"ไนปั่นด้าย" :เป็นเครื่องมือปั่นด้าย หรือ กรอไหม โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องของล้อและเพลา ในสมัยโบราณเครื่องมือปั่นด้ายเรียกว่า"แว"สำหรับเข็นฝ้าย (ทำเส้นด้ายฝ้าย) และใช้ปั่นด้าย หรือ กรอด้ายเข้าหลอด เพื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า สืบต่อกันมาแต่โบราณหลายชั่วคน นับว่าเป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยเก่า และที่สำคัญนั้น ในการทำเครื่องมือในการปั่นด้ายจะทำด้วยมือตลอด กระบวนการ
ลักษณะของไนปั่นด้าย :ทำเป็นวงล้อ และเพลา มีลักษณะกลมใหญ่เท่าหัวแม่มือเล็กน้อย มีรูตรงกลางสำหรับเสียบไม้ปั่นด้าย ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องปั่นด้าย หรือไน ลักษณะทั่วไปของไนจะเป็นวงกลม ติดตั้งอยู่ระหว่างขาสองอันที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง และมีเหล็กสอดเป็นคัน สำหรับหมุนวงล้อ ส่วนขาติดตั้งอยู่บนส่วนหัว ของฐานที่ทำด้วยไม้ท่อนยาวประมาณ 30 นิ้ว โดยที่ส่วนปลายของท่อนจะมีเหล็กไนสอดอยู่กับขาตั้งโดยโผล่เหล็กไนออกมา ไว้สำหรับเป็นที่สวมของหลอดไม้ไผ่ ที่ทำเป็นที่กรอด้าย และระหว่างวงล้อ จะมีสายพานทำด้วยเชือกโยงมาเพื่อหมุน เหล็กไน ดังนั้น เมื่อมีการหมุนวงล้อเหล็กไนก็จะหมุนไปด้วย
วัสดุที่ใช้ทำไนปั่นด้าย :ประกอบด้วย ไม้เนื้อแข็งและเหนียว, เช่น ไม้ซาด,ไม้กุง,ไม้ไผ่บ้าน(ไผ่สีสุก),เหล็กใน, ด้ายทำจากสายใบนุ่น,ครั่ง,เชือก
แหล่งที่มาของไนปั่นด้าย :โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา หมู่ที่ 4 ตำบล นาจาน อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น