ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 155143
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นสุพรรณิการ์
เสนอโดย somkiat123 วันที่ 3 กันยายน 2555
อนุมัติโดย วันที่ 5 กันยายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1393
รายละเอียด

สุพรรณิการ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มโปร่งลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มผิวลำต้นเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ลักษณะใบเป็นรูปมนกว้าง ริมขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ ลักษณะกลีบดอกงุ้มเข้าหากัน กลีบดอกและเกสรมีสีเหลืองอยู่ตรงกลาง ลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนมากดอกบานเต็มที่มีขนาด 46 เซนติเมตร ผลกลมเป็นพูมีขนาดโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออก 3-5 พูภายในผลมีเส้นใยคล้ายฝ้ายสีขาวและมีเมล็ดเล็กสีดำประกอบอยู่ภายใน

ความเชื่อปลูกต้นสุพรรณิการ์ไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะต้นสุพรรณิการ์โบราณเรียกว่า ต้นปาริชาติ คือ ดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกไว้ตามวิหารของพระเจ้าในสมัยพุทธกาล นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า เป็นต้นไม้ที่มีค่าสูงเปรียบเสมือนทองคำ เพราะต้นสุพรรณิการ์ บางคนเรียกว่า ต้นฝ้ายคำ ซึ่งดอกมีสีเหลืองทองคำ ชูช่อสู่ฟ้า ดุจอันเบิกบานตระการตา คนทั่วไปจึงยกย่องสรรเสริญว่าเป็นดอกไม้คู่ฟ้า ดังนั้นจึงเป็นไม้มงคลนาม ควรปลูกไว้ทางทิศใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกในปีระกา เพราะเป็นต้นไม้ประจำปีระกา ถ้าผู้อาศัยในบ้านเกิดในปีระกาด้วยแล้วก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
สวนรุกชาติเขาสวนกวาง
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านโคกสว่าง
ตำบล คำม่วง อำเภอ เขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายโชคชัย เปลือยศรี หน.สวนรุกขชาติเขาสวนกวาง โทร. 081 6616699
บุคคลอ้างอิง สมเกียรติ จันทะสอน อีเมล์ somkiat735@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเขาสวนกวาง
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านทางพาด ถนน มิตรภาพ
ตำบล คำม่วง อำเภอ เขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40280
โทรศัพท์ 081 8747112
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่