รูปปั้นท้าวมติกามหาพรหม (พระแม่กาเผือก) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง เลขที่ ๘๙ หมู่ ๑๕ ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
โดยมีตำนานเล่าขานถึงท้าวมติกามาพรหม (พระแม่กาเผือกขาว) ไว้ว่า แม่กาขาว ออกไข่ ๕ ฟองที่ต้นมะเดื่อริมแม่น้ำคงคส (วัดพระเกิด) วันหนึ่งออกหากินบินหลงมาพบป่าอุดมสมบูรณ์ (เวียงกาหลง) หลงเพลิดเพลินสนุกกินพิชพันธุ์ธัญญาหาร พอดีเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ติดอยู่ถึงรุ่งเช้ารีบกลับไปปรากฎว่ากิ่งไม้ที่ทำรังได้หักลงไข่ลูกแม่กาไหลหายไปกับสายน้ำ รีบออกบินวนตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ ด้วยความเศร้าโศกอาลัยที่สุดหมดกำลังตายที่เนินเขาลูกหนึ่ง (วัดพระธาตุอักโขชัยคีรี) ได้ไปจุติเกิดเป็นท้าวมติกามหาพรหม ส่วนไข่พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ ที่ไหลไปได้มีแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค แม่ราชสีห์เก็บไปฟักเลี้ยงดู เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าใช้ชื่อตามแม่เลี้ยงว่า กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม อริยเมตไตรโย ไข่ทั้ง๕ ฟักออกมาเป็นมนุษย์ โตขึ้นลาแม่เลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมีได้พบกัน ณ สถานที่หนึ่งโดยบังเอิญ (เขาพนมสัจจ์) พร้อมใจกันอธิษฐานขอพบแม่จริง ท้าวมติกามหาพรหม รู้ด้วยญาณจำแลงร่างเป็นแม่กาเล่าความเป็นมาให้ลูกทั้ง ๕ ได้ฟัง ต่างเกิดสังเวชสลดใจ จึงพร้อมกันอธิษฐานปรารถนาสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า และได้มาเป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัปนี้สุดท้ายขอสัญลักษณ์เพื่อการสักการะบูชา แม่กาขาว ให้เอาฝ้ายทำด้ายฝั่นตีนกา จุดเป็นผางประทีปบูชาทุกวันพระ ๑๕ คำ่ เป็นที่มาของประเพณียี่เป็ง จุดเทียนเล่นไฟแม่พญากาเพื่อเอาไว้ใช้ จุดสักการะผ่านแม่น้ำคงคา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ส่วนฤๅษีทั้ง 5๕หลังจากบำเพ็ญบารมีเวียนว่ายในวัฏสงสารแล้วก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าห้าพระองค์เรียงตามลำดับเวลาที่ต่างกัน