ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 32' 33"
6.5425000
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 16' 59.0002"
101.2830556
เลขที่ : 19081
พิธีละหมาด
เสนอโดย กนกวรรณ พรหมทัศน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554
จังหวัด : ยะลา
0 1073
รายละเอียด

การละหมาด คือ เสาหลักของศาสนาอิสลาม... เมื่อได้ยินเสียงอาซาน ให้เตรียมตัวไปละหมาด และให้ทิ้งภาระหน้าที่ต่างๆ สิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮ์ คือ การละหมาด งานที่ดีที่สุด คือ การละหมาด การเอี๊ยะติกาฟเดือนรอมาฏอน การอ่านอัลกุรอาน การซิกรุลุลอฮ์ การรักษาความสะอาด การทำนุบำรุงมัสญิดให้ก้าวเท้าขวา เข้าไปในมัสญิด และก้าวเท้าซ้ายออกจากมัสญิด พร้อมกับอ่านดุอาร์ และอย่าได้พูดคุยในสิ่งไร้สาระภายในมัสญิด สมควรละหมาดซุนนะฮ์ ควบคู่กับละหมาดฟัฏรู อันจะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้น การละหมาดญะมาอะฮ์ จะได้รับภาคผลมากกว่า ละหมาดคนเดียว 27 เท่า ห้ามมะมูมยืนล้ำหน้าอิหม่าม และปฏิบัติล้ำหน้าอิหม่าม ห้ามละหมาด ในกุโบร(สุสาน) ในห้องน้ำ ในสถานที่ที่เป็นนญิส จงให้ผู้อยู่ในครอบครัว ทำการละหมาด ให้ชี้แจงถึงความประเสริฐของการละหมาด และโทษทัณฑ์ของการทิ้งละหมาด จงมีความสำรวมในการละหมาด แต่งกายให้เหมาะสมกับการเข้าเฝ้าอัลลอฮ์ ห้ามประกาศซื้อขายสิ่งของ หาของหาย หรือลงอาญาในมัสยิด ห้ามประดับประดามัสญิดเพื่อการโอ้อวด หรือมีลวดลาย ทำให้จิตใจของผู้ละหมาดขาดความสำรวม อนุญาตให้สตรีไปละหมาดที่มัสญิดได้ โดยแต่งกายให้มิดชิดและไม่ใส่น้ำหอม จนกลิ่นโชยไปยังผู้อื่น ชำระร่างกายให้สะอาด สวมเสื้อผ้าสะอาด ใส่ของหอม(มุสลิมีน) แล้วรีบไปมัสญิดในวันญุมุอะฮ์(วันศุกร์) ควรอ่านซูเราะห์ อัลกะฮ์ฟี ตัสเบียห์ ตะห์มีด ตะห์ลีล ตักบีร ซอละหวาตนะบี อ่านดุอาร์ และกล่าวซิกุลุลอฮ์ให้มาก ในวันญุมุอะฮ์ จงทำละหมาดซุนนะฮ์ เพื่อเพิ่มพูนความดี จากการละหมาดฟัฏรู จงใช้ให้ลูกๆละหมาดเมื่ออายุ 7 ปี และจงลงโทษ บังคับให้ละหมาดเมื่อเขาอายุ 10 ปี การละหมาดจะลบล้างความผิด ดั่งน้ำที่ชำระสิ่งสกปรก บ่าวจะใกล้ชิดกับพระองค์อัลลอฮ์มากที่สุด ขณะที่เขาทำการสุญูด สิ่งลบล้างความผิด คือ การละหมาดอย่างสมบูรณ์ ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ การก้าวเดินไปยังมัสญิด การรอเวลาละหมาดจากเวลาหนึ่งยังอีกเวลาหนึ่ง. ความ สำคัญของการละหมาด การละหมาด การ ละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า "และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยังยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม" อัล - อังกะบูต : 45 การละหมาดฟัรฎู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ 1. ละหมาดศุบหฺ มี 2 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 2. ละหมาด ซุฮฺริ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อย จนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทอดยาวออกไปเท่าตัว 3. ละหมาดอัศรฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเองจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน 4. ละหมาดมักริบ มี 3 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ 5. ละหมาดอิชาอฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องละหมาด 1. เป็นมุสลิม 2. บรรลุศาสนภาวะ 3. มีสติสัมปชัญญะ 4. ปราศจากหัยฎฺ นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ เงื่อนไขของการละหมาด นอกจากมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ผู้ละหมาดยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการละหมาดอีก 8 ประการ คือ 1. ต้องปราศจากหะดัษใหญ่และหะดัษเล็ก คือ ต้องไม่มีญะนาบะฮฺ หัยฎู นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ และต้องมีน้ำละหมาด 2. ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ละหมาด ต้องสะอาด 3. ต้องปกปิดเอาเราะฮฺ กล่าวคือ ผู้ชายต้องปิดตั้งแต่สะดือถึงหัวหัวเข่า ผูู้้หญิงจะต้องปกปิดทั่วร่างกายยกเว้นมือและใบหน้า 4. ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ 5. ต้องรู้ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว 6. ต้องรับว่ามุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติการละหมาด 7. ต้องไม่ตั้งใจเปลี่ยนการละหมาดเป็นอย่างอื่น 8. ต้องห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้เสียละหมาด การละหมาด และ มัสยิด โดย อ.ดาวูด รอมาน 1. การยึดเอากุโบรมาทำเป็นมัสยิด จากอิบนุอับบาส ในคำกล่าวของอัลลอฮ์ ที่ความว่า "และ พวกเขาได้กล่าวว่า พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้งบรรดาพระเจ้าของพวกท่านเป็นอันขาด พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้ง วัดด์ และสุวาอ์ และยะฆูษ และยะอูก และนัสร์ เป็นอันขาด" (นูห์/23) อิบนุอับบาสอธิบายว่า "เหล่า นี้เป็นชื่อของคนดีจากหมู่ชนนูห์ แต่เมื่อพวกเขาตายไป มารร้ายได้มายุแหย่แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า จงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นในที่พวกเขาเคยพำนักอยู่ และจงตั้งชื่อตามชื่อของพวกเขา โดยที่ยังไม่ถูกกราบไหว้ในตอนแรก จนกระทั่งคนเหล่านี้ตายจากไป ความรู้จึงถูกลืมเลือน เหล่านี้จึงถูกกราบไหว้" (บันทึกโดย บุคอรีย์) ได้ชี้ให้เห็นว่าศาสนาอิสลามห้ามการหลงใหล คลั่งไคล้ ในตัวของมนุษย์จนเลยเถิด เพราะมันเป็นเหตุที่จะนำไปสู่การเคารพบูชาคนดีๆเหล่านั้น โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นมัสยิด อาคาร ฯลฯ แล้วผู้คนก็ไปทำการละหมาด ไปทำพิธีกรรม เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น ท่านเราะซูล กล่าวความว่า "และ แท้จริง บุคคลที่มีชีวิตอยู่ก่อนหน้าพวกท่านนั้น