ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 49' 40.517"
15.8279214
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 12.2473"
100.0700687
เลขที่ : 167881
แหวนถักพิรอด
เสนอโดย สมชาย บัวลง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : นครสวรรค์
0 1187
รายละเอียด

แหวนถักพิรอด

ความเป็นมา

แหวนถักพิรอดเป็นเครื่องรางของขลัง เป็นความเชื่อและศรัทธาของคนไทย ตั้งแต่ครั้งโบราณ คำว่า“รอด”นั้นคนไทยถือว่าเป็นมงคล คือ รอดจากอันตรายแคล้วคลาด รอดจากความพินาศ และคำว่าพิรอด จึงมีความสำคัญซึ่งเป็นเครื่องรางของคนไทย พระคณาจารย์ต่างๆ ได้นำเอาเงื่อนพิรอดนั้นมาถักเป็นรูปแหวน ใช้สวมนิ้วและสวมแขนทำจากด้ายกระดาษสาหรือผ้าตราสังศพแล้วนำมาแผ่เป็นริ้วลงคาถาอักขระปลุกเสกกำกับ เรียกกันว่า“แหวนพิรอด”บางท่านทำเป็นยอดแหลม ๓ ยอด ๕ ยอด ๙ ยอดเมื่อปลุกเสกดีแล้ว นำแหวนพิรอดใส่ในเตาอั้งโล่ที่มีถ่านลุกโชน วงไหนไม่ ไหม้จึงจะใช้ได้นำมาลงรักปิดทอง ด้วยเหตุที่ไม่ไหม้ไฟนั้น จึงเป็นของดี สำหรับแหวนหลวงพ่อเฮงนั้น ทำด้วยด้ายและผ้าดิบลงอักขระคาถา จำนวนสร้างมีน้อย ปัจจุบัน เช่าหากันในราคาหลักหมื่นบาท และหายากแล้ว

วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด

แหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก
ชนิดของแหวนพิรอด

ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า "สนับแขนพิรอด"

ความเชื่อ

มีความเชื่อทางคงกระพัน มหาอุดและกันเขี้ยวงา

สถานที่ตั้ง
วัดเขาดินใต้
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเขาดิน
ตำบล เขาดิน อำเภอ เก้าเลี้ยว จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสืออำเภอเก้าเลี้ยว
บุคคลอ้างอิง สมชาย บัวลง อีเมล์ sbsb18@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเก้าเลี้ยว
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเก้าเลี้ยว
ตำบล เก้าเลี้ยว อำเภอ เก้าเลี้ยว จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60230
โทรศัพท์ 08 1874 2319
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สมชาย บัวลง 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 21:26
แก้ไขแล้วครับ



นครสวรรค์ 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:05
ขอภาพหน้าหลักใหม่ ของเก่าไม่ชัดเจน รายละเอียดข้อมูลสมบูรณ์แล้ว
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่