ข้อมูลทั่วไปของตำบลหาดแพง
ประวัติความเป็นมา
ตำบลหาดแพง แต่เดิมขึ้นกับตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน โดยแยกมาขึ้นกับอำเภอศรีสงคราม เมื่อปี 2457 ครั้งแรกแบ่งการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน ปัจจุบันได้แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ภาษาที่นิยมพูดคือภาษาไทญ้อ เพราะส่วนมากเป็นคนไทยเชื้อสายไทญ้อ กำนันคนปัจจุบันคือนายเคน ผาอิดดี
สภาพทั่วไปของตำบล
ตำบลหาดแพง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลศรีสงคราม และห่างจากตัวอำเภอศรีสงคราม 12 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีที่ดอนบางส่วน มีพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 44,677 ไร่
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลศรีสงคราม และ ตำบลนาคำ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,054 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ ทำสวน
อาชีพเสริม ทอผ้า รับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหาดแพ
2. วัดศรีบุญเรือง
3. วัดโพนสิม
4. วัดโพธิ์ศรี
5. วัดศรีสวาท
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
เดินทางสู่ตำบลได้ 2 เส้นทาง คือ
1. จากจังหวัดนครพนม ใช้เส้นทางนครพนม-ศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 86 กิโลเมตร ผ่านอำเภอท่าอุเทน เมื่อถึงบ้านท่าดอกแก้ว ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จะเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย เดินทางสู่อำเภอศรีสงคราม มาถึงบ้านปฏิรูป หมู่ที่ 5 ตำบลศรีสงคราม จะเป็นสามแยก ให้เลี้ยวขวา ใช้เส้นทาง ปฏิรูป-นาพระชัย ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานข้ามลำน้ำสงครามเข้าสู่ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม
2. จากจังหวัดสกลนคร ใช้เส้นทางสกลนคร-นครพนม ถึงบ้านดอนเชียงบาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้ามาผ่านอำเภอนาหว้า ใช้เส้นทางอำเภอนาหว้า-ศรีสงคราม ถึงอำเภอศรีสงคราม แล้วใช้เส้นทางศรีสงคราม-ท่าดอกแก้ว ออกจากอำเภอศรีสงครามประมาณ 3 กิโลเมตร มาถึงบ้านปฏิรูป หมู่ที่ 5 ตำบลศรีสงคราม เป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย ใช้เส้นทางปฏิรูป-นาพระชัย ระยทางประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานข้ามลำน้ำสงคราม ก็จะเข้าสู่ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
มีไฟฟ้า ประปาหมู่บ้าน โทรศัพท์สาธารณะครบทุกหมู่บ้าน
ความสำคัญ
เป็นเครือข่ายทางวัฒนธรรมของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมของคนในชุมชน ให้มีความรักและห่วงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนตนเอง รวมไปถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่ต่อไปด้วย โดยจะเห็นได้จากการจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม งานประเพณีงานบุญต่างๆ ของชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปี