ความเชื่อเกี่ยวกับดอกรักและต้นรัก
ดอกรักชื่อวิทยาศาสตร์Calotropis gigantean (Linn.) R.Br.ex Ait.
วงศ์ACSLEPIADACEAE
ชื่อสามัญCrown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic
อ้างอิงจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/458767
ต้นรักเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ปกติแล้วต้นรักมักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือบริเวณที่รกร้าง ความสูงอยู่ระหว่าง1.5–3เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขนเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง6–8เซนติเมตร ยาว10–14เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกจะมีสีขาวหรือสีม่วงแต่จะแยกสีกันเป็นต้น หรือเป็นพุ่ม ๆ ไป ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง5กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง2–3เซนติเมตร มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ5สัน มีเกสรตัวผู้5อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง3–4เซนติเมตร ยาว6–8เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว5-7ซม. เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามสายลม และเมื่อปลิวไปตกสถานที่ที่มีความเหมาะสมทั้งสภาพดินและอากาศก็สามารถขยายพันธุ์หรือเกิดเป็นต้นอ่อนขึ้นได้เอง
ความเชื่อชาวไทยนิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยร่วมกับดอกมะลิดาวเรืองจำปาหรือกุหลาบใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรักหรือนำไปทำพานพุ่มคู่กับดอกบานไม่รู้โรยและดอกไม้อื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบให้สวยงาม เพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรักซึ่งตามประเพณีไทย มักจะใช้ดอกรักร่วมกับดอกไม้อื่นที่มีความหมายเป็นมงคล ในงานมงคลที่เกี่ยว เนื่อง กับความรัก เช่น งานไหว้ครู (จัดเป็นพานพุ่ม) งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้นอ้างอิงจากhttp://www.kroobannok.com/10702
ส่วนความเชื่อของคนไทยอีสานนายจรัส ผิวขม ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอโนนศิลาให้คำยืนยันว่า บางหมู่บ้าน เช่น ชาวบ้านโนนศิลา ในสมัยก่อนเชื่อว่าถ้าต้นรักไปเกิดที่หน้าบ้านหรือบริเวณบ้านใครถือว่าบ้านนั้นจะเป็นบ้านที่มีเสน่ห์ มีแต่คนมาห้อมล้อมรุมรัก และไม่ให้ตัดทำลายซึ่งอาจจะทำให้เสียของรักได้ หรือเกิดเรื่องไม่ดีภายในครอบครัวได้