ชื่อพิธีกรรมเสนเรือน
ความหมาย คำจำกัดความ คำนิยามคำว่า “เสน” เป็นภาษาชาวไทดำ หมายถึง การเซ่นไหว้ หรือสังเวยบรรพบุรุษ พิธีกรรมเสนเรือน หมายถึง การเซ่นไหว้ผีเรือน หรือหมายถึงวิธีการทำบุญให้ทาน ตามความเชื่อของไทดำ
ประวัติ ตำนาน ความเป็นมาพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเซ่นไหว้ผีเรือนของชาว ไทดำ ซึ่งเชื่อกันว่าผีเรือน คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะทำพิธี อัญเชิญวิญญาณให้ขึ้นมาอยู่บนบ้าน โดยจัดห้องที่มีอยู่มุมด้านขาวของบ้านให้อยู่ เรียกว่า“กะล่อ หอง” ภายในห้องไม่มีเถ้ากระดูก หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สื่อว่าเป็นผีตนใด แต่มีเพียงแก้วน้ำ ถ้วย ชาม วางตั้งไว้สำหรับใส่อาหารที่จะนำมาเซ่นไหว้ ทุกๆ 10 วัน ส่วนข้างฝาบ้านจะเจาะเป็นรูกลมประมาณ เท่าไข่เป็ด สำหรับให้หมอเสนทิ้งอาหารที่เซ่นผีเรือนลงไปใต้ถุนเรือน พร้อมกับการเรียกชื่อบรรพบุรุษที่ ได้ตายไปแล้ว ซึ่งลูกๆ จะจดชื่อใส่ไว้ในบัญชีประจำบ้านเรียกว่า “ปับปีเรือน” เชื่อกันว่าผีเรือนตาม รายชื่อที่ได้เรียกขานจะมารับเครื่องเซ่นไหว้จากลูกหลาน พิธีจะทำเป็นประจำทุก ๆ 2-3 ปี ถ้า ครอบครัวใดที่มีรายได้น้อยก็จะกำหนดการเลี้ยงผีเรือน ทุก 5 – 6 ปี ต่อหนึ่งครั้งก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการ ผิดธรรมเนียมประเพณี
สาระสำคัญ วัตถุประสงค์การเซ่นไหว้ผีเรือน หรือสังเวยบรรพบุรุษของชาวไทดำ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ
กลุ่มคนเชื่อชาวไทดำ (ไทดำ มีชื่อเรียก ดังนี้ ไทยทรงดำ ไทยดำ โซ่ง ลาวโซ่ง ฯ)
โอกาส ฤดูกาล เวลา สถานที่การทำพิธีกรรมเสนเรือนจะทำในเดือนใดก็ได้ ยกเว้นเดือน5 ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ข้าว ปลา อาหาร ผลไม้หายาก ไม่อุดมสมบูรณ์ และเดือน 9 ถึงเดือน 10 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ผี เรือนไปเฝ้าเทวดา
รูปแบบความเชื่อ ลักษณะการแสดงออกรูปแบบกระบวนการของพิธีกรรมการทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญผู้ประกอบพิธีคือ “หมอเสน” ญาติพี่น้องจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธี ได้แก่เสื้อฮี ปานเผือนเพื่อใส่เครื่องเซ่นต่างๆ
รูปเคารพ สิ่งที่นับถือในความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมชาวไทดำบ้านห้วยห้าง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร มีความเชื่อในเรื่องผีและวิญญาณมาก โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษ จึงได้ทำพิธีกรรมที่ เกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า พิธีกรรมเสนเรือน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูของลูกหลาน และเป็นการระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะบอกกล่าวให้ผีบรรพบุรุษได้ช่วย ปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข สุขภาพสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน เป็นต้น จึงส่งผล ให้บ้านห้วยห้างเป็นแหล่งสืบสานการแต่งกายในพิธีกรรมมากเช่นกัน
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องบูชา เครื่องสังเวยในพิธีกรรมเครื่องเซ่นต่างๆ ในอดีต แบ่งออกเป็นเสนผู้ต้าว กับเสนผู้น้อย เสนผู้ต้าว หมายถึงผู้ที่มีเชื่อสายสูงศักดิ์ ต้องเซ่นไหว้ด้วย ควาย สาวนผู้น้อย หมายถึง บุคคลธรรมดาเซ่นไหว้ด้วย หมู แต่ปัจจุบันเนื่องจากควาย เป็นสัตว์ใหญ่หาหากและมีราคาสูงจึงปรับเปลี่ยนมาใช้ หมู่ แทน ในปานเสนจะมีเครื่งเซ่น ประกอบไปด้วย เนื้อหมูดิบ เครื่องในหมู ข้าวต้มผัดใส่กล้วย มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนม ผลไม้ต่างๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่ง หมากพูล บุหรี่ และเหล้า เป็นต้น ฯลฯ
(ที่มาพรชัย จันคง พีระพัฒน์ ประภาสโนบล วรรณชลี กุลศรีไชย,2552. บทบาทของชาวไททรงดำที่มีต่อการดำรงอัตลักษณ์การแต่งกายในพิธีกรรม กรณีศึกษาบ้านห้วยห้าง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร.หลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม.มหาวิทยาลัยนเรศวร)