พวกเขาได้ยึดเอากุโบรของบรรดานะบีมาทำเป็นมัสยิด แท้จริงฉันห้ามพวกท่านในเรื่องนี้"(บันทึกโดย มุสลิม) จึงเป็นที่ชัดเจนว่า อิสลามห้ามยึดเอากุโบรมาทำเป็นมัสยิด ใครที่ฝังคนตายในมัสยิด จำเป็นต้องเอาออกจากมัสยิด และมัสยิดใดที่สร้างบนกุโบร จำเป็นต้องรื้อออก ทั้งนี้เพราะความห่วงใยของนะบี ที่ต้องการให้ประชาชาติของท่านห่างไกลจากสื่อต่างๆ ที่เป็นชิริก หรือจะนำไปสู่การทำชิริก 2. เมื่อรับประทานสิ่งที่มีกลิ่นเหม็นห้ามเข้ามัสยิด การละหมาดเป็นการทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ จำเป็นต้องมีการให้เกียรติอย่างมาในด้านจิตวิญญาณ ร่างกายและสติปัญญา ทั้งนี้เพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายอันสูงส่ง ดังนั้นบัญญัติศาสนาจึงได้ส่งเสริมให้มุสลิมมีการเตรียมพร้อม เพื่อเป้าหมายอันสะอาดบริสุทธิ์ โดยการห้ามเอากุโบรเป็นมัสยิด และห้ามละหมาดที่กุโบร เพื่่อหัวใจของผู้ลหมาดจะได้จดจ่ออยู่กับอัลลอฮ์ องค์เดียว เท่านั้น และได้ห้ามเข้ามัสยิดสำหรับคนที่รับประทานสิ่งที่มีกลิ่นเหม็น เพราะกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จะไปรบกวนผู้ที่มาร่วมทำอิบาดะฮ์ ด้วยเหตุนี้ท่านเราะซูล จึงได้เป็นต้นแบบในการทำความสะอาด และมีการปะพรมน้ำหอม โดยทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์ ที่ความ ว่า "จงเอาเครื่องประดับกายของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิด (การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย ขณะไปมัสยิด)" (อัลอะอ์รอฟ/31) และยังมีคำสั่งห้ามเข้ามัสยิดสำหรับผู้รับประทานหัวหอม กระเทียม และสิ่งที่มีกลิ่นฉุน จากญาบิร บินอับดุลอฮ์ กล่าวว่า ท่านเราะซูล กล่าวความว่า "ผู้ใดรับประทานกระเทียม หรือหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นแรง ห้ามเข้ามัสยิด จนกว่าเขาจะได้ขจัดออกโดยการแปรงฟัน การบ้วนปากเสียก่อน" 3. การถ่มน้ำลาย ,เสมหะลงในมัสยิด อิสลามได้กำหนดกฏเกณฑ์และข้อห้ามต่างๆ แก่มัสยิดตลอดจนความสะอาด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความมักง่ายของผู้คน ที่มักจะทำขึ้นตามสถานที่ต่างๆ โดยไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน เช่นการถ่มน้ำลาย , การบ้วนเสมหะ , การสั่งน้ำมูกลงบนพื้น ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ต้องห้ามอย่างยิ่ง จากอนัส กล่าวว่า แท้จริงท่านเราะซูล กล่าวความว่า "แท้จริงการถ่มน้ำลายในมัสยิดเป็นความผิด และการถ่ายถอนความผิดของมันคือการฝังมัน" (บันทึกโดย บุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด ตริมีซีย์ และนาซาอีย์) อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า การถ่มน้ำลายในมัสยิด ถือเป็นความผิดทุกกรณี จะมีความต้องการหรือไม่ก็ตาม แต่ทว่าให้ถ่มน้ำลายลงในผ้าของเขาเอง และหากเกิดการถ่มน้ำลายลงในมัสยิด ก็ถือว่าเขาได้ทำผิด ซึ่งจะลบล้างมันด้วยการฝังกลบมัน