ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 14' 51.1213"
14.2475337
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 36' 18.401"
100.6051114
เลขที่ : 159214
โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอิน
เสนอโดย anong123 วันที่ 20 กันยายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 กันยายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 3400
รายละเอียด

ประวัติโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนิเวศธรรมประวัติ

โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนิเวศธรรมประวัติเรียกได้ว่าเป็นสำนักเรียนที่เก่าแก่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ได้จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนในระดับท้องถิ่นของอำเภอบางปะอินเมื่อประมาณร้อยกว่าปีก่อนใน ปีพ.ศ.๒๔๒๖ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง เพื่อตอบสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีเจ้านายมาประทับที่วัดนี้บ้างพระอาจารย์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพคือพระอมราภิรักขิตเจ้าอาวาสองค์แรก ที่วัดนิเวศฯแห่งนี้ ในสมัยที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทับอยู่ที่วัด พระองค์ได้ทรงเปิดโรงเรียนสอนหนังสือเด็กขึ้นที่วัด ซึ่งเป็นผลให้ทรงพระราชนิพนธ์ตำรา“แบบเรียนเร็วเล่ม๑” เพื่อใช้สอนนักเรียนที่โรงเรียนของวัดเป็นครั้งแรก

โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดนิเวศธรรมประวัติในสมัยพระธรรมบัณฑิตขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระญาณดิลกเจ้าอาวาสองค์ที่๖ ได้มีดำริว่าโรงเรียนวัดนิเวศธรรมประวัติซึ่งมีนักเรียนอยู่เดิม ได้ย้ายข้ามฟากไปสร้างใหม่ และใช้นามว่า“โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์๑”

อนึ่ง อาคารเรียน๒หลังเก่า ซึ่งอยู่นอกกำแพงรั้วเหล็กถูกทอดทิ้งว่างเปล่า ไม่ได้ใช้งานอยู่เป็นเวลานานควรจะใช้ประโยชน์ในการศึกษา เพื่อให้ความรู้แก่กุลบุตรผู้ต้องการความรู้ แต่ไม่มีโอกาส

เพราะอยู่ในชนบทที่ห่างไกลและขัดสน ประกอบกับกรมการศาสนามีนโยบายให้วัดต่างๆจัดตั้งโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาให้แก่พระภิกษุและสามเณรโดยไม่คิดมูลค่า

ดังนั้นพระธรรมบัณฑิตซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระญาณดิลก ร่วมกับคณะบรรพชิต และฆราวาสที่ร่วมกันก่อตั้งในยุคนั้นได้แก่

บรรพชิต

พระญาณดิลก (ทองใส กตธุโร) ป.ธ. ๔)

พรระครูวุฒิสารคุณาภรณ์(สำเภา ติสาโร ป.ธ. ๓)

พระครูปริยัติธาดา(ประยุทธ์ พุทฺธิญาโณป.ธ. ๓)

พระมหาสงคราม (นายสงคราม มังคละแสน)

พระมหาไพฑูรย์ สิริธโร

ฆราวาส

นายพยอม พายุคีรี (ไวยาวัฏจกร)

นายเปรื่อง พงษ์ศักดิ์

จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้น และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ตามใบอนุญาตของกรมการศาสนาเลขที่๒๓/๒๕๑๕ ลงวันที่๑๐เมษายน๒๕๑๕ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงเปิดรับนักเรียนที่เป็นพระภิกษุสามเณรซึ่งมีอยู่แล้ว จำนวน๔๓ รูปเปิดทำการสอนในชั้นประถมปีที่๕เป็นปีแรก เมื่อวันที่๑๗พฤษภาคม๒๕๑๕ ในขณะที่โรงเรียนยังไม่มีอุปกรณ์อะไรแม้แต่โต๊ะที่จะให้นักเรียนได้นั่งเรียน ทั้งครูอาจารย์และนักเรียนต้องช่วยกันทำกระดานต่อเป็นโต๊ะและม้านั่งยาวตลอด และได้เริ่มประชาสัมพันธ์แก่พุทธบริษัทผู้มีศรัทธา ในการจัดการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร เป็นวิทยาทานนับว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพุทธศาสนิกชน ทั้งในด้านการอุดหนุนทุนทรัพย์และกำลังกาย กำลังความรู้ความสามารถคณะครูอาจารย์และวิทยากรพิเศษแม้จะอยู่ห่างไกลถึงกรุงเทพฯ ก็ยินดีมาทำการถวายความรู้แก่พระภิกษุสามเณร โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แม้กระทั่งค่าพาหนะในการเดินทางไปและกลับ เพราะทุกท่านทราบดีว่าทางวัดไม่มีทุนเลย ในขณะนั้นและเป็นเช่นนี้เรื่อยมาเป็นเวลากว่าสิบปี ซึ่งคณาจารย์ในยุคแรกๆนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้

