายุเกือบ 100 ปี ท่านมาประเทศไทยตอนอายุ 10 กว่าปี รู้ว่าชาวกวางตุ้งในนครสวรรค์เล่นสิงโตมาก่อนท่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แสดงว่า ชาวกวางตุ้งในนครสวรรค์เล่นสิงโตมานานกว่า 80 ปี ในสมัยก่อนใช้เวลาในการเล่นสิงโตถึง 2 วันเต็ม ๆ แห่จากตลาดปากน้ำโพไปเหนือสุดที่วัดไทรย์ ทางตะวันออกไปถึงแควใหญ่ ทางใต้แห่ไปถึงตลาดใต้ เราจะแห่ไปอวยพรปีใหม่กับชาวกวางตุ้งด้วยกันและชาวตลาดปากน้ำโพแล้วเราจะอวยพรแต่ละบ้านว่า “ไต่กั๊ด ไต่หลี่ ฟัดฉ่อย สุ่นหลี” แปลว่า ขอให้ท่านร่ำรวยทำมาค้าขึ้น ต่อมาเมื่อ 70 กว่าปีย้อนหลังเกิดโรคระบาดจึงมีการเชิญเจ้าพ่อเทพารักษ์แห่รอบตลาดเพื่อปัดเป่าโรคร้ายให้หมดไป ต่อมาจึงค่อยๆ มีขบวนต่าง เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้ สมาคมกว่องสิวมีการบริหารที่เป็นเอกเทศไม่ได้ขึ้นกับคณะกรรมการเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ แต่ประการใด แต่เดิมงบประมาณที่ใช้จ่ายในการแห่ต่าง ๆ ได้จากเงินที่เรี่ยไรจากชาวกวางตุ้ง ต่อมาเมื่อประมาณปี พศ.2535 จึงได้รับการสนันสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ กิจกรรมที่นอกจากการช่วยเหลือกันในหมู่ชาวกวางตุ้งแล้ว ยังมีกิจกรรมหลักอีกอย่างหนึ่ง คือการแห่สิงโตในขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพทุกปี โดยนำหัวสิงโตร่วมขบวนแห่ด้วย 4 – 5 หัวทุกปี

การแสดง “สิงโตกว๋องสิว”

ก่อนที่จะนำสิงโตออกแห่ได้นั้นจะมีพิธีเปิดตา (ไหว้ครู) ในวันช้อซาม (ชิวซา) ในปี พ.ศ.2544นี้ จะตรงกับวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2544 จะจัดให้มีเครื่องเซ่นไหว้ และไก่เป็น 1 ตัว เพื่อบูชาครูอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาการเต้นสิงโตให้ ในวันนั้นผู้ทำพิธีจะเป็นชาวกวางตุ้งที่อาวุโสที่สุด ผู้เล่นทุกคนจุต้องจุดธูปคนละ 3 ดอก เพื่อบอกกล่าวกับครูอาจารย์ทุกท่าน อาทิ เจ้าพ่อกวนอู อาจารย์กู๋หลู เป็นต้น หัวสิงโตใหม่ทั้งหมด นำมาวางไว้หน้าโต๊ะเซ่นไหว้ เมื่อธูปไหม้ได้กว่าจึงครึ่งเริ่มตีกลองโหมโรงสักพักผู้แสดงเริ่มเข้าเล่นโดยเริ่มจากสิงโตค่อย ๆ ตื่นนอนจนกระทั่งเต้นไปเจอไก่เป็น ก็จะคาบนำมาให้ผู้อาวุโสท่านนั้น โดยผู้อาวุโสจะเชือดหงอนไก่เพื่อนำเลือดจากหงอนมาผสมกับสีแดงและเหล้าขาว หลังจากนั้นก็จะอธิฐานขอให้การแสดงคลาดแคล้วและปลอดภัย จึงนำเลือดไก่มาเจิมตา 2 ข้าง จมูก 2 ข้าง ปาก หน้าผาก หลังไปจนถึงหางสิงโต จะทำดังนี้ทุกหัว แล้วก็จะนำเซียนหัวใหม่มาทำพิธีเจิมหน้าผากหลังจากเสร็จพิธีแล้ว ทุกคนจะต้องเข้าเต้นในวันนั้นถือว่าเป็นการซ้อมใหญ่ก่อนจะแสดงในวันช้อเซ (ชิวสี่) ปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2544 การแสดงเริ่มจากการแสดงต่อตัว 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ชั้น 5 ชั้น ยันกำแพง 4 ชั้น ต่อ 4 ชั้นบนไม้กระบอก ต่อ 2 ชั้นหงายหลัง การเชิดสิงโตกว๋องสิวของนครสวรรค์ มีท่าเต้นที่ถ่ายทอดมาจากอาจารย์เช่น สิงโตตื่นนอน สิงโตกินผัก สิงโตกินส้ม สิงโตเล่นพรหมสี่หน้า สิงโตกินมะพร้าว สิงโตขึ้นเขา สิงโตปีนเสา ทุกท่วงท่ามีลีลาการเต้นที่งดงาม มีความกลมกลืนอย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่ทำให้สิงโตกว๋องสิวของนครสวรรค์ได้รับรางวัลจากการแข่งขันเชิดสิงโตทั้งในประเทศ

สถานที่ตั้ง
เมืองนครสวรรค์
ตำบล ปากน้ำโพ อำเภอ เมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สืบค้นจากหนังสือ
ตำบล ปากน้ำโพ อำเภอ เมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่