ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 30' 58.8895"
17.5163582
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 3' 57.6223"
104.0660062
เลขที่ : 157970
ชันโรงหรือแมงขี้สูด
เสนอโดย นครพนม วันที่ 13 กันยายน 2555
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 13 กันยายน 2555
จังหวัด : นครพนม
0 1763
รายละเอียด

ชันโรงหรือแมงขี้สูดคือ ผึ้งชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นของไทยมานานแล้วโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นขึ้สูด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) การเลี้ยงชันโรง เพื่อเก็บน้ำผึ้งและไขผึ้งมีมานานแล้ววิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมคนพื้นเมืองจะตัดต้นไม้ที่มีรังชันโรงอยู่ภายในมาเลี้ยงบริเวณบ้าน ง่ายต่อการจัดการเพราะไม่มีเหล็กในจึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก น้ำผึ้งของชันโรงจะมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนำไปใช้เป็นยาได้ ราคาจึงแพงกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์ถึง3เท่า

นอกจากนี้ชันโรงยังมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรพืชป่า ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และคงอยู่ได้ตลอดไปแล้ว ชาวบ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จะนำไขผึ้งหรือชาวบ้านเรียกว่าขี้สูด มาใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องดนตรี ประเภท แคน แลโหวด เช่นการนำขี้สูดอุดรอยรั่วระหว่าเต้าแคนกับลูกแคน ทำให้ไม่มีรอยรั่วและทำให้ลูกแคนและเต้าแคนติดกันแน่นและนำไปติดหัวโหวดเพื่อทำปิดรอยรั่วและใช้สำหรับเป็นที่รองเป่าของโหวด ดังนั้น ขี้สูดถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าและราคาแพงสำหรับพี่น้องบ้านท่าเรือ ที่ยึดอาชีพในการผลิและจำหน่ายเครื่องดนตรีอีสาน

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าเรือ
ตำบล ท่าเรือ อำเภอ นาหว้า จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
บุคคลอ้างอิง นายสุริยา ธำรงวงศ์วิทย์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ถนน อภิบาลบัญชา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 042516050 โทรสาร 042516187
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่