ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 21' 25.7638"
8.3571566
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 55' 10.5391"
99.9195942
เลขที่ : 184351
น้ำชุบหยำ
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 18 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 21 มีนาคม 2556
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 1736
รายละเอียด

[ใช้มะม่วงอ่อน หรือไม่ใส่ก้อได้]
น้ำต้มสุก ๓/๔ ถ้วย

วิธีทำ
๑.ล้างกุ้งแห้งตั้งให้สะเด็ดน้ำ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
๒. หัวหอมปอกเปลือกล้างให้สะอาด ซอยเตรียมไว้
๓. กะปิเผาให้หอม
๔.มะนาวปอกผิว คั้นน้ำมะนาวใส่ถ้วยหรือปอกเปลือกแกะเนื้อมะนาวออกใช้ทั้งกลีบ
๕. พริกขี้หนูหั่นตามยาว หรือหั่นแฉลบ
๖. ระกำปอกเปลือก หั่นเนื้อระกำบาง ๆ
นำเครื่องปรุงทั้งหมดที่เตรียมไว้ใส่ลงในชามเปลใหญ่และตวงน้ำตาลทราย เกลือตามส่วนใช้ช้อนกดบี้เคล้าให้เข้ากัน เมื่อเคล้าเข้ากันดีแล้วใส่น้ำต้มสุกตามส่วนที่ตวงใช้ช้อนคนให้เข้ากันดี ตักใส่ถ้วยน้ำพริกจัดจานโดยมีผักจิ้มจำพวกแตงกวา สะตอ ลูกเนียง ยอดกระถิน ใบมะม่วงหิมพานต์ยอดชะอมทอดไข่ตกแต่งจานผักให้สวยงามผักสดใช้ได้เกือบทุกชนิด จะใช้ลวกลาดกะทิก็อร่อย อาจใช้กุ้งสด และปลาจิ้งจังหรือปลาย่างเป็นเครื่องปรุงก็ได้

ประโยชน์
๑.ให้คุณค่าทางโภชนาการ
วิธีการปรุงทำได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีครกตำน้ำพริก ก็สามารถปรุงน้ำชุบหยำรับประทานได้

น้ำชุบสูตรดั้งเดิมในภาคใต้จะเน้นความเรียบง่าย สะดวกและรวดเร็ว เป็นหลักชุมชนฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่นิยมทำน้ำชุบหยำ (น้ำพริกขยำ)เป็นน้ำชุบหลักมากกว่าน้ำชุบประเภทอื่น ๆ มีการทำเกือบทุกมื้อสูตรน้ำชุบหยำแบบดั้งเดิม จะประกอบด้วย พริก กะปิและมะขามเปียกเท่านั้นนำมาขยำรวมกันเติมน้ำนิดหน่อย ก็เรียกว่าเป็นน้ำพริกแล้ว บางชุมชนเล่าว่าบางครั้งก็นำมาขยำในจานข้าวเลยทีเดียว ต่อมาก็มีการเพิ่มส่วนผสมหรือองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามามากขึ้นตามทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ปลาหวาน (ปลาย่าง) ปลากะตักกุ้งสดหรือกุ้งย่าง (กุ้งเสียบ) หอมแดง
เครื่องปรุง
กุ้งแห้ง ๑๐๐ กรัม
หัวหอ(เล็ก) ๖๐ กรัม
กะปิชนิดดี ๕๐ กรัม
มะนาว ๓ ผล
น้ำตาลทราย ๑ ช้อนโต๊ะ
เกลือ ๑/๒ ช้อนชา
พริกขี้หนูสด ๑๕ ดอก

ระกำเปรี้ยว ๒ ผล

ที่มาของอาหารน้ำพริกในภาษาภาคใต้เรียกว่า “น้ำชุบ” ตามความหมายพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้หมายถึงน้ำพริก มีหลายชนิดถ้าจัดแบ่งโดยใช้กระบวนการและวิธีการในการทำน้ำชุบเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1.ประเภทน้ำชุบหยำ หรือน้ำพริกขยำ หรือที่นิยมเรียกกันว่า น้ำชุบโจรวิธีการทำน้ำชุบประเภทนี้คือการใช้มือขยำส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันเนื้อน้ำชุบมีลักษณะเหลวกว่าน้ำชุบประเภทอื่นน้ำชุบหยำเป็นน้ำชุบที่เน้นความเรียบง่าย สะดวก รวดเร็วเป็นน้ำชุบที่นิยมมากที่สุดทางฝั่งอันดามัน มีเคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่การหยำคือต้องหยำนานจนน้ำชุบขึ้นเป็นฟองหรือขึ้นเปลือก ถ้าขึ้นฟองมากจะอร่อยมากคือส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง น้ำชุบหยำมีหลายสูตรด้วยกันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ น้ำชุบหยำที่ใส่เคย กับน้ำชุบหยำที่ไม่ใส่เคย 2.น้ำชุบเยาะหรือน้ำพริกตำ ใช้วิธีตำด้วยครกชาวบ้านใช้ครกหินในการตำไม่ได้ใช้ครกไม้ ลักษณะน้ำชุบเยาะจะแห้งกว่าน้ำชุบหยำ 3.น้ำชุบผัด,น้ำชุบคั่วหรือน้ำชุบเคี่ยวเป็นน้ำชุบประเภทที่ต้องใช้ความร้อนปรุงให้สุกมีทั้งการผัดโดยการใส่น้ำมันพืชน้ำมันหมูหรือใช้การเคี่ยวกะทิผสมกับเครื่องปรุงและผัดให้เข้ากันจนสุก

คำสำคัญ
น้ำชุบหยำ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 15/43 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล นาสาร อำเภอ พระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสุพร ยอดวารี
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล นาพรุ อำเภอ พระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่