ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 13' 30.0245"
19.2250068
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 32.81"
99.9591139
เลขที่ : 181743
พระครูโสภณปริยัติสุธี เจ้าคณะอำเภอภูกามยาว
เสนอโดย cat วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย พะเยา วันที่ 6 มีนาคม 2556
จังหวัด : พะเยา
1 2794
รายละเอียด

พระครูโสภณปริยัติสุธี(ศรีบรรดร ถิรธมฺโม) ผศ.ดร.

วุฒิการศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ร.บ.,MP.A., ร.ม., ปร.ด.

เกิดวันที่ ๒ เดือน มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ภูมิลำเนาบ้านถ้ำ ตำบลบ้านถ้ำ

อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ๕๖๑๒๐

ชื่อบิดาชื่อบิดา นายจันทร์ ไชยะวุฑฒิกุลชื่อมารดานางตอง ไชยะวุฑฒิกุล

บรรพชาวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๔ ณ วัดสุวรรณคูหา ตำบลบ้านถ้ำ

อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยมีพระครูญาณวุฒิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบทวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ณ วัดสุวรรณคูหา ตำบลบ้านถ้ำ

อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยมีพระมงคลวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสิริวรนารถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวิชัย ปภากโร เป็นอนุสาวนาจารย์

ที่อยู่วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ๕๖๐๐๐

โทรศัพท์มือถือ ๐๘-๙๘๕๕-๔๘๙๖ โทรสาร และเบอร์สถานที่ทำงาน ๐-๕๔๔๘-๒๘๗๖

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอภูกามยาว

- เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขตพะเยา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

-ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ประวัติการศึกษา

๑.การศึกษาสายสามัญ

-ระดับประถมศึกษา ๑-๖โรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๒๓

-ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพินิตประสาธน์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๙

-ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๕๓๔-

๒๕๓๗

-ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๐ และ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๓

-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๑

-ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔

๒.การศึกษาสายธรรม

-นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดศรีอุโมงค์คำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พ.ศ.๒๕๒๙

-เปรียญธรรม ๖ ประโยค สำนักเรียนวัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พ.ศ.๒๕๓๖

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔ เป็นครูผู้สอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ประจำจังหวัดพะเยา

พ.ศ. ๒๕๓๔-ปัจจุบัน เป็นพระปริยัตินิเทศ ประจำจังหวัดพะเยา

พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๖ เป็นครูผู้สอนบาลี สำนักเรียนวัดศรีโคมคำ

พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗ เป็นเลขานุการศูนย์พระปริยัตินิเทศประจำจังหวัดพะเยาและหนเหนือ

พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการนิสิต

พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๐ เป็นเลขานุการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดศรีโคมคำ

ได้ดูแลจัดการบริหารศูนย์แทนเจ้าอาวาสได้จัดตั้งชมรมต่างๆที่มีส่วน

ในการอนุรักษ์ส่งเสริมเผยแพร่งานด้านประเพณีศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น

ชมรมภาษาล้านนา ชมรมสะล้อซอซึง ชมรมมารยาทไทย ชมรมวาทศิลป์

ชมรมประวัติศาสตร์ล้านนา เป็นต้น

พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นรองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขตพะเยา

พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๓ เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ

ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีหน้าที่เผยแพร่ และคิดค้นงานประวัติศาสตร์เมืองพะเยา

และล้านนาไทย ในแต่ละปีจะมีนิทรรศการหมุนเวียน เช่น ตุงเมืองพะเยา ข้าวเมืองพะเยา

อาหารเมืองพะเยา เป็นต้น

พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๕๔ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการสืบสานวัฒนธรรมภูกามยาว โดยในแต่ละปีจะได้จัดส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นอันประกอบไปด้วย การเทศน์มหาชาติประจำปี การสาธิตโคมลอย การบวชลูกแก้ว การซอพื้นเมือง การสาธิตจัดพิธีทานสลากภัตต์ กิ๋นอ้อผญ๋าเสริมปัญญา เป็นต้น

พ.ศ.๒๕๔๓–๒๕๔๔ เป็นผู้ดูแลโครงการส่งเสริมหอพุทธศิลป์ได้จัดหาพระพุทธรูปและผลงานทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ ไว้ในหอพุทธศิลป์ปัจจุบันได้จัดแสดงนิทรรศการไว้ในหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ

