การทำว่าวจุฬาไทย บางนางลี่
ว่าวเป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐขึ้นเพื่่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่ายคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย ในจังหวัดสมุทรสงครามนิยมทำว่าวจุฬา
ว่าวจุฬามีลักษณะเป็น 5 แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ 5 อัน ใช้ไม้ไผ่สีสุกที่มีปล้องยาว มีวิธีการทำ ดังนี้
วัสดุ- อุปกรณ์ :
1. ไม้ไผ่สีสุก 5 อัน
- อก 1 อัน ขนาด 75 เซนติเมตร
- ปีก 2 อัน ขนาด 75 เซนติเมตร
- ขากบ 2 อัน ขนาด 50 เซนติเมตร
2. กาวลาเท็กซ์
3. มีดตอก
4. ด้ายหลอด
5. กระดาษทำว่าว / กระดาษฟาง
ขั้นตอนการทำ:
1. ตัดไม้ไผ่สีสุกตามขนาดที่วางไว้จำนวน 5 อัน ตามขนาดมาตรฐาน
2. นำไม้ไผ่สีสุกที่ตัดไว้มาย่างด้วยไฟปานกลาง แล้วนำไม้ไผ่สีสุกที่ได้มาเหลาให้ได้ขนาดตามต้องการ
3. นำส่วนประกอบที่ได้ทั้ง 5 อัน มาประกอบกันให้เป็นตัวว่าวจุฬา จะได้โครงว่าวตามที่ต้องการและทาแล็กเกอร์ที่ตัวโครงว่าวเพื่อความคงทนและสวยงาม
4. ใช้ด้ายหลอดสีสันสวยงาม เลือกสีสันตามต้องการจากนั้นมาสานเป็นลายเส้นสลับสีสันตามความชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น
5. ขั้นตอนสุดท้ายนำกระดาษทำว่าว/กระดาษฟาง ที่เตรียมไว้มาติดไปบนโครงว่าวด้วยกาวลาเท็กซ์ พักทิ้งไว้ให้แห้งก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะนำไปจำหน่าย
รวบรวมและเรียบเรียงโดย:
นางสาวพรทิพย์ ไชยา นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ผู้ประสานงานอำเภออัมพวา
นางสาวสุภาภรณ์ นาคเกตุ เจ้าพนักงานธุรการ