ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 16' 55.146"
14.2819850
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 37' 10.7976"
100.6196660
เลขที่ : 149697
ผักบุ้งไทย พืชไร้ดิน
เสนอโดย anong123 วันที่ 8 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 10 สิงหาคม 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
3 4902
รายละเอียด

ผักบุ้งไทยพืชไร้ดิน

ประวัติความเป็นมา

ตำบลตลิ่งชันเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ คลองโพธิ์ คลองทับ คลองตลิ่งชัน และคลองขวาง ฯลฯ จึงทำให้ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันคิดที่จะใช้ประโยชน์จากลำคลองที่มีอยู่ “ ป้าอำไพ คงสุข ” ที่มีบ้านอยู่ติดริมคลองจึงชักชวนเพื่อนบ้านที่อยู่ริมคลองด้วยกัน ทดลองปลูกผักบุ้งไทย ซึ่งเป็นการปลูกผักที่ไม่ต้องลงทุนมาก และให้ผลผลิตตลอดปี โดยตอนแรกๆเพื่อนบ้านไม่ค่อยสนใจมากหนัก แต่พอ “ป้าอำไพ” ปลูกได้สักระยะเพื่อนบ้านเริ่มเห็นป้าอำไพเก็บยอดผักบุ้งขาย และก็เก็บไม่ทันคนซื้อ เพื่อนบ้านจึงลองปลูกบ้าง และปลูกกันเรื่อยมา จนปัจจุบันมีพ่อค้าคนกลางมารับถึงที่ เก็บกันทุกวัน ขายทุกวันชาวบ้านมีรายรับกันทุกวัน

นางอำไพ คงสุข (ป้าไพ) ปัจจุบันอายุ ๗๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอดีตมีอาชีพทำนา เลี้ยงไก่ไข่ ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว เนื่องจากมีอายุมากแล้ว และลูกๆส่วนใหญ่ก็ทำงานต่างถิ่น จึงไม่มีคนช่วยงาน จึงหันมาทำอาชีพปลูกผักบุ้งไทย เก็บยอดขายได้ทุกวัน และที่สำคัญไม่ต้องใช้แรงงานแรงกายมาก การลงทุนต่ำ แต่มีผลผลิตดี ป้าไพ จึงชวนเพื่อนบ้านที่อยู่ริมคลองปลูกผักบุ้งไทยกัน โดยมีการพัฒนาและเปลี่ยนสายพันธุ์เรื่อยมา จนปัจจุบันได้สายพันธุ์ที่ดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ผักบุ้ง เป็นผักที่หลายคนเคยรับประทาน และทราบดีว่ามีหลายพันธุ์ เช่น ผักบุ้งแดง (รับประทานกับส้มตำ) ผักบุ้งจีน (นิยมใช้ผัดผักบุ้งไฟแดง ใส่ในก๋วยเตี๋ยว ใสในสุกี้) ผักบุ้งไทย (ใช้ใส่ในแกงส้ม) แต่ละพันธุ์ล้วนนำมาประกอบอาหารแตกต่างกันออกไป ผักบุ้งไทย ที่เราพบเห็นตามท้องตลาดที่บางทีเราเรียกว่าผักบุ้งทอดยอด เพราะยอดมันเป็นสีเขียวอ่อน ใบใหญ่ยาว น่ากิน ลำต้นใหญ่อวบกว่าผักบุ้งจีน และผักบุ้งแดง

ผลิตภัณฑ์

ชาวบ้านเขาสังเกตเห็นว่า ผักบุ้งไทยมักทอดลำต้นบนผิวน้ำ ชูส่วนยอดให้รับแสงแดด จึงคิดนำเชือกมาผูกกับก้อนหินแล้วมัดกับลำต้นผักบุ้งไทยทิ้งให้ลำต้นและส่วนยอดดิ่งลงไปในน้ำลึก ด้วยธรรมชาติของพืชที่ต้องรับแสงเพื่อใช้ในกิจกรรมสังเคราะห์ด้วยแสง จึงต้องพยายามยืดลำต้นและส่วนยอดให้โผล่เหนือน้ำเพื่อรับแสงเนื่องจากปริมาณแสงที่ผ่านน้ำมายังผักบุ้งมีน้อยไม่พอที่จะใช้ เหตุนี้ผักบุ้งไทยจึงมียอดยาวและสีขาวกว่าปกติ นิดหน่อย เกษตรกรหลายรายใช้วิธีนี้ในการเพาะเลี้ยงผักบุ้งไทย เพื่อใช้ประกอบอาหารและค้าขายช่วยให้ผักบุ้งที่ได้มียอดสวยยาวน่ารับประทาน…นี่ก็เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว แล้วนำมาประยุกต์กับชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีผักบุ้งไทย ขาวๆ สวยๆ ไว้รับประทานกันจนทุกวันนี้

ผักบุ้งไทยนอกจากเป็นผักประจำในครัวของทุกคนแล้วยังมีโยชน์นาทางยาอีกด้วย

ดอกใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน

ต้นสดใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา

บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง

ทั้งต้นใช้แก้ปวดหัว อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา

แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ

ใบใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดตำ คั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา

แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

รากใช้แก้ไอเรื้อรัง และแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด

เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม

ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น ผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า - แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น

รางวัลที่ได้รับ

สิ่งที่ภาคภูมิใจของชาวตลิ่งชัน ที่ผ่านมา ยอดผักบุ้งที่ชาวตลิ่งชันปลูก ได้รับคัดเลือกจากจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ประกอบการจัดซุ้ม รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จ ณ ทุ่งมะขามหย่อง

ส่วนประกอบ

1. ไม้ ยาว ประมาณ ๓ - ๕ เมตร แล้วแต่ความลึกของน้ำ สำหรับทำหลักในการผูกกอผักบุ้ง

2. พันธุ์ผักบุ้ง

3. เชือก

4. เรือ ใช้สำหรับเก็บยอดผักบุ้ง

5. มีดขนาดเล็ก

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นที่ 1 คัดสรรพันธุ์ผักบุ้งที่ให้ยอดสวย ขาว ใหญ่ ซึ่งเป็นยอดที่ตลาดต้องการ

ขั้นที่ 2 ปักไม้สำหรับทำเป็นหลัก เพื่อผูกผักบุ้ง
ขั้นที่ 3 นำพันธุ์ผักบุ้งมาผูกติดกับไม้ ควรทำแนวไม้ให้ห่างจากตลิ่งประมาณ ๒ เมตร
ขั้นที่ 4 ดูแลไม่ให้มีแมลง หนอน มาทำลายยอดผัก

ขันที่ ๕ หลังจากเก็บยอดผักบุ้งแล้ว ควรตัดต้นผักบุ้งผิดบ้าง ไม่ควรให้ผักแน่นจนเกินไป

สถานที่ตั้ง
ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน
เลขที่ 10 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 ซอย - ถนน -
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน
บุคคลอ้างอิง anong ananrattanasuk อีเมล์ anong_anan@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบางปะอิน
เลขที่ 11/11 หมู่ที่/หมู่บ้าน 11 ซอย - ถนน บางปะอิน-บางไทร
ตำบล บ้านเลน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13160
โทรศัพท์ 035261001,0876919099
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่