ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 8' 59.9575"
15.1499882
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 15' 49.9666"
105.2638796
เลขที่ : 170169
กลองมโหระทึกสำริด วัดทุ่งนาเจริญนอก
เสนอโดย champ045 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 496
รายละเอียด

จากการสำรวจของสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ได้ตรวจสอบการพบกลองมโหระทึกสำริด ณ บ้านดอนจิก ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จากการขุดพบโดยบังเอิญจากการไถปรับพื้นที่นา ของนายสนิท แฝงโกฏิ เมื่อปี วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดทุ่งนาเจริญนอก ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระอธิการหนูต่วน หาสุจิตโต เป็นเจ้าอาวาสวัดเป็นผู้เก็บรักษา

กลองมโหระทึกสำริดวัดทุ่งนาเจริญนอก กำหนดอายุโดยการเปรียบเทียมได้ค่าอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว นับเป็นกลองมโหระทึกใบที่ ๒ ที่พบในจังหวัดอุบลราชธานี ถัดจากที่พบที่บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จึงจัดเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของประเทศไทย

สภาพกลองมโหระทึกที่พบวางในลักษณะคว่ำหน้าลงบนแท่นโครงเหล็กและมีกุญแจล่ามไว้ โดยพบในที่บริเวณที่นาของ นางคนึงนิจ แฝงโกฎิ อยู่บ้านเลขที่ ๑๙๑ บ้านบุ่งคำ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยนายสนิท แฝงโกฏิ ได้นำรถแทร็คเตอร์ไถปรับพื้นที่นา รถไถไปถูกกลองมโหระทึกสำริดเข้าจึงหยุดไถ ในเบื้องแรกนายสนิทฯ เข้าใจว่าเป็นหม้อน้ำ ๔ หู เนื่องจากส่วนขอบฐานมีรอยบิ่น และภายในกลวงจึงคิดว่าเป็นหม้อขนาดใหญ่ จึงนำไปฝากไว้กับพระอธิการหนู ต่วน เจ้าอาวาสวัดทุ่งนาเจริญนอก เก็บรักษา

ลักษณะกลองมโหระทึก ที่พบ สภาพชำรุด ด้านข้างตอนบนของตัวกลองมีรู สันนิฐานว่าเป็นรอยที่เกิดจากการหล่อ ส่วนหูกลองเชื่อมติดหลังจากการหล่อกลองทั้งใบแล้ว มีขนาดเส้นผ้าศูนย์กลางหน้ากลอง ๕๔.๔ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงหน้ากลอง ๔๑ เซนติเมตร ส่วนลำตัวที่กว้างที่สุด ๖๒ เซนติเมตร ตัวกลองมีความหนา ๐.๑ เซนติเมตร

รูปทรงกลองมโหระทึก ส่วนห้ากลองแบนเรียบ ประดับลวดลายตรงกลางเป็นลายดาว ๑๒ แฉก ระหว่างแฉกมีลายกรอบสามเหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น ตรงกลางมีจุดวงกลม ล้อมรอบด้วยวงกลมมีลายจุดไข่ปลา ถัดออกมาทำลายวงกลมเป็นแถวเชื่อมทแยง แถวลายประแจจีน แถวลายวงกลมเชื่อด้วยเส้นทแยง แถวลายจุดไข่ปลาและวงกลมล้อมรอบอีก ๑ เส้น ต่อมาเป็นลายวงกลมล้อมรอบ ๓ เส้น ต่อด้วยลายนำบินทวนเข็มนาฬิกา ลายซี่หวี ลายวงกลมเชื่อด้วยเส้นทแยง และลายซี่หวี

ตัวกลองนูนออกและสอบลงเป็นทรงกระบอกและบานออกตรงส่วนฐาน (ส่วนฐานชำรุด) ด้านข้างส่วนตัวกลองตกแต่งด้วยลายเส้นตรงในแนวนอน ๑ เส้น ลายซี่หวี ลายวงกลมเชื่อมด้วยเส้นทแยง ลายซี่หวี และลายเส้นตรงในแนวนอน ๑ เส้น คั่นด้วยพื้นที่ว่างและลายเส้นตรงในแนวนอน จำนวน ๓ เส้น บริเวณนี้มีหูกลองหล่อติดอยู่เป็นคู่ ตกแต่งด้วยลวดลายเกลียวเชือก จำนวน ๔ คู่ โดยรอบ ถัดลงมาตกแต่งลวดลายในแนวตั้ง ประกอบด้วยลายเส้นเฉียง ๑ คู่ คั่นด้วยลายวงกลมเชื่อมด้วยเส้นทแยง ๑ แนว สลับกับพื้นที่ว่างบนตัวกลอง ตอนล่างตัวกลอิงมีการตกแต่งลายเช่นเดียวกับตอนบน คือตกแต่งด้วยเส้นตรงในแนวนอน ๑ เส้น ลายซี่หวี ลายวงกลมเชื่อมด้วยเส้นทแยง ลายซี่หวี และลายเส้นตรงในแนวนอน ๑ เส้น ส่วนฐานกลางไม่ตกแต่งลวดลาย

การกำหนดอายุ จากลักษณะและลวดลายของกลองมโหระทึกสำริดที่วัดทุ่งนาเจริญนอก มีลักษณะของการยึดแบบแผนเดิมในการตกแต่งลวดลาย อาทิ ลายดาว ลายซี่หวี ลายแววงกลมเชื่อมด้วยเส้นทแยง และลายนกบิน ลองมโหระทึกใบนี้อาจใช้ในพิธีกรรมความเชื่อในยุคโลหะ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว

สถานที่ตั้ง
วัดทุ่งนาเจริญนอก
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๖ บ้านนาเจริญ
ตำบล ดอนจิก อำเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางวันทอง ไกรยรัตน์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่