พ.ศ.๒๕๔๔-ปัจจุบัน เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ตำบลเวียง

อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์

พ.ศ.๒๕๔๔–ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ มีหน้าที่ให้ข้อคิดและวางนโยบายร่วมกับคณะกรรมการบริหารในการตอบสนองต่อสังคมและพัฒนางานด้านวัฒนธรรมให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองพะเยา อย่างแท้จริง

พ.ศ.๒๕๔๔–ปัจจุบัน ได้จัดตั้งและเป็นประธานกองทุนจันทร์ตองไชยะวุฑฒิกุลเพื่อเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยาขึ้นมาด้วยทุนส่วนตัว เป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีงานเผยแผ่แล้วจำนวน ๑๙ รายการ ตลอดจนถึงมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาเป็นปีที่ ๑๐ จัดกิจกรรมร่วมกับสังคม ชุมชนหลากหลาย เขียนบทความและงานเขียนอื่น ๆ ได้จัดตั้งและมอบรางวัลให้กับสังคมในนาม “รางวัลวชิรปัญญา” เป็นปีที่ ๔

พ.ศ.๒๕๔๖-ปัจจุบัน เป็นนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน วิชาความรู้คู่คุณธรรม โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยได้สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม-ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยและท้องถิ่นพะเยา

พ.ศ.๒๕๕๓-ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และหลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

พ.ศ.๒๕๕๒-ปัจจุบัน เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนอนุบาลพะเยา

พ.ศ.๒๕๕๒-ปัจจุบัน (วาระที่ ๒) เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๑

ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้กับคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ศูนย์บัณฑิตฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกจากนี้แล้วยังเป็นคณะกรรมการศูนย์แลกเปลี่ยนพระนิสิต นักศึกษา และการศึกษาพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, คณะกรรมการศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นพะเยา, คณะกรรมการหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ, คณะกรรมการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพะเยา, ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรฯ แพทย์แผนไทย, สถาบันปวงผญาพยาว เป็นต้น

.ประวัติผลงาน การเผยแพร่ผลงาน การนำผลงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน (นำไปเผยแพร่ในงานอะไร / เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร)

๑.นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยาISBN 974–91631–7-6 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๖ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ๒๐ บาท รวม ๑๐,๐๐๐ บาท พิมพ์ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ๓๐ บาท รวม ๑๕๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๖๐,๐๐๐ บาท

๒.พระเด่นเมืองพะเยาISBN 974–91631–5-X พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๐ บาท รวม ๑๐,๐๐๐ บาท

๓.พระพุทธรูปเมืองพะเยาISBN 974–91631–6-8 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๖ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๐ บาท รวม ๒๐,๐๐๐ บาท

๔.จินตลีลากับปริศนาธรรมISBN 974–855466–7-5 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๑๐ บาท รวม ๑๐,๐๐๐ บาท ครั้งที่ ๒ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๘ บาท รวม ๔๐,๐๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๐ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๑๐ บาท รวม ๕๐,๐๐๐ รวมรวมทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๕.ชื่อบ้านภูมิเมืองพะเยาISBN (ยังไม่ได้) พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญอักษร ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ครั้งที่ ๑ (ไม่ปรากฏข้อมูล) ครั้งที่ ๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๗ บาท รวม ๕๔,๐๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๗ บาท รวม ๑๔๕,๐๐๐ บาท รวมรวมทั้งสิ้น ๑๙๙,๐๐๐ บาท

๖.มรรคาแห่งชีวิตISBN 974–575–931-1 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๕ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๗ บาท รวม ๑๓,๕๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๖ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ๒๗ บาท รวม ๑๓,๕๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๆ ๒๗ บาท รวม ๕๔,๐๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่มๆ ละ ๓๐ บาท รวม ๑๕๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๒๓๑,๐๐๐ บาท

๗.พระธาตุเมืองพะเยาISBN 974–575–877-9 อัดสำเนา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ๒๕ บาท รวม ๑๒,๕๐๐ บาท

๘.ประวัติศาสตร์พัฒนาการชุมชนบ้านถ้ำISBN (ไม่มี-ปรับปรุงจากครบเครื่องเรื่องบ้านถ้ำ) อัดสำเนา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๕ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ๆ ๒๕ บาท รวม ๑๒,๕๐๐ บาท

