ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 26' 3.4289"
14.4342858
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 41' 7.9559"
100.6855433
เลขที่ : 147254
สมุนไพรเสลดพังพอน
เสนอโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 22 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 23 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 579
รายละเอียด

เสลดพังพอนเป็นไม้พุ่มเลื่อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวออกตรงกันข้ามกัน รูปรีแคบขนาน กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๒ ส่วน ขึ้นตามป่า หรือปลูกตามบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา

สรรพคุณ

เสลดพังพอน ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวง

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ

๑.ใบเสลดพังพอน ทั้งตัวผู้และตัวเมีย
๒.พิมเสน
๓.ยูคาลิปตัส
๔.เมนทอล
๕.การบูร
๖.น้ำมันระกำ
๗.เป๊บเปอร์มิน
๘.วาสลิน
๙.ไขผึ้ง ถ้าทำเป็นน้ำไม่ต้องใส่

วิธีการคัดเลือกวัสดุอุปกรณ์

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ

ขั้นตอน

๑.นำเสลดพังพอนเอาแต่ใบ ไปล้างน้ำสะอาดแล้วหั่นให้ละเอียดแล้วนำไปต้มกับน้ำสะอาด
๒.เมื่อเดือดได้ที่แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเอากากออก แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น
๓.นำเมนทอล พิมเสน การบูร ยูคาลิปตัส น้ำมันระกำแป๊บเปอร์มิน มาผสมคนให้เข้ากัน
๔.ต่อจากนั้นนำทั้งสองอย่างมาผสมกันแล้วเติมวาสลิน ไขผึ้งลงไป ต้มให้เดือด
๕.แล้วปล่อยทิ้งไว้สักพักแล้วน้ำ เติมกลิ่นตามต้องการแล้วเทใส่ขวด เป็นอันเสร็จสมุนไพรเสลดพังพอน

ลักษณะสมุนไพรเสลดพังพอน

๑. ทำเป็นยาหม่องขี้ผึ้งเสลดพังพอน

๒. ทำเป็นยาหม่องน้ำเสลดพังพอน

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๒๓/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล พระแก้ว อำเภอ ภาชี จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางอำภา คงเกษม
บุคคลอ้างอิง จุรีพร ขันตี อีเมล์ jureeka@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ ๐ ๓๕๓๓ ๖๘๘๒-๓ โทรสาร ๐ ๓๕๓๓ ๖๘๘๑
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่