ซาไกเป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,500– 10,000ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า “มันนิ” ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli)
สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทยมีซาไกอยู่สี่กลุ่มรวมประมาณ 200คน คือ
* ซาไกกันซิว อยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
* ซาไกยะฮาย อยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
* ซาไกแตะเดะหรือเยแด อยู่ บริเวณภูเขาสันกาลาคีรีแถบจังหวัดยะลาและอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
* ซาไกแต็นเอ็น อยู่บริเวณเขาบรรทัดแถบคลองตง คลองหินแดง บ้านเจ้าพระและถ้ำเขาเขียด อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง(ประมาณ 100 คน) จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล
ประวัติหมู่บ้านซาไกในอำเภอธารโต
ตั้งอยู่ที่หมู่ 3ตำบลบ้านแหร ห่างจากยะลาไปทางเบตง ประมาณ 80กม.มีทางแยกบริเวณ กม.ที่ 67-68ไปอีก 4กม.จะพบที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง ที่เรานิยมเรียกว่า "เงาะ" หรือ "เงาะซาไก" เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือของซาไกสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2516กรมประชาสงเคราะห์ได้รวบรวมเงาะ ป่าซาไก ซึ่งกระจัดกระจาย
อยู่ในเขตอำเภอเบตงและอำเภอบันนังสตา จำนวน 21ครอบครัว 52คน ให้มาอยู่ ณ ที่นี้ โดยสร้างบ้านให้ อยู่อาศัย และจัดสรรที่ดินพร้อมยางพาราพันธุ์ดีให้จำนวน 300ไร่และได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขอใช้ คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
ภาษาซาไก
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายของมนุษย์ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ บอกถึงความ
เป็นมาของวัฒนธรรม มีผู้สนใจศึกษาเรื่อง ภาษาซาไกอยู่หลายท่าน พบว่า ลักษณะของคำที่ซาไกใช้อยู่บางคำยืมไปจากภาษามลายู โดยนำไปดัดแปลงเสียง คงไว้บ้าง ลักษณะของคำภาษาซาไก มีลักษณะคำพูดโดยมากจะออกเสียงเลียนธรรมชาติ กล่าวคือคำพูดยืมไปจากภาษามลายู มีการนำไปดัดแปลงเสียง บ้างก็คงไว้ลักษณะเสียงออกจากลำคอ ลักษณะบางคำก็มีเสียงขึ้นจมูก ดังเช่นภาษาซาไกกลุ่มกันซิว
ยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรของชาวเผ่าซาไก ปัจจุบันได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง รู้จักกันดีในกลุ่มที่
นิยมยาสมุนไพร ดูจากการจำหน่ายสมุนไพรของซาไกเลี้ยงครอบครัว ปัจจุบันตัวยาสมุนไพรหายากขึ้น เพราะป่าเริ่มหมดไป ป้าอ้อยใจ ศรีธารโต ซึ่งมาอายุ ๗๐ ปี เป็นผู้ใหญ่เป็นหลักของคนในเผ่าซาไก หน้าตายิ้มแย้ม อารมณ์ดีตลอดเวลา เป็นคนแก่ที่น่ารักของเผ่า รู้จักพูดคุยกับคนอื่น ยังรักษาตัวเองด้วยยาสมุนไพรเล่าว่าการหาตัวยาสมุนไพรในปัจจุบันนี้ต้องเข้าป่าลึกๆ ใช้เวลานาน ไปแต่ละครั้งต้องนำกลับมามากๆ รู้จักนำพันธ์ยาสมุนไพรมาปลูกและขายให้แก่ผู้ต้องการด้วย ยาสมุนไพรเดิมมีเป็น ๑๐๐ ชนิดแต่ปัจจุบันนี้หาไม่ได้แล้ว และตอนนี้มีอยู่ประมาณ ๒๕ ชนิด ที่ขึ้นชื่อของชนเผ่า และขายดีมาก ได้แก่ ยาริดสีดวงทวาร ยาหัวไขเหล็ก ยาแก้หอบ ยาให้มีลูก ยาคุมกำเนิด ตัวยามีประโยชน์มาก ไม่มีผลข้างเคียง เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากประชาชนอำเภอธารโต อำเภอใกล้เคียง รวมไปถึงต่างจังหวัดอื่นๆ กลุ่มคนที่นิยมสมุนไพร เป็นที่รู้จักกันดีในสรรพคุณของยาดังกล่าว ปัจจุบัน ชนเผ่าซาไกอยู่ในสังคมเมือง ได้ปรับตัวเอง ยอมรับความเจริญด้านการแพทย์ จึงรักษาตัวเองโดยใช้ยาสมุนไพรพร้อมๆ กับรักษาตัวเองเมื่อยามเจ็บป่วย ที่โรงพยาบาล เช่น ฝากครรภ์ คลอดลูก และอื่นๆประวัติอาวุธประจำกายซาไกโดยพื้นฐานยังชีพด้วยการหาหัวเผือก หัวมัน ผลไม้ สัตว์ และ ของป่า มีอาวุธใช้ในการล่าสัตว์และป้องกันตัวที่เรียกว่า "กระบอกตุด" ป้าอ้อยใจ ศรีธารโต อายุประมาณ 70 กว่าปี ได้เล่าว่ารู้จักกระบอกตุดมาตั้งแต่จำความได้เป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ใช้ล่าสัตว์ และป้องกันตัว มีความสำคัญมาก จะติดกับตัวอยู่เสมอเมื่อออกจากบ้าน