ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 51' 16.25"
15.8545139
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 15' 59.832"
105.2666200
เลขที่ : 175047
ตะกร้าไม้ไผ่
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 1 มกราคม 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 14 มกราคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
3 13354
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา การสานตะกร้าได้มีการสานมาเป็นเวลายาวนานแล้วคนสมัยก่อนนั้นตะกร้าถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็น คนสมัยก่อนสานตะกร้าเอาไว้ใช้แค่ภายในครอบครัว แต่ในปัจจุบันการสานตะกร้าถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับผู้สานหลังจากการทำการเกษตรเสร็จสิ้นลง เพราะในปัจจุบันได้มีการสานตะกร้าเพื่อเป็นรายได้เสริม ราคาของตะกร้าจะขึ้นอยู่กับขนาดของตะกร้า ใบเล็กจะมีราคา ๔๐ บาท ใบใหญ่จะมีราคา ๖๐ บาท การสานตะกร้าจะมีการสานอยู่ลายเดียว คือ ลายสอง (ลายขัด) รูปทรงของตะกร้าจะมีทรงกลมมนก้นของตะกร้าเป็นสี่เหลี่ยม มีไม้ขัดกันไว้ ๒ อัน ไม้ที่นำมาสานนั้นจะเป็นไม้ไผ่ จะมีลักษณะคล้ายไม้ไผ่แต่ไม้บงจะมีลักษณะเล็กกว่าไม่ไผ่ สาเหตุที่นำไม้บงมาสานตะกร้านั้น คือ ทนแดด ทนฝน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีความคงทนแข็งแรง สามารถใส่ของหนักได้ สามารถนำมาใส่อาหารในเวลาที่ออกไปทำการเกษตรได้ ใส่ผัก ใช้ใส่ในเวลาหาของป่าได้เช่นเดียวกัน

วัสดุอุปกรณ์มี มีด ครีมขดลวด

วัตถุดิบ ไม้ไผ่ เชือกมัดของ

ขั้นตอนการผลิต

๑) นำไม้บงมาเหลาเอาเปลือกออก เสร็จแล้วผ่าเป็นชิ้น ผาเสร็จแล้วนำไม่มาเหลาให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งเพื่อป้องกันการโดนบาดมือ เมื่อเสร็จแล้วก็นำไม้ที่เหลามาผ่าอีกครั้งก็จะได้ไม้สำหรับสารตะกร้าหรือที่เรียกว่า “ไม้ตอก” นั่นเอง

๒) อันดับแรกในการสานตะกร้าต้องเริ่มจากก้นของตะกร้าก่อน โดยนำไม้ ๒ อัน มาขัดให้เป็นกากบาท เสร็จแล้วก็เริ่มสารได้เลย

๓) เราเริ่มสานจากก้นของตะกร้าขึ้นขึ้นมาเรื่อยๆโดยใช้ไม้ตอกที่เราเหลาไว้นำมาสานการสานตะกร้ามีการสานลายเดียว คือ ลายสอง (ยกสอง-ลงสอง)

๔) สานขึ้นเรื่อยๆจนได้ตะกร้าทรงสูงตามขนาดที่กำหนดแล้ว ขั้นตอนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ คือ การม้วนปากของตะกร้า สาเหตุที่ต้องม้วนเพราะ ป้องกันการบาดมือจากไม้ตอกที่เราสานตะกร้า

๕) การม้วนปากตะกร้าเราก็จะม้วนให้ไม้ตอกบิดเข้าหากันดังภาพ จากนั้นม้วนไม้ตอกไปเรื่อยๆจนรอบปากของตะกร้าก็เป็นอันเสร็จสิ้นการม้วน หลังจากสานเสร็จแล้วก็จะทำหูตะกร้าโดยนำเชือกมัดของมาถักเข้ากับลายตะกร้าด้านบน(ตรงปากของตะกร้า) และสุดท้ายก็นำเชือกมัดของมาทำเป็นสายสะพายก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

การจำหน่ายในการจัดจำหน่ายตะกร้า ส่วนใหญ่จะมีราแตกต่างกัน ใบใหญ่จะมีราคา ๖๐ บาท ใบเล็กจะมีราคา ๔๐ บาท ผู้ซื้อส่วนใหญ่จะเป็นคนในหมู่บ้านที่ต้องการตะกร้าเอาไว้ใช้

ประโยชน์- ใช้ใส่สิ่งของเครื่องใช้ เช่น จาน ชาม หม้อ เป็นต้น ใช่ใส่อาหารเวลาออกไปทำการเกษตร ทนต่อความร้อน แดด ฝน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ความสำเร็จ ประสบความสำเร็จในด้านการมีอาชีพเสริมสารตะกร้ามายาวนาน

การพัฒนาคุณภาพ พัฒนาจากการสานตะกร้าไม้ไผ่ เพื่อให้มีความสวยงามของตะกร้ามากขึ้นและพัฒนาให้เป็นสินค้าประจำหมู่บ้าน

สถานที่ตั้ง
บ้านสร้างสะแบง
เลขที่ 51 หมู่ที่/หมู่บ้าน 10 บ้านสร้างสะแบง
ตำบล ม่วงใหญ่ อำเภอ โพธิ์ไทร จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายหนูกร กล้าหาญ
บุคคลอ้างอิง นางสมหวัง บุญมา อีเมล์ somwang267@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอโพธิ์ไทร
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านโพธิ์ไทร
ตำบล โพธิ์ไทร อำเภอ โพธิ์ไทร จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34340
โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๗๙๕๔๑๓ โทรสาร ๐๔๕-๔๙๖๐๔๘
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่