ชื่อนายอุ่น ผลวัฒน์
ตำแหน่งหัวหน้าลิเก คณะราตรีศิลป์
ชื่อเรียกขานยืด
เกิดวันที่- -พ.ศ. 2485
โทรศัพท์088 – 115 – 8090
สถานที่เกิด3 หมู่ 1 บ้านเชื้อเพลิง ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ที่อยู่ปัจจุบัน218 หมู่ 1 บ้านเชื้อเพลิง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
บิดานายกวน ผลวัฒน์
มารดานางใจ ผลวัฒน์
บุตรจำนวน 5 คน ได้แก่
- นางอนงค์ ผลวัฒน์
- นายสุรชัย ผลวัฒน์
- นายสุชาติ ผลวัฒน์
- นายสุชิด ผลวัฒน์
- นางจวง ผลวัฒน์
การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านเชื้อเพลิง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ประวัติความเป็นมา
ลิเกเขมร ปรากฏในแถบอีสานใต้ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ได้รับอิทธิพลมาจาก
เขมร เดิมชาวไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมีการไปมาหาสู่ต่อกัน มีชายไทยคนหนึ่งชื่อ "ตาเปาะ" ได้ไปเที่ยวประเทศกัมพูชาและได้ภรรยาเป็นชาวเขมร ได้อาศัยอยู่ที่นั่นหลายปีจนมีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นต่าง ในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างดี ต่อมาได้กลับมาประเทศไทยได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่ชอบร้องและรำตั้งเป็นคณะ ลิเกขึ้น ลักษณะการเล่นลิเกเขมรคล้ายลิเกไทย โดยใช้บทร้องและเจรจาเป็นภาษาเขมร ไม่มีการรำอย่างละครแต่รำประกอบพองาม หรืออาจจะมีระบำสลับฉากหรือสอดแทรกในเรื่อง เช่น รำอาไย หรือกระโนบติงตอง เป็นต้น เรื่องที่นำมาแสดงเอามาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เจ็ดยอดกุมาร กดามซอ (ปูขาว) ก่อนการแสดงจะมีการไหว้ครู แล้วแนะนำตัวละคร จึงเข้าสู่เรื่องราว
เครื่องดนตรี ประกอบด้วย ซอตตรัวเอก กลองรำมะนา 2 ลูก กรับ ฉิ่ง และฉาบ ผู้แสดงส่วนใหญ่ใช้
ผู้หญิงแสดงเป็นตัวผู้หญิงและชาย ส่วนผู้ชายจะแสดงเป็นตัวตลกเท่านั้น การแต่งกายเป็นแบบพื้นบ้านแต่มีมงกุฏสวมทั้งตัวพระตัวนาง ในราวปี พ.ศ. 2503 นายเปรม รัตนดี ได้จัดตั้งคณะลิเกขึ้นที่บ้านดงเค็ง ตำบลเมืองลิง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ชื่อว่า "คณะเปรมปรีดิ์สามัคคีศิลป์" ซึ่งมีอยู่เพียงคณะเดียวและมีผู้ว่าจ้างไปแสดงน้อยเต็มที
นายอุ่น ผลวัฒน์เริ่มฝึกเล่นลิเก ตอนอายุ 23 ปี ระยะแรกไปฝึกเล่นลิเกกับครูเมาที่หมู่บ้านจังเอิญ หมู่ 9 ตำบลไพล ต่อมาเปลี่ยนเป็นตำบลเชื้อเพลิง ฝึกอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน จึงทำพิธีเปิดโรง โดยใช้ชื่อว่า“ราตรีศิลป์”ที่หลวงพ่อวัดบ้านนาเกาว์เป็นผู้ตั้งให้ ความหมายของราตรีศิลป์ คือ
ราตรีแปลว่า กลางคืน
ศิลป์แปลว่า ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
ความหมายโดยรวม คือ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่แสดงในตอนกลางคืนส่วนใหญ่
