การใช้จักรและบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า
จักรเย็บผ้าเป็นเครื่องมือในการตัดเย็บที่มีราคาแพงสุด และมีความสำคัญ โดยช่วยให้การเย็บผ้าได้รวดเร็ว สวยงาม และประณีต จักรเย็บผ้ามีอยู่หลายชนิด บางชนิดสามารถปักลาย ซิกแซกและถักรังดุมได้ ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและสิทธิภาพการทำงานของจักร ถ้าเป็นจักรธรรมดาใช้สำหรับเย็บเส้นได้อย่างเดียว ไม่สามารถเย็บซิกแซกได้ ราคาประมาณ 1,000 บาท แต่ก็สามารถใช้การได้ดีสำหรับจักรที่มีประสิทธิภาพการใช้งานได้หลายอย่าง เช่น จักรเย็บไฟฟ้าจะมีราคาตั้งแต่ 2,500 บาทถึงราคา 45,500 บาท ซึ่งผู้ใช้จักรเย็บผ้าสามรถเลือกซื้อได้ตามทุนทรัพย์และความต้องการ
2.1 ส่วนประกอบของจักรเย็บผ้าและหน้าที่
ส่วนประกอบชองจักรเย็บผ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัวจักรและตัวจักร ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
1)ส่วนประกอบของหัวจักร หัวจักร คือ ส่วนเครื่องจักรที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ ซึ่งส่วนต่างๆ ที่เราควรรู้จักร มีดังนี้
1.แกนใส่หลอดด้าย ใช้สำหรับใส่หลอดด้าย
2.ที่คล้องด้ายสำหรับคล้องหรือสอดด้ายที่ออกมาจากหลอดด้าย
3.ที่บังคับด้ายบน มีหน้าที่ปรับความตึง หลวม ของด้ายบน
4.สปริงกระตุกด้าย ทำหน้าที่กระตุกด้ายออกมาจากหลอดด้าย
5.ที่คล้องด้ายที่ออกมาจากที่บังคับด้ายบน ก่อนที่ด้ายบนจะผ่านสปริงกระตุกด้ายที่อยู่ข้างบน
6.ห่วงสำหรับคล้องด้าย มีหน้าที่เหมือนร่องนำด้าย
7.หมุดรัดเข็มจักร มีหน้าที่บังคับเข็มจักรให้แน่น
8.เข็มจักรมีหน้าที่บังคับเข็มจักรให้แน่น
9.ตีนผี มีหน้าที่ทับผ้าให้แน่นตึง
10.ที่ยกตีน มีหน้าที่ยกตีนผีขึ้นลง เมื่อต้องการ
11.ฟันจักร มีหน้าที่ส่งผ้าไปข้างหน้า หรือถอยหลัง
12.ฝาครอบกระสวยหรือฝาเลื่อนปิดเปลกระสวย มีหน้าที่เปิด ปิด เมื่อต้องการใส่กระสวย
13.ที่บังคับฝีเข็ม มีหน้าที่เลื่อนปรับความถี่-ห่างของฝีเข็ม หรือเป็นที่บังคับให้จักรเดินหน้าหรือถอยหลัง
14.แกนกรอด้าย มีหน้าที่กรอด้ายใส่กระสวย
15.วงล้อประคับ คือ วงล้อหัวจักรมีหน้าที่หมุนให้เครื่องจักรทำงาน
16.หมุดที่บังคับ คือ วงล้อหัวจักรมีหน้าที่หมุนให้เครื่องจักรทำงาน
17.มอเตอร์
18.กระสวย ทำหน้าที่บังคับด้ายล่าง
19.ไส้กระสวย ทำหน้าที่เก็บด้ายล่าง เช่นเดียวกับหลอดด้าย
2)ส่วนประกอบของตัวจักร 1.วงล้อพานจักร คือ วงล้อตัวจักรมีหน้าที่ทำให้สายพานเดิน ไปหมุนวงล้อประดับเพื่อให้เครื่องทำงาน
2.ขาจักร เป็นโครงเหล็ก มีหน้าที่รองรับเครื่องจักร
3.ที่วางเท้า หรือแผ่น วางเท้า
2.2 การใช้จักรเย็บผ้า ก่อนการใช้จักรเย็บผ้า ผู้ที่ฝึกเย็บจักรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคหรือวิธีการใช้ส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้
1)การฝึกบังคับจักร ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.นั่งให้ตัวตรง วางเท้าตรงที่วางเท้าของจักรเย็บผ้า
2.มือขวาหมุนวงล้อประดับเข้าหาตัว
3.ขณะที่หมุนวงล้อประดับหมุน ที่วางเท้าจะเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ฝึกถีบจักรโดยใช้แรงจากปลายเท้าและส้นเท้า ให้วงล้อประดับหมุนเข้าหาตัว โดยจังหวะการหมุนสม่ำเสมอ
4.การบังคับจักรเย็บผ้าให้หยุด ควรค่อยๆ ชะลอความเร็ว ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติโดยใช้วิธีกดเท้า ฝีเข็มจะถอยหลัง ด้ายเย็บเป็นปมพันกัน อาจทำให้เข็มหักได้
2)การฝึกเย็บ เส้นที่ใช้งานตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มีดังนี้
-เส้นตรง ใช้เย็บเกล็ด ไหล่ หรือเส้นอื่นๆ ที่เป็นเส้นตรง
