ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 15' 30.1028"
15.2583619
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 2' 7.9771"
105.0355492
เลขที่ : 178248
สมุนไพรรางแดง
เสนอโดย noy วันที่ 31 มกราคม 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1218
รายละเอียด

รางแดง'(Ventilago denticulate) เป็น พันธุ์ไม้เถาเลื้อย ลักษณะของเถาเป็นสีเทาแตกออกเป็นร่องสีชมพูอมแดง ชาวไทยโบราณนิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาและบำรุงร่างกายกันมานานนับศตวรรษ โดยใช้ส่วนใบและเถาเป็นหลักในการปรุงตัวยาขนานต่างๆ ปัจจุบันความรู้พื้นบ้านเหล่านี้ตกทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน หลายคนประจักษ์ถึงสรรพคุณมากค่าจากไม้เถาชนิดนี้ จนนำมาแปรรูปกินดื่มตามแต่จะชอบ

-รางแดงนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 'เถาวัลย์เหล็ก''ย่านอีเหล็ก''แสงพระอาทิตย์''ก้องแกบ''หนามหัน' หรือ 'ทรงแดง'เป็นต้น

สรรพคุณ 'รางแดง'

ใบ มีรสเย็น นำมาคั่วหรือเผาไฟให้แห้งแล้วชงผสมน้ำอุ่นดื่มเป็นน้ำชา เรียกว่า 'ชารางแดง' นอก จากจะช่วยให้ชุ่มคอแล้ว ยังมีฤทธิ์สำคัญช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเรสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ด้วยเหตุนี้บางคนจึงนิยมดื่มชารางแดงเพื่อลดน้ำหนักเพราะช่วยเผาผลาญไขมัน ให้ออกมาในรูปเหงื่อและปัสสาวะ นอกจากนี้ยังช่วยคลายความเมื่อยล้าจากอาการตึงของเส้นเอ็นอีกด้วย

เถารสจืดเย็น นำมาหั่นเป็นท่อน ตากแดด แล้วนำไปต้มน้ำดื่มหรือดองเหล้าขาว จะมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงร่างกาย รักษาแก้โรคกษัยเส้น คลายความปวดเมื่อย ช่วยขับปัสสาวะและเหงื่อ สำหรับผู้ที่ผอมแห้งและรับประทานอาหารได้น้อยจะช่วยบำรุงร่างกายให้เจริญ อาหารมากขึ้น

- ตามตำราแพทย์แผนโบราณนั้นอาการ 'กษัยเส้น'คืออาการปวดเมื่อยหรือเจ็บปวดที่มีสาเหตุมาจากการตึงยึดของเส้นเอ็นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย

คำสำคัญ
สมุนไพร
สถานที่ตั้ง
บ้านดอนพอก
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านดอนพอก
ตำบล บุ่งมะแลง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสายทอง ผลาศัย
บุคคลอ้างอิง นายสายทอง ผลาศัย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสว่างวีระวงศ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านดอนพอก
ตำบล บุ่งมะแลง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34190
โทรศัพท์ 045202191
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่