บัวจิ๋ว
วงศ์ NYMPHAEACEAE
สกุล Nymphaea อุบลชาติ (ชื่อสามัญที่ใช้เรียก Waterlily) ลักษณะลำ ต้นอยู่ใต้ดินโดยมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้า คือกลุ่มบัวผัน บัวเผื่อน จงกลนี บัวสาย บัวนางกวัก บัวยักษ์ออสเตรเลีย ซึ่งสามารถแยกออกไปเป็นประเภทย่อยๆอีกโดยพวกที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ใบกลมขอบใบเรียบ ดอกลอยเหนือน้ำและมีเฉพาะพวกดอกบานกลางวัน ดอกสีคราม ฟ้า น้ำเงินและสีม่วง เจริญเติบโตเป็นเหง้าใต้ดินขนานไปกับผิวดิน สามารถสลัดใบหรือผลิใบก้านสั้นหนา จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวที่ผิวหน้าของน้ำที่เป็นน้ำแข็งเพื่อปรับตัวให้อยู่ รอด และเจริญเติบโตส่งใบลอยขึ้นเหนือน้ำใหม่อีกครั้งเมื่อน้ำอุ่นขึ้นช่วงที่น้ำ แข็งบริเวณผิวน้ำละลาย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไปทุกฤดูในเขตหนาว นักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศเรียก "Castalia Group" แต่นักเกษตรต่างประเทศนิยมเรียก "Hardy Water lily" จึงได้มีผู้บัญญัติศัพท์ใช้ในภาษาไทยว่า "อุบลชาติประเภทยืนต้น" แต่ชื่อนี้ยาวไป ดร.เสริมลาภ วสุวัต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องบัว ได้เรียกชื่อใหม่ว่า "บัวฝรั่ง" เหตุเพราะมีถิ่นกำเนิดในแถบต่างประเทศ ให้เรียกกันง่ายๆจำง่ายและเข้ากับชื่อไทยในประเภทนี้อย่าง บัวผัน บัวเผื่อน บัวสาย เป็นต้น
อีกประเภทหนึ่งคือ "อุบลชาติประเภทล้มลุก" (Tropical Water Lily) พวกบานกลางวันคือ บัวผัน บัวเผื่อน ดอกจะมีเฉดสีแทบทุกสียกเว้นสีดำ ส่วนพวกบางกลางคืน คือ บัวสาย มีเฉพาะสีแดง ชมพู และขาว โดยลักษณะใบของพวกบานกลางวันขอบใบจักมนไม่เป็นระเบียบ เส้นใต้ใบไม่โป่ง ส่วนพวกดอกบานกลางคืนของใบจักแหลมมีระเบียบ เส้นใต้ใบโป่ง
บัวอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอุบลชาตินี้ชั่วคราว เพราะมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนพบในประเทศไทย ได้แก่บัว "จงกลนี" เป็นบัวที่มีลักษณะใบเป็นรูปกลมรีคล้ายไข่ ลักษณะเฉพาะคือดอกเมื่อบานแล้วจะไม่หุบ บานตลอดเวลาอาจเนื่องมาเพราะบัวจงกลนีมีกลีบดอกแผ่จำนวนมากเมื่อบานแล้วจึง ไม่สามารถหุบกลับได้เหมือนบัวบางชนิด ไม่มีประวัติทางวิชาการพฤกษศาสตร์ของจงกลนี เท่าที่สืบทราบมีหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์จากวรรณคดีอ้างถึงเมื่อ ครั้งกรุงสุโขทัยร่วม ๘๐๐ กว่าปีมาแล้วมีการปลูกบัวจงกลนีเป็นไม้ประดับในสระน้ำ โดยนักพฤกษศาสตร์ไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประสานกับต่างประเทศเพื่อ กำหนดและจัดอนุกรมวิธานของจงกลนีเพราะเป็นบัวที่พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น