อาจารย์อ่องศรี ไชยนันท์ เป็นหัวหน้าคณาจารย์จากโรงเรียนราชินีบนกรุงเทพฯพร้อมกับ

อาจารย์สิริวรรณ สัมภวผล

อาจารย์กนิษฐา คุ้มวนิช

อาจารย์อรวรรณ สัจจวีรวรรณ

อาจารย์สมพร สิทธิคง

อาจารย์วาณี พุ่มแสง

อาจารย์อรอนงค์ จิตรศิลป์

นอกจากอาจารย์จากโรงเรียนราชินีบนแล้ว ยังมีคณะอาจารย์จากโรงเรียนปราสาททอง คณะอาจารย์จากโรงเรียนบางปะอิน“ราชานุเคราะห์๑” คณะอาจารย์จากโรงเรียนวัดชุมพล ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาท่านอื่นอีกด้วย

นับแต่ทางโรงเรียนได้เปิดทำการสอนแล้วนักเรียนได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นทางด้านทิศเหนือของโรงเรียนเดิม เป็นอาคาร2 ชั้น เพื่อจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างได้รับการสนับสนุนจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงสิริรัตน์บุษบงษ์ ดิศกุล ม.จ.มารยาตรกัญญา ดิศกุล ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล ม.จ.กุมารีเฉลิมลักษณ์ จิตรพงษ์คุณเอกชัย กรรณสูตร นายแพทย์ชัย -ม.ร.ว.พรรณจิตร กรรณสูตรและประชาชนโดยทั่วไป

โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนิเวศธรรมประวัติแห่งนี้ได้เปิดทำการเรียนการสอนใน๓สายการศึกษาได้แก่ หลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติแผนกสามัญศึกษาโดยทั่วไปคือสายบาลีสายนักธรรมและสายสามัญ นักเรียนที่เรียนอยู่ในวัดล้วนเป็นพระภิกษุและสามเณร ทั้งสิ้นและต้องเรียนทั้ง๓สายการศึกษา เพื่อที่นักเรียนจะได้มีความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรมควบคู่กันไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหลักของการจัดการศึกษาที่ต้องการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กไทยในอีกลักษณะหนึ่งด้วย

ใน ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ โรงเรียนได้เริ่มขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ขึ้นและเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔ เป็นปีแรกในปีถัดมาจึงได้เปิดสอนในระดับชั้นม.๕ และม.๖เรื่อยมา

ใน ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ วัดนิเวศธรรมประวัติเห็นว่าอาคารเรียนหลังเก่าเริ่มทรุดโทรมลงไปมาก ตามกาลเวลาและจำนวนนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อใช้รองรับกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น เป็นอาคารเรียน๒ ชั้น ซึ่งได้รับการออกแบบก่อสร้างโดย

คุณกนก เดชาวาสน์และพระสาโรช ปสนฺนจิตฺโต(ฐิติเกียรติพงศ์) และก่อสร้างแล้วเสร็จ ประมาณกลางปีเดียวกันและในปีเดียวกันนี้เองเมื่อวันที่๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้เสด็จมาเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ นับว่าเป็นสิ่งที่สร้างความปลาบปลื้มยินดีแก่ผู้มีจิตศรัทธารวมทั้งพสกนิกรบางปะอินที่มารอรับเสด็จเป็นอย่างยิ่ง

ด้านความเป็นอยู่

การอยู่อาศัยของพระภิกษุและสามเณรที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดนิเวศธรรมประวัติ แห่งนี้ มีการเข้าพักอาศัยตามกุฏิที่พักต่างๆ ตามที่วัดจัดให้และการฉันอาหารตามอย่างวิสัยของพระภิกษุสามเณรที่มีศีลาจารวัตรเป็นกรอบให้ประพฤติปฏิบัติ

สภาพปัจจุบัน

โรงเรียนปัจจุบัน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่บนเกาะลอย เลขที่ ๖๐ หมู่ ๑๒ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ที่ใช้เป็นโรงเรียนประมาณ ๑๐ ไร่ เศษ ตั้งอยู่บนเกาะลอย ด้านฝั่งตะวันตกของพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ วัดนิเวศธรรมประวัติ ของเนื้อที่ทั้งหมด เปิดสอน ๖ ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด ๑๒๘ รูป และมีครูที่เป็นครูประจำ และครูพิเศษ รวม ๒๓ รูป/ คน

ปรัชญาโรงเรียน

นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา

ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

คำขวัญโรงเรียน

เคารพพระธรรมวินัย ตั้งใจศึกษา มีกตัญญูกตเวทิตา

ปัจจุบันมี พระอาจารย์พระจักพงษ์ อภิชาโต เป็นอาจารย์ใหญ่

สถานที่ตั้ง
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
เลขที่ ๖๐ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๒ ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านเลน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระจักพงษ์ อภิชาโต อาจารย์ใหญ่
บุคคลอ้างอิง anong ananrattanasuk อีเมล์ anong_anan@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบางปะอิน
เลขที่ ๑๑/๑๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๑ ซอย - ถนน บางปะอิน - บางไทร
ตำบล บ้านเลน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13160
โทรศัพท์ 035 261001
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่