สมุนไพรพื้นบ้านผักแว่น
ผักแว่น(ชื่อวิทยาศาสตร์:Marsilea crenata) เป็นเฟินน้ำชนิดหนึ่ง มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จัดอยู่ในวงศ์MarsileaceaeสกุลMarsileaมีลักษณะเป็นเหง้าเถาเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำหรือโคลนเลน พบเห็นได้ทั่วไปตามริมน้ำหรือพื้นดินที่มีน้ำขังแฉะ สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยาผักแว่นมีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้ ภาคเหนือ/อีสาน/กลาง – ผักแว่น ภาคใต้ – ผักลิ้นปี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแว่น
·ลำต้น– กลม มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
·ใบ– เป็นใบประกอบ มีใบย่อยทั้งสี่ใบ รูปกรวยปลายมนเป็นรูปลิ่มคล้ายพัด มีเส้นใบแบบ dichotomous คล้ายบัวแฉกขนาดใบกว้าง 0.6–1.5 เซนติเมตร ยาว 0.8–1.9 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบและแผ่นใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ไม่มีขน แผ่นใบจะงอกกออกจากตรงกลางตำแหน่งเดียวกัน 3–5 ใบ ทำให้ใบทั้งหมดรวมกันเป็นลักษณะกลม
·ก้านใบ– ยาว 4.5–15 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ มี Sporocarpลักษณะรีคล้ายเมล็ดถั่วเขียวออกที่โคนก้านใบขณะอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ
·ดอกช่อ– ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2–3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้
คุณประโยชน์
ใช้เป็นยาภายนอก รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผล สารที่ออกฤทธิ์คือ กรดMadecassic,Asiatic acid และ Asiaticoside acid ซึ่งช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ
· น้ำต้มใบสด : รสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สมานแผลในปากและลำคอ ดื่มระงับอาการร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
· ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสานผักแว่นมักนำมากินเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ โดยสามารถนำมากินสดได้ทั้ง ใบอ่อน ก้านใบ และยอดอ่อน หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรูปแบบอื่น ๆ เช่น แกงผักแว่น ผัดเผ็ดหมูผักแว่น