๙.แปดเป็ง : ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเมืองพะเยา(เป็นการชำระตำนานพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๘) ISBN 974–364–325-7 พิมพ์ที่นครนิวส์การพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่มๆ ละ ๖๕ บาท รวม ๖๕,๐๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๓๔ บาท รวม ๑๗๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๒๓๕,๐๐๐ บาท

๑๐.ธรรมะกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งISBN 974–94148–8-8 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ วันที่ เมษายน ๒๕๔๙ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ๆ ๔๐ บาท รวม ๔๐,๐๐๐ บาท

๑๑.รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกISBN 978-974-7350-84-5 พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญอักษร ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ (ไม่มีข้อมูล) พิมพ์ครั้งที่ ๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๔๐ บาท รวมเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันมอบลิขสิทธิ์ให้กับโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม

๑๒.สังคมทางการเมืองการปกครองอาณาจักรภูกามยาว (รัฐพะเยาในอดีต)ISBN 974-364–381-8 พิมพ์ที่กอบคำการพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ๆ ๔๕ บาท รวม ๔๕,๐๐๐ บาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๓๐ บาท รวม ๑๕๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๙๕,๐๐๐ บาท

๑๓.สังฆาธิปไตย : ระบอบการปกครองสงฆ์ISBN 978-974-7350-84-5 พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญอักษร ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๆ ละ ๑๘ บาท รวมเป็นเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท

๑๔.ตำนานช้างปู่ก่ำงาเขียว(ฉบับการ์ตูน)ISBN (ยังไม่ได้) พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญอักษร ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ๆ ๑๐ บาท รวม ๕๐,๐๐๐ บาท

๑๕.ตำนานพ่อผ้าขาวเป็ง(ฉบับการ์ตูน)ISBN (ยังไม่ได้) อัดสำเนา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน - เล่ม ๆ - บาท รวม - บาท

๑๖.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ : ผญาแห่งเมืองพะเยาISBN 978–974–35-0699-4 พิมพ์ที่นครนิวส์การพิมพ์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม ๆ ๔๕ บาท รวม ๖๗,๕๐๐ บาท

๑๗.นอตราดามุสแห่งเมืองพะเยา : ตำนานพ่อผ้าขาวเป็งและ ๒๐ คำทำนายISBN (ยังไม่ได้) อัดสำเนา พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญอักษร ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม ๆ ๒๕ บาท รวม ๗๕,๐๐๐ บาท

๑๘.ธรรมาธิปไตย : ธรรมรัฐ-ธรรมราชา-ธรรมานุวัตร-กำลังเข้าโรงพิมพ์เพื่อถวายเนื่องในวโรกาส อายุวัฒนมงคล ๙๖ ปีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๕๕ ยังไม่ทราบราคา

ส่วนเสวนาทางวิชาการ เรื่องแปดเป็ง: วิวัฒนาการและแนวทางพัฒนาISBN 974–575–878-7 อัดสำเนา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ จำนวน ๒๐๐ เล่ม ๆ ละ ๔๕ บาท รวม ๙,๐๐๐ บาท ปัจจุบันรวมเข้าเป็นบทหนึ่งในหนังสือ “แปดเป็ง : ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเมืองพะเยา” ผลงานอันดับที่ ๙

๖.การถ่ายทอดผลงานให้ผู้อื่น (ถ่ายทอดให้ใคร / กี่คน / เมื่อไร / ผลเป็นอย่างไร)

การถ่ายทอดแนวคิดและผลงานแบ่งได้ ๙ ลักษณะ คือ

๖.๑.การพิมพ์เผยแพร่ผลงาน จำนวน ๑๙ รายการ ดังที่กล่าวมา พร้อมกับแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้สนใจ ผู้เข้าร่วมงาน ฯลฯ ในวาระสำคัญ ๆ เช่น งานวันเกิดเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระมหาเถระผู้ได้รับสมณศักดิ์ประจำปี งานประชุมสัมมนาต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควร ตลอดถึงหน่วยงานต่าง ๆ ขอหนังสือไปเป็นของที่ระลึกให้กับแขกผู้มีเกียรติเมื่อเกิดกิจกรรมขึ้น

