ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 27' 24.593"
15.4568314
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 2' 23.4064"
104.0398351
เลขที่ : 161134
ประวัติบ้านหนองบัวดง
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 26 กันยายน 2555
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 1418
รายละเอียด

บ้านหนองบัวดงก่อนที่จะเรียกว่า หนองบัวดง นั้น เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วได้มีราษฎรอพยพมาจากบ้านหนองจอก ตำบลสามขา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และจากบ้านเหล่าโดน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาตั้งรกราก ณ หมู่บ้านแห่งนี้ โดยการนำของ นายขุนนาม เกษสร นายเอม สิมาฉายา นายอ้วน เกษสร โดยอยู่ในเขตปกครองของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาย้ายมาขึ้นกับตำบลด่าน อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้แยกการปกครองออกจากตำบลด่าน มาเป็นตำบลหนองบัวดง อำเภอราศีไศล และในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้แยกการปกครองมาขึ้นกับกิ่งอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า หนองบัวดง เนื่องจากบ้านหนองบัวดง มีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งชื่อหมู่บ้านเพราะมีหนองน้ำขนาดใหญ่และในหนองน้ำมีบัวหลวงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และรอบ ๆ หนองน้ำนั้นมีป่าไม้ล้อมรอบ ซึ่งเหมาะแก่การทำมาหากิน และเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ สมเด็จพระโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร โดยเสด็จพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เยี่ยมราษฎรชาวอำเภอศิลาลาด (ขณะนั้นเป็นกิ่งอำเภอศิลาลาด) ณ โรงเรียนศิลาลาดวิทยา ทรงเสด็จพระราชดำเนินรับทราบปัญหาแหล่งน้ำในเขตตำบลหนองบัวดง ได้แก่ หนองบัวดง หนองเม็ก

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 /บ้านหนองบัวดง
ตำบล หนองบัวดง อำเภอ ศิลาลาด จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
ถนน เทพา
ตำบล เมืองเหนือ อำเภอ เมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33000
โทรศัพท์ 045-617811-12 โทรสาร 045-617812
เว็บไซต์ https://sisaket.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่