และเมื่อต้องการถ่มน้ำลายหรือเสมหะในขณะที่กำลังละหมาดอยู่ ก็ให้ถ่มไปทางด้านซ้าย หรือไม่ก็ใต้ฝ่าเท้า หรือไม่ก็ชายเสื้อผ้าแล้วก็ขยี้ จากอนัส กล่าวว่า แท้จริงท่านเราะซูล ได้ เห็นเสมหะติดอยู่ที่ทิศกิบลัตฮ์ ท่านเกิดความไม่สบายใจ จนเห็นได้จากสีหน้าของท่าน ท่านจึงลุกขึ้นยืนแล้วใช้มือขยี้มัน แล้วกล่าวความว่า "แท้จริงคนหนึ่งคนใดในพวกท่านเมื่อยืนละหมาดอยู่ มันเป็นการขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ์ นั่นคือพระเจ้าของเขาอยู่ต่อหน้าเขาในทิศกิบละฮ์ คนหนึ่งในพวกท่านอย่าได้ถ่มน้ำลายไปทางทิศกิบละฮ์เป็นอันขาด แต่ว่าให้ถ่มไปทางซ้ายหรือไม่ก็ใต้ฝ่าเท้าของเขา" ต่อมาท่านนะบี ก็จับชายเสื้อคลุมขึ้นมาแล้วถ่มน้ำลายลงไปแล้วขยี้ มัน แล้วกล่าวว่า "หรือให้เขาทำเช่นนี้" (บันทึกโดย บุคอรีย์) 4. การค้นหาของหายในมัสยิด มัสยิดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการทำอิบาดะฮ์ การทำละหมาด และการซิกรุลลอฮ์ เท่านั้น แต่ผู้คนกลับใช้เป็นที่ค้นหา , ประกาศของหาย ทั้งที่เป็นทรัพย์สินตลอดจนสัตว์เลี้ยง , ใช้เป็นที่ตั้งวงสนทนา และใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ฯลฯ ดังนั้นเพื่อป้องกันมัสยิดให้พ้นจากทุกสิ่งที่มิใช่เป้าหมายของการสร้าง มัสยิด และเพื่อขจัดความวุ่นวายต่างๆ ที่จะมารบกวนผู้ละหมาด ผู้ทำซิเกร ผู้ทำอิบาดะฮ์ ศาสนาจึงได้ห้ามประกาศค้นหาของหายในมัสยิด จากอบูฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า ท่านเราะซูล ได้กล่าวความว่า "ผู้ ใดที่ได้ยินชายคนหนึ่งค้นหาของหายในมัสยิด เขาจงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮ์จะไม่คืนของที่หายให้แก่ท่านหรอก แท้จริง มัสยิดมิได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนี้" (บันทึกโดย มุสลิม อบูดาวูด อิบนุมาญะฮ์) เพราะฉะนั้น การสาปแช่งคนที่ค้นหาของหายในมัสยิดว่า "เขาจะไม่ได้ของที่หายกลับคืนมา ถือว่าเป็นการลงโทษเขาที่กระทำสิ่งที่ผิดในมัสยิด" - อิหม่ามนะวะวีย์ กล่าวว่า ยังรวมถึงการซื้อขาย การเช่ายืม และอื่นๆในทำนองนี้ - อิหม่ามมาลิกและผู้รู้กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า การใช้เสียงดังในมัสยิดเป็นที่น่าเกลียด - มัซฮับชาฟิอี กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า เรื่องที่ห้ามทำในมัสยิด คือเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์ส่วนตัว ดังนั้น ห้ามค้าขาย ส่วนเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่คนส่วนรวมด้านศาสนา เช่นการซ่อมแซม การสอนเด็กๆในเรื่องศาสนา เป็นที่อนุญาต 5. การทิ้งละหมาดวันศุกร์ บางคนได้เพิกเฉย และละเลยต่อการละหมาดวันศุกร์ โดยเข้าใจว่าทำละหมาดดุฮ์ริ ทดแทนได้ ทั้งๆที่ท่านเราะซูล ได้คาดโทษอย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาดวัน ศุกร์โดยไม่มีอุปสรรค จากอบูฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า