ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 39' 28.1628"
6.6578230
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 14' 22.0351"
101.2394542
เลขที่ : 142801
ศิลปะการแสดงมโนราห์
เสนอโดย kung111 วันที่ 3 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 12 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ปัตตานี
4 437
รายละเอียด

เชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง ปัจจุบันคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และจังหวะ ตะลุง ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ โนรา เกิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุงซึ่งมีตำนานเล่า กันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง มีชื่อว่า พระยา สายฟ้าฟาด มีลูกสาวที่ชื่อ ศรีมาลา ซึ่ง มีความสามารถในการร่ายรำมาก ได้เกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อกันว่า ท้องกับเทวดา พระยาสายฟ้าฟาดเห็นดังนั้นก็โกรธมาก สั่งให้นำนางศรีมาลาไป ลอยแพในทะเล( คือ ทะเลสาปสงขลา) และ แพได้ไปติดที่เกาะใหญ่ นางศรีมาลาก็ ได้ให้กำเนิดลูกชาย โดยตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ซึ่งมีนัยความว่า ลูกของเทวดา นางศรีมาลา ได้ฝึกให้เทพสิงหลฝึกร่ายรำ ซึ่งเทพสิงหล ก็สามารถร่ายรำได้สวยงามมาก และร่ายรำ มีชื่อเสียงมากที่เกาะใหญ่ จนรู้ไปถึง หูพระยาสายฟ้าฟาด ซึ่งพระยาสายฟ้าฟาดก็ยังไม่รู้ว่าหลานตัวเอง ก็ได้ เชิญไปรำในราชสำนัก ฝ่ายนางศรีมาลานั้น ก็น้อยเนื้อต่ำใจเมื่อครั้งที่ถูกลอยแพ ก็บอกกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะนี้จะไปรำได้ แต่ต้องปูผ้าขาวตั้งแต่ริมฝั่งที่ลงจากเรือจนไปถึงตำหนัก พระยาสายฟ้าฟาดก็ตอบตกลง ดังนั้น เทพสิงหลจึงไปรำในราชสำนัก เทพสิงหลรำ ได้สวยงามมาก จนพระยาสายฟ้าฟาด ตกตะลึงในความสวยงาม จึงถอดเครื่องทรงที่ ทรงอยู่ให้กับเทพสิงหล แล้วบอกว่า "เครื่อง แต่งกายกษัตริย์ชุดนี้มอบให้เป็นเครื่องแต่งกาย ของโนรานับแต่นี้เป็นต้นไป" เทพสิงหลจึง บอกว่าแท้จริงแล้วเป็นหลานของพระยาสายฟ้าฟาด พระยาสายฟ้าฟาดจึงรับโนราไว้ ในราชสำนักและให้สิทธิแต่งกายเหมือนกษัตริย์ทุกประการ

โอกาสที่เล่นหรือแสดง งานประเพณีต่าง ๆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
๑.ทับ
๒. กลอง
๓. ปี่
๔. โหม่ง หรือฆ้องคู่
๕. ฉิ่ง
๖. แตระ หรือแกระ คือ กรับ

ลักษณะของสถานที่แสดง โรงเรือนชั่วคราว บ้านเลขที่ ๔๔ หมู่ ๔ บ้านนางโอ ตำบลแม่ลาน

จำนวนผู้แสดง เพศ จำนวน ๒๑ คน หญิง ๒๐ คน ชาย ๑ คน

เครื่องแต่งกาย
๑. เทริด
๒. เครื่องลูกปัด ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ ๕ ชิ้น
๓.ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง
๔.ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก
๕.ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง หรือ หางหงส์
๖.ผ้านุ่ง
๗.หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา
๘.ผ้าห้อย
๙.หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว
๑๐. กำไลต้นแขนและปลายแขน
๑๑.กำไล
๑๒.เล็บ

ท่ารำที่ใช้ในการแสดง ท่ารำมโนราห์ใช้ ๑๒ ท่า คือ
๑. ท่าเทพพนม
๒. ท่าเขาควายตั้ง
๓. ท่านางขี้หนอนฟ้อนฝูง
๔. ท่าระย้าดอกไม้
๕. ท่าพระจันทร์ทรงกลด
๖. ท่าพรหมสี่หน้า
๗. ท่านกยูงฟ้อนหาง
๘. ท่าพระลักษณ์แผลงศร
๙. ท่าสอดสร้อยมาลา
๑๐. ท่ากวางเดินดง
๑๑. ท่าท่าฉายอก
๑๒.ท่าเทียมพก

คำสำคัญ
โนรา มโนราห์
สถานที่ตั้ง
ศิลปะการแสดงมโนราห์
เลขที่ ๔๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๔ บ้านนางโอ
ตำบล แม่ลาน อำเภอ แม่ลาน จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศิลปะการแสดงมโนราห์
บุคคลอ้างอิง นายสมคิด ทองคำศรี ประธานกลุ่มมโนราห์บ้านนางโอ
ชื่อที่ทำงาน กลุ่มมโนราห์บ้านนางโอ
เลขที่ ๔๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๔ บ้านนางโอ
ตำบล แม่ลาน อำเภอ แม่ลาน จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94180
โทรศัพท์ ๐๘ ๒๔๓๗ ๓๔๙๙
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่