เมื่อทำพิธีเปิดโรง จึงไปเล่นตามวัด จำนวน 9 วัด เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์คณะลิเกให้เป็นที่รู้จักไปในตัว วัดแรกที่ทำการแสดง คือ วัดมุนีนิรมิต ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในท้องเรื่อง กระท่อมร้างนางครวญ ก่อนที่จะมีการแสดง ทางคณะจะมีการไหว้พ่อแก่เพื่อให้เป็นสิริมงคล ซึ่งของที่ใช้ในการไหว้ คือ
- กรวย 12 ดอก
- ผ้าขาว 2 ผืน
- ไก่ต้ม 2 ตัว
- เหล้าขาว 2 ขวดใหญ่
- น้ำอัดลม 2 ขวด
- บุหรี่ 2 ซอง
- เงิน 24 บาท
- ธูปเทียน
- ขนม 2 ถาด
ช่วงแรกมีสมาชิกในคณะ จำนวน 25 คน เป็นชาย 20 คน หญิง 5 คน เมื่อคณะเป็นที่รู้จักแล้ว ทำให้มีเจ้าภาพมาติดต่อขอให้ไปแสดงตามงานต่าง ๆ เช่น งานบวชนาค งานโกนจุก งานบรรจุอัฐิ งานปิดทองฝังลูกนิมิต เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้แสดงครั้งแรก คือ กลอง ระนาด ซอ ฉิ่ง ฉาบ ค่าแสดงครั้งแรก คือ 800 บาท เมื่อแบ่งให้สมาชิกในคณะแล้วได้คนละ 5 บาท ต่อมาสมาชิกในคณะที่มีความชำนาญแล้ว จึงออกไปตั้งคณะใหม่ คือ คณะสุมามาง คณะสนองน้อย
ปัจจุบันมีนักแสดงมืออาชีพจากหลายจังหวัดที่ นายอุ่น ผลวัฒน์ (ยืด) ให้มาเล่นอยู่ในคณะ เช่น จากนครราชสีมา จากบุรีรัมย์ จากสุรินทร์ เป็นต้น จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 35 คน เรื่องที่แสดงส่วนใหญ่ เช่น กระท่อมร้างนางครวญ ลูกรักลูกชัง พระคุณแม่ เป็นต้น ค่าแสดงเริ่มที่ 45,000 – 50,000 บาท
เพลงที่ใช้ในการแสดงส่วนใหญ่ นายอุ่น ผลวัฒน์ (ยืด) เป็นผู้แต่งเองทั้งหมด และจะพิมพ์เก็บไว้ เพื่อใช้ในการแสดง เช่น
กลอนอวยพร
ก่อนสาทกยก สุนทร ผมนี้ขอวอนกราบไหว้
ถ้าดีไม่พอ ขออภัย อย่าคิดผลักใส สงสาร
ขออวยพร ให้เจ้าภาพ สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ สดใส
ขออำนาจ รัตนะ สุขขะพละ ร่มไทร
ถ้าซื้อหวย ให้ถูกหวย เจ้าภาพจงรวย ร้อยล้าน
ให้อายุยืน ภิญโญ ประดุจร่มโพธิ์ ร่มไทร
ให้สูงส่ง สดใส ตลอดโพยภัย พ่นผ่าน
พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ จงมาเสริมส่ง รักษา
อย่ามีใครคิด อิจฉา สติปัญญา แตกฉาน
ให้สุขสมบุญ พูลสมบัติ ฐานะอำนาจ ยืนนาน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
- กลอง
- ตะโพน
- ระนาด
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- ซอ
- กลองชุด
- เบส
- กีตาร์
การแต่งกาย
ชุดแต่งกายของแต่ละตัวละคร คนที่แสดงเป็นตัวละคนใดนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ซื้อชุดแต่งกายเองทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ที่ 3,000 – 5,000 บาท
จำนวนผู้แสดง
ช่วงแรกมีสมาชิกในคณะ จำนวน 25 คน เป็นชาย 20 คน หญิง 5 คน
ปัจจุบันมีนักแสดงมืออาชีพจากหลายจังหวัดที่ นายอุ่น ผลวัฒน์ (ยืด) ให้มาเล่นอยู่ในคณะ เช่น จากนครราชสีมา จากบุรีรัมย์ จากสุรินทร์ เป็นต้น จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 35 คน