ท่านเราะซูล กล่าวความว่า "แน่นอนว่า คนกลุ่มหนึ่ง(ที่ทิ้งละหมาดวันศุกร์) จะต้องละเลิกจากการทิ้งละหมาดวันศุกร์ หรือไม่อย่างนั้น อัลลอฮ์จะทรงประทับตราบนหัวใจของพวกเขา" (บันทึกโดย มุสลิม) และอีกบทหนึ่งที่ท่าน เราะซูล กล่าวความว่า "ผู้ใดที่ทิ้งละหมาดวันศุกร์ 3 ศุกร์ โดยการเพิกเฉย อัลลอฮ์ ได้ประทับตราลงบนหัวใจของเขา" (บันทึกโดย ตริมีซีย์ นะซาอีย์ และ อิบนุมาญะฮ์) ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ทิ้งการละหมาดวันศุกร์ คือ ต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ โดยที่ ต้องละหมาดวันศุกร์ และต้องไม่ละทิ้งอีกต่อไป การพุดคุยกันขณะคุฏบะฮ์ วันศุกร์ ถือว่าการแสดงออกถึงการให้ความสำคัญต่อบทบัญญัติของศาสนา และให้เกียรติต่อมัสยิด คือ การห้ามพูดคุยกันในขณะที่อิหม่ามกำลังคุฏบะฮ์อยู่แม้แต่การห้ามผู้คนที่ กำลังพุดคุยกันอยู่โดยใช้คำพุดว่ากล่าวตักเตือน จากอบูฮุรอยเราะฮ์ จากท่านนะบี กล่าวความว่า "เมื่อ ท่านกล่าวว่า "ท่านจงเงียบ" ขณะที่อิหม่ามกำลังคุฏบะฮ์อยู่ แน่นอนท่านเองก็โมฆะ" (บันทึก โดย บุคอรีย์ มุสลิม นะวาวีย์ และ อิบนุมาญะฮ์) ในฮะดิษได้ชี้ชัดว่าห้ามคำพูดทุกประเภท เพราะหากคนหนึ่งกล่าวแก่เพื่อนเขาว่า "จง นิ่งเงียบ" ซึ่งเป็นคำพูดดี แต่ท่านเราะซูล กล่าวว่า "เป็นโมฆะ" แล้วคำพูดอื่นๆจากนี้ จึงเป็นที่ต้องห้ามยิ่งกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนการห้ามพูดกันขณะคุฏบะฮ์นั้น กระทำได้โดยใช้สัญญาณแทนการพูด การละทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ การละหมาดญะมาอะฮ์เป็นหนึ่งในบรรดาเป้าหมายอันสูงสุดของอิสลาม โดยเหตุนี้จึงมีบรรดาฮะดิษมากมายได้กล่าวถึงภาคผลของการละหมาดญะมาอะฮ์ว่า ประเสริฐกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้มั่นคงและแน่นแฟ้นในมวลหมู่บรรดา มุสลิมที่มาละหมาดร่วมกัน และแยกย้ายกันไปทำมาหากิน มีการช่วยเหลือกันและกัน และปรึกษาหารือกัน จากอบูฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า ท่านเราะซูล กล่าวความว่า "แน่แท้ฉันปราถนาที่จะให้มีการละหมาดญะมาอะฮ์ โดยถูกจัดขึ้น ต่อมาฉันจะใช้ให้ชายคนหนึ่งให้นำผู้คนละหมาด หลังจากนั้นฉันจะพาบรรดาชายหนุ่มออกไปกับฉัน พวกเขามีฟืนเป็นกำๆ โดยไปยังพวกที่ไม่ไปละหมาด และฉันจะเผาบ้านของพวกเขา" (บันทึกโดย บุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด อิบนุมาญะฮ์) อิบนุ อุมมุมักตูม ได้ถามท่านเราะซูล ว่า "โอ้ท่านเราะซูล ฉันเป็นคนตาบอด บ้านอยู่ไกลและคนนำทางฉันไม่เหมาะสม สำหรับฉันมีข้อผ่อนผันหรือไม่ โดยที่ฉันจะละหมาดที่บ้าน ท่านเราะซูล กล่าวว่า ท่านได้ยินเสียง อาซาน หรือไม่ ? เขาตอบว่า ได้ยิน ท่านเราะซูล กล่าวว่า ฉันไม่พบข้อผ่อนผัน สำหรับท่าน" (บันทึกโดย มุสลิม อบูดาวูด นะซาอีย์ และอิบนุมาญะฮ์) ข้อคิดเห็นของบรรดา นักวิชาการในการละทิ้งการละหมาดญะมาอะฮ์ กลุ่มที่หนึ่ง การละทิ้งละหมาดญะมาอะฮืเป็นที่ต้องห้าม กล่าวคือ การละหมาดเป็นวาญิบ หากละทิ้ง คือการทำสิ่งฮะรอม เป็นความเห็นของ อะตออ์ อิบนุ อบูรอ บาฮ์ เอาซาอีย์, อะห์มัด อิบนุฮัมบัล, อบูเซาร์, อิบนุคุซัยมะฮ์ และดาวูด อัซซอฮิรีย์ กลุ่มที่สอง การละหมาดญะมาอะฮ์ ไม่ได้เป็นฟัรฏูอีน(จำเป็น)แก่ทุกคน แต่ว่าเป็นฟัรฏูกิฟายะฮ์ ดังนั้นการละทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ คือการทิ้งสิ่งที่ประเสริฐเท่านั้น เป็นความเห็นส่วนมากของมัซฮับชาฟิอีย์ และ นักวิชาการส่วนมาก โดยให้เหตุผลว่า ฮะดิษที่กล่าวถึงคนไม่ร่วมละหมาดญะมาอะฮ์ในยุคนั้นหมายถึงพวกมุนาฟิก และที่ว่าท่านเราะซูล จะเผาบ้านพวกเขา แต่ท่านไม่ได้เผา ซึ่งหากว่าเป็นฟัรฏู ท่านเราะซูล ต้องไม่ปล่อยไว้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความเห็นที่แตกต่างนี้ ก็ไม่ได้ออกจากเรื่องการลงโทษที่รุนแรง นั่นคือ การเผาบ้าน และการละหมาดญะมาอะฮ์นั้นเป็นภาพอันเข้มแข็งของอิสลาม การแตกแยกคือภาพของความอ่อนแอ และการละหมาดญะมาอะฮ์นั้นถือว่า เป็นการช่วยเหลือกันในเรื่องของความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ การละหมาดของคนที่หิว และกลั้นปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะและอุจจาระ และหิวกระหาย เป็นอาการที่แสดงความทุกข์ ความเจ็บปวดแก่มนุษย์ ซึ่งมีคำสั่งห้ามทำการละหมาดถ้าหากว่าอยู่ในอาการดังกล่าว บรรดานักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่า การละหมาดในขณะที่หิว หรือกลั้นปัสสาวะถือเป็นสิ่งต้องห้าม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นมักรูฮ์ น่ารังเกียจ จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่ารเราะซูล กล่าวว่า "เขาจะไม่ละหมาด เมื่ออาหารได้จัดวาง และไม่ละหมาดในขณะที่กลั้นปัสสาวะ อุจจาระ" (บันทึกโดย ตริมีซีย์ นะซาอีย์ อบูดาวูด อิบนุมาญะฮ์) จากฮะดิษบทนี้ บรรดานักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันดังนี้ คือ 1. ซอฮิรียะฮ์ เห็นว่า ใครที่ละหมาดในสภาพดังกล่าว ละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ 2. ผู้รู้บางคนในมัซฮับชาฟิอีย์ เห็นว่า ต้องไม่ละหมาดในสภาพดังกล่าว แต่ให้กินอาหารก่อน และไปขับถ่าย ทำความสะอาดก่อนแม้ว่าจะหมดเวลาก็ตาม 3. อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หากว่าใครละหมาดในสภาพดังกล่าวทั้งๆที่เวลาละหมาดยังมีอีกมาก เขาได้ทำในสิ่งที่น่าเกลียด การละหมาดของเขาถือว่าใช้ได้ และเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก และที่ว่าการละหมาดนั้นใช้ได้ หมายถึง เขาได้ทำสิ่งที่เป็นฟัรฏู แต่แน่นอนว่าความมีสมาธิย่อมบกพร่องไป การปัสสาวะไม่สุด คำสอนของอิสลามอีกข้อหนึ่ง คือ การทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้าและสถานที่ โดยเฉพาะเมื่อจะเข้าสู่การละหมาด กล่าวคือการทำความสะอาดร่างกายให้ปราศจากฮะดัษใหญ่ และฮะดัษเล็ก ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการละหมาด หากละหมาดทั้งๆที่มีฮะดัษใหญ่ หรือฮะดัษเล็ก การละหมาดถือว่าใช้ไม่ได้ ดังนั้นการละเลยที่จะปัสสาวะให้สุดจึงเป็นที่ต้องห้าม เพราะว่ามันเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะถูกลงโทษในหลุมฝังศพ จากอิบนุ อับบาส กล่าวว่า ท่านนะบี ได้ผ่านไปที่สองหลุมศพ แล้วท่านได้กล่าวความว่า "แท้จริง เขาทั้งสองแน่นอนว่ากำลังถูกลงโทษอยู่ และเขาทั้งสองไม่ได้ถูกลงโทษในเรื่องใหญ่ หนึ่งจากเขาทั้งสอง ไม่ทำให้เสร็จจากการปัสสาวะของเขา ส่วนอีกคนหนึ่ง เขาชอบนินทา" (บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม) การอิสติบรออ์ คือการทำให้ปัสสาวะที่อยู่ในท่อปัสสาวะออกมาให้หมด โดยใช้มือซ้าย ซึ่งมีความแตกต่างตามความต่างของแต่ละคน เป้าหมายคือ มั่นใจว่าไม่มีปัสสาวะค้างอยู่ในลำกล้อง ซึ่งบางคนก็เพียงรูดเบาๆ บางคนก็หลายครั้ง แต่ไม่ถึงขนาดแหวกเอาผ้าเช็ด หรืออยู่ในห้องส้วมเป็นเวลานาน นักวิชาการส่วนมากเห็นว่า การอิสติบรออ์ เป็นวาญิบ โดยอาศัยฮะดิษที่ผ่านมา และนักวิชาการบางท่านเห็นว่า การอิสติบรออ์ เป็นซุนนะฮ์ โดยอาศัยฮะดิษที่ว่า "พวกท่านจงทำความสะอาดจากปัสสาวะ แท้จริงส่วนมากของการลงโทษในกุโบรมาจากมัน" การปัสสาวะสุด มันจะไม่ย้อนกลับเข้ามา โดยที่เขามั่นใจว่าตามปกติแล้ว หากปัสสาวะไม่สุดมันจะมีไหลออกมาอีก การละหมาดในกุโบร และในห้องน้ำ ความสะอาดเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ส่งผลทำให้การละหมาดใช้ได้ กล่าวคือ ร่างกายต้องสะอาด สถานที่ เสื้อผ้า และหัวใจต้องสะอาดขณะละหมาดเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงห้ามละหมาดในสถานที่ที่เป็นแหล่งสกปรก จากอบูสะอีด แท้จริงท่านนะบี กล่าวความว่า "แผ่นดินทั้งหมดเป็นมัสยิด ยกเว้นห้องน้ำและสุสานฝังศพ " (บันทึก โดย ตริมีซีย์ อบูดาวูด อิบนุมาญะฮ์) ท่านอิหม่ามคอฏฏอบีย์ กล่าวว่า อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า "หากว่า สุสานฝังศพมีดินที่ปะปนกับเนื้อหนังของคนตาย และน้ำหนอง น้ำเหลือง ก็ไม่อนุญาตให้ละหมาดในนั้น เพราะมีนะยิส(สิ่งสกปรก) และหากว่าละหมาดในจุดที่สะอาดก็ถือว่าใช้ได้ และห้องน้ำก็เหมือนกัน หากละหมาดในส่วนที่สะอาด ก็ไม่ต้องกลับมาละหมาดใหม่" อิหม่ามมาลิก กล่าวว่า "ไม่ เป็นไรถ้าละหมาดในกุโบร" อบูเซาร์ กล่าวว่า "ต้องไม่ ละหมาดในห้องน้ำและในกุโบร" อิหม่ามอะห์มัด และอิสหาก ว่า "เป็น มักโรห์ที่จะละหมาดในห้องน้ำและในกุโบร" กลุ่มที่ห้ามละหมาดในกุโบรอาศัย หลักฐานที่ว่า "พวกท่านจงละหมาดที่บ้านของพวกท่าน และอย่าทำให้บ้านเป็นกุโบร" ฮะดิษนี้ชี้ว่า กุโบรไม่ใช่สถานที่สำหรับละหมาด คือ กุโบรเป็นแหล่งนะยิส และมีคนตายถูกฝังอยู่ ส่วนห้องน้ำเป็นแหล่งรวมของนะยิ

คำสำคัญ
พิธีละหมาด
สถานที่ตั้ง
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่