ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 42' 22"
16.7061111
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 4' 44"
103.0788889
เลขที่ : 147638
การสู่ขวัญข้าว
เสนอโดย uraiwancom1 วันที่ 24 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 25 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 906
รายละเอียด

การสู่ขวัญข้าว ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

การสู่ขวัญข้าวมักทำกันในเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ชาวบ้านเชื่อว่า "กินบ่บก จกบ่ลง" (กินเท่าไหร่ ไม่รู้จักหมด) ชาวบ้านจะสู่ขวัญข้าวก่อนทำพิธีเปิดเล้า (ยุ้ง) ข้าวนำมากิน จะทำการสู่ขวัญก่อน เพื่อเป็นสิริมงคล จะทำให้สามารถผลิตข้าวในปีต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดภาวะอดอยาก

ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว เรียกขวัญข้าว กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓

ความสำคัญ
เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป

พิธีกรรม
โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไปในปัจจุบัน จะทำพิธีสู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย โดยการทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ จะทำรวมกันทั้งอำเภอ โดยทำที่วัดศรีสว่าง ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

เดิมพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะทำพิธีแฮกนาก่อนเกี่ยวข้าว เป็นการทำพิธีก่อนที่จะทำการเกี่ยวจริง เมื่อชาวนาลดน้ำในนาแห้งแล้ว จะหาฤกษ์หาวันที่ดี โดยจะใช้กระทงบรรจุอาหารคาวหวาน หมาก เมี่ยง บุหรี่ พลู กล้วย อ้อย จำนวน 5 กระทง กรวยดอกไม้บรรจุข้าวตอก ดอกไม้ธูปเทียน แล้วนำไปวางบนแท่นบูชาที่จัดเตรียมไว้บริเวณที่เคยทำเป็นค้างข้าวแรก เสร็จแล้วนำไปเซ่นสรวงแม่ธรณีเจ้าที่และแม่โพสพ เพื่อเป็นการบอกกล่าวขออนุญาตเกี่ยวข้าว จากนั้นเจ้าของนาก็ทำพิธีเกี่ยวข้าวเอาฤกษ์ 9 กอ นำไปวางบนแท่นที่เตรียมไว้ เป็นการบูชาแม่โพสพ หลังจากนั้น 2-3 วันเจ้าของนาและคนอื่นช่วยกันเกี่ยวข้าวที่เหลือทั้งหมด
อย่างไรก็ตามชาวนาบางคนจะไม่ทำพิธีแฮกก่อนเกี่ยว เนื่องจากถือว่าได้ทำพิธีแฮกก่อนปลูกแล้ว

จากนั้นก็จะช่วยกันเก็บข้าว สมัยก่อนจะเก็บข้าวขึ้นหลอม โดยจัดที่ไว้เรียกว่าลานข้าว (ลานข้าวจะใช้ขี้ควายผสมน้ำเล็กน้อยทาลงที่พื้น จนเรียบ) ไว้เป็นที่เก็บข้าว จัดอย่างสวยงาม ทำเป็นห้างนานอนเฝ้าข้าว และจะหาวันดีก่อนช่วยกันนวดข้าว จัดข้าวปลาอาหารเลี้ยงผู้มาช่วยนวดข้าว เสร็จแล้วเก็บขึ้นเล้า

จากนั้นพอถึง เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ จึงจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวก่อนจะนำข้าวไปกิน สมัยนี้จะทำแบบง่าย ๆ โดยนำดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร หวาน คาว จัดไปวางที่หน้ายุ้งข้าว เพื่อหัวหน้าครอบครัวนั้นจะพูด ขอ พระแม่โพสพ เพื่อนำข้าวมากิน ทำปีละ ๑ ครั้ง ก่อนเปิดปากเล้า

ประเพณี การสู่ขวัญที่ทำในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่เพียงการสู่ขวัญบางประเภท เท่านั้น เช่น การสู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญข้าว สู่ขวัญคนธรรมดา และสู่ขวัญควายและวัว ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ของสังคมในปัจจุบัน สัตว์และสิ่งของบางอย่างได้หมดความสำคัญในชีวิตประจำวันของชาวอีสานไปแล้ว จึงค่อยๆ เลิกไปในที่สุด

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองโก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านหนองโก ถนน สันติสุข
ตำบล หนองโก อำเภอ กระนวน จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
งานบุญกุ้มข้าวใหญ่
บุคคลอ้างอิง อุไรวรรณ คำโฮง อีเมล์ uraiwankomhong@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
เลขที่ 369 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านหนองโก ถนน อภัย
ตำบล หนองโก อำเภอ กระนวน จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40170
โทรศัพท์ 043 251369,081874701 โทรสาร 043- 251358
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่