ต้นพิกุล
พิกุล เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ ๘-๑๕ เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม
มีรอยแตกบางๆ ตามยาว ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นกว้าง เป็นทรงกลม ใบออกเรียงสลับกัน ใบมนรูปไข่ปลายแหลมลักษณะโคนใบมนสอบ ขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็ก ใบเป็นมันสีเขียว ขนาดใบกว้างบ ๓-๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕-๘ เซนติเมตร ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ ๘ กลีบเรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็น จักรเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรี ผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว ขนาดผลกว้างประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพิกุลไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอายุยืน เพราะโบราณเชื่อว่าต้นพิกุล
เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานและมีอายุยาวนาน จึงนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในงานพิธีมงคลได้เป็นอย่างดี
เช่น ด้ามหอกที่เป็นอาวุธ เสาบ้าน พวงมาลัยเรือ และมีความเชื่ออีกว่า ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เพราะโบราณเชื่อว่าเป็นไม้ที่มีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูก
ต้นพิกุลไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันจันทร์หรือวันเสาร์
ประโยชน์ของพิกุล
นำดอกที่หล่นมาตากแดดใช้ทำยา(ตำรายาไทย)รสหอมสุขุม แก้ลม บำรุงโลหิต ดอกใช้ทำยานัตถุ์ แก้ไข้ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอใบ รสเบื่อฝาด ฆ่าเชื้อกามโรค แก้หืดเมล็ด รสเฝื่อน ขับปัสสาวะเปลือกต้น รสฝาด ฆ่าแมงกินฟัน (ฟันผุ) แก้เหงือกอักเสบ เปลือกต้มกับเกลือแล้วนำมาอม แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอนกระพี้ รสขมเฝื่อน แก้เกลื้อนแก่น รสขมเฝื่อน บำรุงโลหิต แก้ไข้ราก รสขมเฝื่อน บำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลม