ความเป็นมา :
คันเบ็ด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะในภาคอีสานแล้วไซร์นิยมนำเบ็ดไปปักเพื่อรอดักปลาตามท้องนา เป็นอาหารรับประทาน ซึ่งคนสมัยเก่าชอบทำมาหากินตามท้องนา และลำห้วย,หนอง,คลอง,บึง โดยเฉพาะคันเบ็ดคนสมัยเก่าชอบนำไปดักปลา ซึ่งตัวเบ็ดมีจำหน่ายตามร้านขายของชำทั่วไป ปลาหลายชนิดที่ติดเบ็ด อาทิเช่น ปลาช่อน,ปลาดุก,ปลาหมอ,ปลาตะเพียน,ปลาไหล
คันเบ็ดพร้อมด้วยตัวเบ็ด :
คันเบ็ดพร้อมด้วยตัวเบ็ดและใช้เชือกไนล่อนขนาดเล็ก มัดกับตัวเบ็ดโดยให้เชือกหย่อนมาจากคันเบ็ดพอประมาณ เพื่อใช้ดักปลาพร้อมด้วยอาหารดักปลา หย่อนเชือกไนล่อนลงในน้ำ พร้อมด้วยอาหารของปลา เช่น แมลงเม่า,กบ,เขียด, ตัวเล็ก เป็นเหยื่อล่อปลา
ความสำคัญ :
คันเบ็ดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่คิดค้นขึ้นเอง เพื่อใช้ดักปลาในช่วงน้ำหลาก หรือตามท้องนา ที่มีต้นข้าวกำลังขึ้นเขียวชอุุ่่ม และจะมีปลามากมายหลายชนิด ตัวเล็กตัวใหญ่ โดยใช้คันเบ็ดเป็นเหยื่อดักล่อปลาตามทุ่งนา
วัสดุที่ใช้ทำเป็นคันเบ็ด :
ประกอบด้วยไม้ไผ่ เหลาให้ผิวเรียบคันเบ็ดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ผูกด้วยเชือกไนล่อนขนาดเล็ก มัดกับตัวไม้ไผ่และรัดด้วยตัวเบ็ดก็จะเสร็จสมบูรณ์เป็นคันเบ็ดได้
แหล่งที่มาของคันเบ็ด :นายแสงจันทร์ วิชาชัย บ้านเลขที่ 389 หมู่ 1 บ้านวังเพิ่ม ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น 40220 (ประธานกลุ่ม)