วัดป่าสักพัฒนา
ประวัติวัดป่าสักพัฒนาตั้งอยู่เลขที่ 227บ้านสักใต้หมู่ที่ 10ตำบลป่าแดด
อำเภอป่าแดดจังหวัดเชียงรายสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายธรณีวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 74 ตารางวา
นส. 3เลขที่ 264อาณาเขตทิศเหนือยาวประมารณ 3 เส้น 2วา 2 ศอกติดที่ดินของราษฎรทิศใต้ยาวประมาณ 2 เส้น 26 วา 2 ศอกติดที่ดินโรงเรียนบ้านสักพัฒนาทิศตะวัดตกยาวประมาณ 1 เส้น 14 วา 2 ศอกติดสวนเกษตรโรงเรียนบ้านสักพัฒนาติดตะวันออกถนนธารณะอาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถกุฏิวิหารและศาลาบำเพ็ญกุศลปูชนียวัตถุโบราณมีพระพุทธรูปทองเหลืองและพระพุทธรูปปูนปั้นวัดป่าสักพัฒนา( จากตำนานโดยการบันทึกขององศ์ครูบาศรีวิชัยณวัดหอพระเชียงใหม่ )กล่าวว่าวัดป่าสักสร้างขึ้นเมื่อป่า พ.ศ. 1929โดยแรกเริ่มได้มีราษฎรมาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บริเวณวัดในขณะนั้นได้มีพระยาคีรีเป็นเจ้าครองเมืองอยู่มาวันหนึ่งได้มีพรานป่านำหงส์ 2 ตัวมาถวายพระยาคีรีพระยาคีรีได้รับหงส์ 2 ตัวนั้นมาเลี้ยงดูไว้เป็นหงส์สื่อสารโดยปล่อยให้หงส์เล่นน้ำในสระบัวเป็นประจำอยู่มาวันหนึ่งในขณะที่หงส์กำลังออกไข่ข้างสระบัวนั้นได้มีเหยี่ยวรุ้งตัวใหญ่เข้ามาจิกตีหงส์ทั้ง 2 ตัวตายอยู่ข้างสระบัวนั้นเองเพื่อเป็นการระลึกหงส์ที่ตายไปพระยาคีรีจึงโปรดให้ช่างทำการหล่อรูปหงส์ 2 ตัวใส่กรงทองไว้ต่อมาพระยาคีรีได้นำชาวบ้านมาช่วยกันสร้างวัดและสร้างพระธาตุครอบรูปหงส์ไว้โดยเรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า“พระธาตุกรงนก”และตั้งชื่อวัดนี้ว่า“วัดนางนก”ที่หน้าวัดได้สร้างประตุโขงโดยหล่อเป็นรูปนางนกไว้สองข้างประตูต่อมาในปีพ.ศ. 2325ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ต่อมาได้มีราษฎรจากถิ่นอื่นมาอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดนางนกเป็น“วัดศรีเมืองชุม”อยู่มาไม้นานเกิดมีการทำมาหากินลำบากราษฎรต่างอพยพไปออยู่ถิ่นอื่นจึงทำให้วัดขาดการบูรณปฏิสังขรณ์จนผุพังกลายเป็นวัดร้างจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2469ประชาชนได้อพยพมาอยู่ใหม่จึงได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นมาอีกครั้งและตั้งชื่อใหม่ว่า“วัดป่าสัก”ตามชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบันบ้านป่าสักแบ่งกายปกครองหมู่บ้านออกเป็น 3 หมู่บ้านโดยมีหมู่บ้านหลักคือบ้านสักพัฒนาจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่“วัดป่าสักพัฒนา”
วัดป่าสักพัมนาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2475เขต
วิสุงคามสีมากว้างประมาณ 40 เมตรยาว 80 เมตรการบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 10 รูปปัจจุบันวัดป่าสักพัฒนามีพระจำพรรษา 4 รูปสามเณร 4 รูปมีพระอธิการทองอินทร์ปัญญาธโรเป็นเจ้าอาวาส