๖.๒.จัดตั้งทุนจันทร์ตองไชยะวุฑฒิกุล(เป็นชื่อของโยมบิดามารดา)ในแต่ละปีได้มอบผลงานให้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนระดับประถม โรงเรียนระดับมัธยม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ และวิทยาเขต ห้องเรียนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งทั่วประเทศ

ผลที่ตามมาคือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ขึ้นรายการหนังสือที่เด่น ๆ ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก, สังฆาธิปไตย: ระบอบการปกครองสงฆ์, สังคมการเมืองการปกครองอาณาจักร ภูกามยาว(รัฐพะเยาในอดีต) ฯลฯ นอกจากนี้ ผลงานยังถูกอ้างอิงในรายงาน สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ทุกระดับชั้น

๖.๓.การนำเสนอทาง Internet โดยเนื้อหาในหนังสือต่าง ๆ ตลอดจนถึงการเขียนบทความ ปรัชญาข้อคิด ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ไว้ใน www.gotoknow.org จำนวนกว่า ๓๕๐ บันทึก

๖.๔.การนำเสนอผลงานและแนวคิดทางสถานีวิทยุ ผ่านสถานีวิทยุเสียงวัดพระเจ้าตนหลวง คลื่นความถี่ ๑๐๐ รายการถามมา-ตอบไป ทุกวันศุกร์ระหว่างเวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. โดยเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้จัดรายการและผู้ฟังทางบ้าน เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องการเรียนรู้และอยากร่วมรายการ

๖.๕.การนำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “พะเยารัฐ” ทั้งนำเนื้อหาไปลง และทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือพิมพ์เอง

๖.๖.การนำเสนอผ่านการเทศน์ การบรรยาย การให้ความรู้ ปีละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ครั้ง

๖.๗.การนำเสนอผ่านการสอนนิสิต นักศึกษา

๖.๘.การนำเสนอผ่านการเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิให้กับนิสิต นักศึกษาและบุคลากรที่เสนอผลงานในระดับต่าง ๆ ให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา,คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศูนย์พะเยา), สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บุคลากรพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๑-๒

๖.๙.การนำเสนอผ่านสื่ออื่น ๆ (เมื่อมีโอกาส)ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ตามรายการต่าง ๆ เช่น รายการ “เวทีสาธารณะ” ของ Thai PBS,รายการ “สารธรรมนำสุข” ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง ๑๑) จังหวัดเชียงใหม่, รายการ “มหาจุฬาปริทัศน์” และรายการ “บ้านนี้มีสุข” ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.พะเยา) เป็นต้น

.รางวัลและเกียรติคุณที่เคยได้รับ

พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับเกียรติจากเครือญาติเบญจภาคีวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ประเภทเป็นวิทยากรอบรมมัคคุเทศก์อาสาสมัครนำชมแหล่งการเรียนรู้ (ด้านวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)

พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับรางวัล“คนดีศรีสยาม”สาขาสัมมาสมาธิ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ร่วมกับบริษัทพิสุทธิ์ทิฐิ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่

พ.ศ.๒๕๔๙ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้อนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง เป็น “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”สาขาวิชารัฐศาสตร์

พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับรางวัล“ราชมงคลสรรเสริญ”สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องค์มนตรี

พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับรางวัล“เสาเสมาธรรมจักร”สาขาการเผยแผ่ จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี

พ.ศ.๒๕๕๕ ได้รับรางวัล“สื่อปลอดภัยและสื่อสร้างสรรค์ดีเด่น”สาขาวรรณกรรม จาก

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา กระทรวงวัฒนธรรม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

สถานที่ตั้ง
วัดเชียงหมั้น
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 1 ถนน วัดเชียงหมั้น
ตำบล ดงเจน อำเภอ ภูกามยาว จังหวัด พะเยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดเชียงหมั้น
บุคคลอ้างอิง นางอนุสรา โสตถิกุล อีเมล์ anusara100@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอภูกามยาว
เลขที่ 37 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 17 ถนน พะเยา - ป่าแดด
ตำบล ดงเจน อำเภอ ภูกามยาว จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่