ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 27.1871"
13.7408853
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 10' 20.0021"
101.1722228
เลขที่ : 137993
กระทงกะลามะพร้าว บ้านความเขาหัก
เสนอโดย phicha วันที่ 7 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 7 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 4079
รายละเอียด

การนำมะพร้าวมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยการนำมาทำเป็นกระทง มะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติและหาได้ง่ายในพื้นที่ ทำแบบง่ายๆ และเมื่อนำไปจำหน่ายได้รับความนิยมจากกลุ่มคนที่ชื่นชอบงานที่ทำจากกะลามะพร้าว

วัสดุที่ใช้ในการทำกระทง ได้แก่ มะพร้าวแก่ผิวเรียบแห้ง , ชะแล็ค แล็คเกอร์ ทินเนอร์ แปรง กระดาษทราย , เครื่องมือที่ใช้ มีดคมบาง ปลายเรียว , เลื่อยตัดเหล็ก ฟันละเอียด , สว่านพร้อมดอกขนาดต่างๆ สำหรับเจาะมะพร้าว ปากกาเคมี , ตะไบท้องปลิง ขนาดต่างๆ

วิธีการทำ นำมะพร้าวผิวแห้งทั้งลูก กำหนดขนาดตามที่ต้องการ แล้ววาดเส้นลงไปบนเปลือกลูกมะพร้าวให้มีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว ตัดส่วนด้านบนออก แคะเนื้อมะพร้าวออก ด้านล่างของลูกมะพร้าวให้ตัดตรงเสมอเมื่อวางแล้วต้องตรง ไม่ให้กระทงตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง ตัดแต่งส่วนที่ไม่ต้องการออก และขัดผิวกะลามะพร้าวด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด จะทาผิวกะลาด้วยชะแล็ค และทาผิวเปลือกกะลา(เปลือกนอก) ด้วยแล็คเกอร์ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ก็ได้ แต่เพื่อไม่ให้เป็นมลพิษกับแม่น้ำ ไม่ต้องทาก็ได้

การทำผลิตภัณฑ์กระทงจากมะพร้าวมี นายธงชัย เวยุพงษ์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ให้กับสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอคลองเขื่อนและต่างจังหวัด รวมทั้งผู้ที่มีความสนใจเข้ามาศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ปัจจุบันกระทงที่ทำจากกะลามะพร้าว เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอ ราคาตั้งแต่ ๓๐ –๕๐ บาท มีจำหน่ายที่กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ห้างสรรพสินค้าตะวันออกพล่าซ่า และศูนย์จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดฉะเชิงเทราทั่วไป .

สถานที่ตั้ง
บ้านควายเขาหัก
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕ บ้านควายเขาหัก
อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายธงชัย เวยุพงษ์
เลขที่ ๓๗/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕ บ้านควายเขาหัก
อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่