ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 22' 44.1433"
6.3789287
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 2' 35.5556"
101.0432099
เลขที่ : 182185
ดีปลี
เสนอโดย ยะลา วันที่ 4 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 4 มีนาคม 2556
จังหวัด : ยะลา
0 234
รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง3-5ซม.ยาว7-10ซม.สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ดีปลีเป็น เป็นพืชเดียวกันกับชะพลูและพลู กลิ่นหอมแนเป็นสิ่งคู่กันกับพืชในวงศ์นี้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยซ่อนอยู่ในใช ลำต้น และผลดีปลีนั้นจะว่าไปก็เหมือนพืชผักที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักได้ยินแต่ชื่อว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง
ตามพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง มักจะมีพืชในวงศ์PIPERACEAEหรือวงศ์พริกไทย ขึ้นได้ดีมีมากมาย พืชใน
วงศ์นี้ก็ได้แก่พริกไทย ชะพลูและพลู ดีปลีของเราก็เป็นหนึ่งในสมาชิกวงศ์พืชดังกล่าวนี้ด้วย ดีปลีนั้นเติบโตได้ดีในทุกภาค ขอเพียงให้ชุ่มชื้น มีแดดเพียงร่มรำไร ดีปลีก็แตกดอกออกผลให้คนมาเก็บไปกิน และเก็บไปตากแห้งทำยา ทำเครื่องเทศ ปรุงรสปรุงกลิ่นอาหารให้น่ารับประทานคุณค่าทางอาหาร
ทางปักษ์ใต้เจ้าของอาหารรสจัดจ้านร้อนแรงก็ย่อมมีดีปลีเป็นส่วนประกอบ แต่ที่เด็ดขาดกว่าใครก็คือกินลูกอ่อนของดีปลีเป็นผักสด เข้าใจว่าเมื่อเป็นลูกอ่อนนั้นน่าจะรับประทานง่ายไม่ฉุนเท่าเมื่อเป็นเครื่องเทศ
เครื่องเทศที่ว่านั้นได้มาจากผลสุก นำมาตากแห้งใช้ประกอบกับแกงคั่ว แกงเผ็ด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหาร
บางที่ก็นำมาแต่งกลิ่นผักดอง
ลักษณะทั่วไปของดีปลี
เถาดีปลีนั้นมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็ก กลม ฝังตัวกับช่อดอก
ผลอ่อนสีเขียว รสเผ็ด เมื่อสุกเป็นสีแดง


การปลูกและดูแลรักษาดีปลี
ดีปลีชอบความชื้นสูง หากฝนตกชุกก็เป็นที่ถูกใจ เพียงกิ่งแก่ ๆ มาปักชำรดน้ำฉ่ำชุ่ม พอรากงอกและต้นตั้งตัวได้ก็นำ
ลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ สำหรับหลักให้เลื้อยพันนั้นมักนิยมใช้เสาไม้ที่แข็งแรงหรือใช้เสาซีเมนต์ หรืออาจปล่อย
ให้ไต่ไปบนรั้ว กำแพงหรือต้นไม้อื่น ๆ ดีปลีนิสัยดี ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้อื่น แต่ขออาศัยยึดเกาเฉย ๆ ใช้พื้นที่
เพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นเจ้าของเถาดีปลีได้ หรือจะปลูกเป็นไม้ประดับชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื้น หรือดูผลที่เป็นสีเหลือง เมื่อจวนสุก แดงเมื่อสุกแล้ว พราวไปทั้งเถาที่เป็นที่นิยม


ประโยชน์ของดีปลี
ผลสุกของดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันของดีปลีตามการวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยบอกว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่ว ถ้าหากนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรจากธรรมชาติก็ไม่เลว
คุณประโยชน์ด้านสมุนไพรของดีปลีนั้นมากมายมหาศาล เริ่มตั้งแต่ลำต้นหรือเถา รสเผ็ดร้อน แก้ปวดฟัน จุกเสียด
แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลม วิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ รากรสเผ็ดร้อนขม แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน ส่วนหากจะแก้ไข ให้ใช้ดอกแก่แห้งครึ่งกำมือฝนกับ
น้ำมะนาว กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ


คุณสมบัติทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เถา ใบ ดอก ราก ผลแก่แห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บ นิยมเก็บผลเมื่อเริ่มเป็นสีน้ำตาล นำมาตากแดดให้แห้ง


รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
เถา รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะพิการ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร
แก้ลม เจริญอาหาร
ใบ รสเผ็ดร้อน แก้เส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางลำตัว)
ดอก รสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส ้ แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้คุดทะราด เจริญอาหาร
ราก รสเผ็ดร้อนขม แก้เส้นอัมพฤกอัมพาต ดับพิษปัตตฆาต แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน
แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 88 หมู่ที่/หมู่บ้าน 9
ตำบล บาละ อำเภอ กาบัง จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางเผือน ยอดสนิท
บุคคลอ้างอิง นางสาวกนกวรรณ พรหมทัศน์ อีเมล์ k-yala@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511,073213916
เว็บไซต์ ้http://province.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่