มูลเหตุของการตั้งเมืองพิบูลมังสาหาร ปีพุทธศักราช ๒๔๐๒ พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ ๓ มีภรรยา (หม่อม) ๗ คน มีบุตร-ธิดา รวมทั้งหมด ๓๑ คน และในจำนวนบุตรทั้งหมดมีหลายคน ซึ่งพอจะเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ราชบุตร ทำราชการให้แก่บ้านเมืองได้ จึงปรึกษาคณะกรรมการเมืองต่างมีความเห็นพ้องกันว่า ๑) ท้าวธรรมากิติกา (จูมมณี) ๒) ท้าวโพธิสาราช (เสือ) ๓) ท้าวสีฐาน (สาง) ซึ่งทั้งสามคนนี้เป็นบุตรที่เกิดจากภารยาคนที่ ๒ ของพระพรหมราชวงศา(กุทอง) ชื่อ (นาง) หม่อมหมาแพง และ ๔) ท้าวขัติยะ (ผู) ซึ่งเป็นน้องต่างมารดาของท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) จึงสั่งให้จัดเรือ ๓ ลำและคนชำนาญทางน้ำเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยได้ล่องเรือไปตามแม่น้ำมูลทิศตะวันตกแก่งสะพือ เห็นภูมิสถานเหมาะแก่การตั้งเมือง จึงได้ทำการบุกเบิกป่า ตั้งแต่หัวแก่งสะพือไปจนถึงห้วยบุ่งโง้ง (คุ้มวัดเหนือกลางในปัจจุบัน) พอที่จะตั้งบ้านเรือนได้ ๓๐ – ๘๐ ครอบครัว พระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้จัดราษฏรเข้าไปอยู่หลายครอบครัว พร้อมทั้งให้ท้าวไชยมงคล และท้าวอุทุมพร (ญาติเจ้าเมืองอุบลฯ)ไปอยู่ด้วย แล้งตั้งชื่อว่า “บ้านกว้างลำชะโด” เนื่องจากบ้านนี้ ตั้งอยู่ย่านกลางของ ๒ ห้วย คือห้วยกว้างอยู่ทางทิศตะวันออกและห้วยชะโดอยู่ทางทิศตะวันตก ห้วยกว้างห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทางทิศตะวันออก ๔ ก.ม.ห้วยชะโดห่างจากที่ตั้งอำเภอไปทางทิศตะวันตก ๔ ก.ม.
ความสำคัญ
ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเมืองพิบูลมังสาหาร
๑. พระราโชบายของพระมหากษัตริย์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชการที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบ้านเมืองอยู่ในสภาพแตกกระจ่ายเป็นก๊ก เป็นเหล่า จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมไพร่พลให้เป็นกลุ่มก้อนเป็นเมือง จึงมีพระราโชบายให้จัดตั้งเมืองขึ้นซึ่งได้ถือเป็นแนวปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในรัชการต่อ ๆ มา
๒. การปกครอง พระพรหมราชวงศา(กุทอง) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร คนที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๘๘ – ๒๔๐๙) มีบุตรหลายคนเห็นว่าท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) เป็นบุตรคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและกล้าหาญ เมื่อตั้งเป็นเจ้าเมืองแล้วปกครองอาณาประชาราษฏรให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขได้ และเป็นการขยายเขตการปกครองเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้มีบ้านเมืองติดต่อเนื่องกันมาก ๆ และบุตรหลานทั้งหลายก็ได้มีช่องทางรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้มอบหมายให้ท้าวธรรมกิตติกา (จูมมณี) และท้าวสีถาน ล่องเรือตามลำน้ำมูล เพื่อได้เห็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมก็ได้สร้างบ้านแปลงเมือขึ้นเป็น “เมืองพิบูลมังสาหาร” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พระราทานสัญญาบัตรเป็นพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) และเป็นเจ้าเมืองพิบูลมังสาหารคนแรกในเวลาต่อมา
๓. แหล่งอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งเมืองเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลที่อุดมสมบูรณ์ดินดี มีแม่น้ำสาขาหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำมูล จึงทำให้บริเวณนี้อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์น้ำนานาชนิด
๔. เมืองหน้าด่าน ในขณะนั้นประเทศฝรั่งเศส ได้แผ่ขยายล่าอาณานิคมเพื่อหาเมืองขึ้นในประเทศเวียดนาม และเขมร ได้ขยายเข่ามาในลุ่มน้ำโขงตอนบน และมีท่าว่าจะรุกล้ำเช้ามาตามลำน้ำมูล ซึ่งหากมีการรุกล้ำดินแดนเกิดขึ้นจริงเมืองพิบูลมังสาหารจะเป็นเมืองหน้าด้านที่สามารถต่อต้านข้าศึกสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูเข้ามาถึงเมืองอุบลราชธานีโดยง่าย