พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์พระนามเดิมพระองค์เจ้าชุมพลสมโภชพระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและองค์ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 ทรงเป็นต้นราชสกุล"ชุมพล"
พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและด้านช่าง ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์(เอดเดอแกมป์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2427 ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่งใน พ.ศ. 2436พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ข้าหลวงต่างพระองค์นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าข้าหลวง ข้าหลวงพิเศษอุปราชหรือสมุหเทศาภิบาล เพราะคำว่า "ต่างพระองค์" มีความหมาย "ต่างพระเนตรพระกรรณ" และสำเร็จราชการ ก็มีความหมายถึง "ความสำเร็จเด็ดขาดที่ได้รับมอบจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน" อันได้แก่ "การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร คือความสมบูรณ์พูนสุขอยู่ดีกินดี" ตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์นี้เท่าที่ปรากฏทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยเป็นมณฑลอีสาน ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานียโสธรอำนาจเจริญสุรินทร์ศรีสะเกษร้อยเอ็ดมหาสารคามนครจำปาศักดิ์และกาฬสินธุ์และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2436 โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทรงค้นพบประสาทพระวิหารบนผาเป้ยตาดี จังหวัดศรีสะเกษ และได้ทรงจารึก ร.ศ. ที่พบ และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี มีข้อความว่า "118 สรรพสิทธิ"
พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า 17 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงชราและมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์ กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 รวมพระชนมายุได้ 65 พรรษา
[แก้]พระโอรส-ธิดากรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ทรงมีพระโอรส พระธิดาทั้งหมดรวม 12 พระองค์ สิ้นชีพิตักษัยในวัยเยาว์ 3 พระองค์
[แก้]หม่อมเจริญ[แก้]หม่อมเจียงคำหม่อมเจียงคำเป็นบุตรีของท้าวสุรินทรชมภู หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี
[แก้]หม่อมบุญยืนหม่อมบุญยืนเป็นบุตรีในท้าวไชยบุตร หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี
[แก้]หม่อมคำเมียง[แก้]หม่อมปุก[แก้]อ้างอิง