-เส้นหัก ใช้สำหรับเย็บมุมปลายปกเช่น ปกเชิ้ต ปกฮาวาย หรือส่วน อื่น ๆ ที่เป็นมุมหัก
-เส้นโค้ง ใช้สำหรับเย็บแขนเสื้อ ส่วนโค้งของกระเป๋า หรือส่วนอื่นๆ ที่เป็นเส้นโค้งการฝึกเย็บเส้นลักษณะต่างๆ ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ยกตีนผี โดยจับที่ยกตีนผีขึ้น
2.สอดผ้าที่ต้องการเย็บให้แนวเส้นเย็บอยู่ตรงช่องตีนผี
3.ใช้มือขวาหมุนวงล้อประดับ ให้เข็มปักที่จุดเริ่มต้นที่ต้องการเย็บ
4.ยกตีนผีลงทับผ้า
5.ใช้มือขวาหมุนวงล้อ ประดับเพื่อให้เครื่องจักรเริ่มทำงาน เมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงาน ที่วางเท้าจะเคลื่อนไหว กระดกขึ้นกระดกลงแบบเดียวกันกับกระดานหกซึ่งเป็นเครื่องเล่นของเด็ก เมื่อวางเท้าเริ่มทำงานให้ผู้ฝึกเย็บออกแรงที่เท้าตามจังหวะกระดกของที่วางเท้า
6.เมื่อเย็บมุมหัก ให้ปักเข็มมุมที่มุมหัก และหมุนกระดาษให้เส้นที่ต้องการเย็บอยู่ในช่องตีนผี
7.เมื่อเย็บเส้นโค้ง ให้เย็บช้าๆ และใช้มือซ้ายเลื่อนกระดาษให้แนวเส้นที่เย็บอยู่ในช่องตีนผี
8.เมื่อต้องการนำผ้าที่เย้บออกจากจักร ให้ยกตีนผีขึ้น มือขวาหมุนวงล้อประดับไปมา มือซ้ายนำผ้าออกจากจักรทางด้านซ้ายของมือ
9.ดึงด้ายออกจากเข็มจักร ให้ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
3)การกรอด้าย หมายถึงการนำด้ายเก็บในไส้กระสวย โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1.นำไส้กระสวยสวมที่แกนใส่กระสวยของที่กรอด้าย
2.คลายหมุดที่วงล้อประดับ เพื่อไม่ ให้แกนเข็มและฟันจักรทำงาน โดยใช้มือซ้ายจับวงล้อประดับ มือขวาจับหมุดที่วงล้อประดับ หมุนเข้าหาตัวจนวงล้อประดับหลวม
3.นำหลอดด้ายสวมที่แกนใส่หลอดด้าย ผ่านไปยังร่องนำด้าย ผ่านที่คล้องด้าย และเอาปลายด้ายพันที่ไส้กระสวย 2-3รอบ หรือนำปลายด้ายผูกติดกับกระสวยให้แน่น
4.กดที่รอยด้ายลง ให้ลูกยางของที่กรอด้ายติดกับวงล้อ ประดับแล้วเดินเครื่องจักรให้ทำงานให้หยุดกรอด้ายเมื่อด้ายเกือบเต็มไส้กระสวย ระวังอย่าให้เส้นด้ายล้นไส้กระสวย เพราะจะทำให้ไส้กระสวยในกระโหลกไม่ได้
4)การใส่เข็ม ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.หมุนวงล้อประดับให้แกนเข็มสูงสุด
2.คลายหมุดรัดเข็มออกด้วยมือขวา
3.มือซ้ายจับเข็มจักร นำเข็มทางด้านแบนเข้าหาแกนเข็มหรือให้รูเข็มอยู่ทางซ้ายและขวา และให้รูเข็มอยู่ในร่องแกนเข็มในตำแหน่งสูงถึงที่กั้นเข็ม
4.หมุนหมุดรัดเข็มให้แน่นด้ายมือขวา
5)การร้อยด้ายบน ให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1.นำหลอดด้ายสวมในแกนใส่หลอดด้าย
2.ดึงปลายด้ายผ่านร่องนำด้าย
3.ดึงปลายด้ายผ่านที่บังคับด้านบน ผ่านลวดสปริงกระตุกด้าย
4.ร้อยปลายด้ายเข้าในรูของกระตุกด้ายบน
5.ผ่านห่วงคล้องด้าย
6.ผ่านห่วงที่แกนเข็ม
7.ร้อยด้ายเข้าเข็ม โดยร้อยด้ายด้วยมือซ้ายไปทางขวา
8.ปล่อยปลายด้ายออกจากเข็มประมาณ 25 เซนติเมตร
2.3 การบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า
จักรเย็บผ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้งานตัดเย็บเสื้อผ้า การบำรุงรักษาจักรให้อยู่ในสภาพดีจะช่วยให้อายุการใช้งานของจักรได้ยาวนานและคงทนถาวร ซึ่งควรปฏิบัติ ดังนี้
1.หยอดน้ำมันจักรอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
2.ถ้าไม่ใช้จักรเป็นระยะเวลานาน ควรจะใช้จาระบีใส ทาทุกส่วนที่เป็นโลหะ ให้ทั่ว เพื่อป้องกันสนิมและคลุมจักรให้มิดชิด
3.ไม่เก็บจักรในที่ชื้น หรือห้องที่ชื้น เพราะจะทำให้เป็นสนิมได้ง่าย
4.ทำความสะอาดจักรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้แปรง นุ่มๆ ปัดบริเวณฟันจักรหมุดรัดเข็มและบริเวณหัวจักรส่วนอื่นๆ