ผู้แสดงลิเกระยะแรกผู้หญิงแต่งตัวเป็นชาย ต่อมาจึงให้ผู้ชายแสดงเครื่องแต่งกายใช้แบบเรียบง่าย ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว สามเสื้อแขนยาว ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้นบานๆ สวมเสื้อหลากสีและพัฒนาไปตามสมัยนิยม เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่สะไล (ปี่ไน) กลองรำมะนา ซอ ฉิ่งฉาบ ในระยะหลังได้นำเครื่องดนตรีสากลมาผสมให้มีความสนุกสนาน เร้าใจ บทเพลงในการแสดง ได้แก่ เพลงสาธุการ เพลงโหมโรง เพลงจังก็วงขะยมลูด เพลงเล่นน้ำ เพลงสกาแกว และเพลง ปะเปียบปะรัย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมรท้องถิ่น สำหนับท่ารำเป็นแบบแผนที่กำหนดตายตัว คือ ท่ารำจังก็วงขะยมลูด และท่ารำทยอย
วิธีแสดง
โหมโรงไหว้ครู มีการรำถวายมือหรือรำเบิกโรง ต่อด้วยการออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง ในอดีต แล้วจึงดำเนินเรื่อง
แสงประกอบ การแสดง เดิมใช้แสงสว่างจากขี้ไต้ ต่อมาเป็นตะเกียงเจ้าพายุ และใช้ไฟฟ้าตามลำดับ เสียงร้องแต่เดิมร้องสดๆ ต่อมาจึงมีเครื่องปั่นไฟ จนกระทั่งมีไฟฟ้าจึงได้ใช้ไมโครโฟน ฉากแต่เดิมทำจากใบมะพร้าว ต่อมาเป็นผ้าขาวไม่มีลวดลาย จนกระทั่งพัฒนาเป็นฉากที่มีภาพน้ำตก ภาพต้นไม้ ภาพภูเขา สำหรับเวที แต่เดิมตั้งอยู่บนพื้นดิน 4 เสา มีบันไดสำหรับขึ้นลง 2 ด้าน นำใบมะพร้าวมาปิดกั้นเป็นหลังเวที และมีขี้ใต้จุดที่เสาทั้ง 4 จุด ปัจจุบันเวทีมีให้เลือกคือ การเช่าโดยเจ้าภาพหรือคณะลิเกเขมรแล้วแต่จะ ตกลงกันกับ เวทีที่ทำขึ้นเองด้วยใช้ไม้เนื้อแข็งมาปูทับแล้วตรึงด้วยตะปูให้แน่น มีบันไดขึ้นลงข้างเวทีทั้งสองข้าง
แหล่งที่ปรากฏในการแสดง
งานแสดงส่วนใหญ่จะแสดงในงานบวชนาค บรรจุอัฐิ ปิดทองฝังลูกนิมิต ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองโบสถ์ ฉลองศาลาการเปรียญ เป็นต้น แต่จะไม่นิยมเล่นในงานมงคลสมรส ขั้นตอนการแสดงแบ่งเป็น 6 ขั้นได้แก่การไหว้ครู โหมโรง การรำเบิกโรง การรำทยอย การออกแขก การดำเนินเรื่อง สถานที่แสดง ลานวัด ตลาด สนามกว้าง ๆ ในโทรทัศน์ ฯลฯ โดยปลูกเพิงสูงระดับตา ด้านหน้าเป็นที่แสดง ด้านหลังเป็นที่พักที่แต่งตัว มีฉากเป็นภาพเมือง วัง หรือป่าเขาลำเนาไพร
บทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม
- ด้านการศึกษาที่ควรค่าแก่การศึกษา และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ศิลปะการร่ายรำที่อ่อนช้อยสวยงาม การใช้ภาษาเขมรในการแสดงเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่น
- ด้านสังคม ทำให้เกิดความสามัคคี และผู้แสดงลิเกก็เป็นเครือญาติกัน
- เศรษฐกิจลิเกสามารถสร้างรายได้แก่ตนเอง และเศรษฐกิจในชุมชนที่ลิเกไปทำการแสดง นอกจากนี้เนื้อเรื่องที่แสดงเกี่ยวกับความดี ความชั่ว เป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้ชม
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลิเก
- ด้านสังคมการอพยพแรงงานไปต่างถิ่น การเป็นครอบครัวสมัยใหม่นิยมบริโภคความทันสมัย
- ด้านเศรษฐกิจรายจ่ายเพิ่มขึ้นไม่สัมพันธ์กับรายได้ เนื่องจากไม่มีอาชีพเสริมควรมีแนวทางการอนุรักษ์ส่งเสริม โดยจัดเวทีให้ลิเกได้แสดงในโอกาสต่างๆ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง