ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 9' 36.378"
19.160105
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 0' 11.2284"
101.003119
เลขที่ : 183475
ประวัติหมู่บ้าน หมู่บ้านสกาดใต้ อำเภอปัว
เสนอโดย rodjana วันที่ 11 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 18 มีนาคม 2556
จังหวัด : น่าน
0 1670
รายละเอียด

ประวัติบ้านสกาดใต้ ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
บ้านสกาดใต้เดิมเป็นชาวเขาเผ่าถิ่นอยู่บ้านสกาดกลาง ซึ่งเข้ามาแทนที่พวกม่าน ซึ่งสลายตัวไปก่อนแล้ว ชาวถิ่นนับถือผีมาแต่โบราณ มีประเพณีถือผี สืบต่อกันมา ภายหลังได้มีคนพื้นราบขึ้นมาติดต่อค้าขายได้รู้จักคุ้นเคยกับคนถิ่นในบ้านสกาดกลาง และได้แต่งงานอยู่กินกับชาวถิ่นราบโดยชาวพื้นราบที่ขึ้นมามีครอบครัวเริ่มแรกนั้นมาจากบ้านน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา ต่อมามีเพื่อนฝูงติดตามขึ้นมามีครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกหลายครอบครัว ชาวพื้นราบบ้านน้ำปั้วที่ขึ้นมาแต่งงานมีครอบครัวบนดอยสกาดนั้นนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งแตกต่างกับชาวถิ่นบ้านสกาดกลางที่นับถือผีเมื่อถึงเทศกาลสำคัญของชาวสกาดกลาง เช่น ประเพณีการเลี้ยง การตีพิในพิธีโสลด (โสลดหลวง) ก็นำมาล้อกัน และเมื่อชาวบ้านน้ำปั้วประกอบพิธีกรรมตามพุทธศาสนาชาวถิ่นก็จะล้อเลียน ดังนั้น ครอบครัวของบรรดาเขยจากพื้นราบจึงพากันแยกตัวออกจากชาวถิ่นบ้านสกาดกลางลงมาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่บริเวณบ้านสกาดใต้ปัจจุบัน โดยบ้านสกาดใต้เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนภูเขาจึงทำให้มีสภาพภูมิศาสตร์ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสกาดกลาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตอำเภอภูคา อำเภอปัว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านสกาดกลาง ตำบลสกาด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสถาน อำเภอปัว

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านสกาดใต้
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล สกาด อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อบต.ldkf
บุคคลอ้างอิง รจนา กล้าหาญ อีเมล์ rodjana.kla@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
ตำบล สกาด อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่