ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 39' 53.501"
16.6648614
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 8' 14.8657"
102.1374627
เลขที่ : 147719
"มีด" มีดเหลาตอกโบราณ
เสนอโดย Songrit วันที่ 25 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 25 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 628
รายละเอียด

"มีด" มีดเหลาตอกโบราณ :เป็นเครื่องมือชนิดแรก ๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธ์ุ หรือ กลุ่มสังคมใด ๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด เหลาตอก และบางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือ แทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือ หรือ ลักษณะของมีดตามการใช้งาน เช่น ใช้เป็นเครื่องครัว, ใช้เป็นเครื่องมือหรือเหลาตอกไม้, ใช้เป็นอาวุธ สำหรับมีดในที่นี้ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ คือ"มีดเหลาตอกไม้ไผ่"

ลักษณะรูปร่างของมีดเหลาตอกโบราณ :ตัวมีดเหลาตอกโบราณ ทำมาจากเหล็กตีให้เป็นแผ่น โดยนำเศษเหล็กไปจี่กับไฟ และหลังจากนั้นนำมาตีให้เป็นรูปร่างเหมือนมีดและคมใช้งานได้ มีดเหลาตอกสั้น ด้ามมีดเหลาตอกยาวพอประมาณ เช่น เหลาตอกทำไซดักปลา, สานตะกร้า,สานกระติ๊บข้าว,สานกระด้ง เป็นต้น

วัสดุที่ใช้ทำมีดเหลาตอก :ประกอบด้วย ตีเหล็กเป็นตัวมีด,ด้ามไม้ไผ่,ไม้เนื้อแข็ง,ครั่ง

แหล่งที่มาของมีดเหลาตอกโบราณ :โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา หมู่ที่ 4 ตำบล นาจาน อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น

สถานที่ตั้ง
โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 บ้านสี่แยกโนนหัวนา ซอย - ถนน ชุมแพ-สีชมพู
ตำบล นาจาน อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อ้างอิงบางส่วนมาจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี/วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา
บุคคลอ้างอิง ทรงฤทธิ์ แซงวุฒิ อีเมล์ Songrit94@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสีชมพู อีเมล์ songrit94@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40220
โทรศัพท์ 08-1874-7083 โทรสาร -
เว็บไซต์ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสีชมพู
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่