ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 47' 17.0308"
16.7880641
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 15' 18.7675"
101.2552132
เลขที่ : 193214
ประเพณีแห่ต้นผึ้ง วัดท่ากกแก
เสนอโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 10 กันยายน 2563
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 10 กันยายน 2563
จังหวัด : เพชรบูรณ์
0 720
รายละเอียด

ประเพณีแห่ต้นปราสาทผึ้งและลอยประทีป ไหลเรือไฟ วัดท่ากกแก ต.ตาลเดี่ยว อ.หล่มสักต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีดั้งเดิมของคนหล่ม ที่สืบเชื้อสายมาจากวัฒนธรรมล้านช้าง สมัยก่อนมีการทำกันอย่างแพร่หลายแถวพื้นที่ที่คนหล่มอยู่อาศัย
วิธีการคือ ชาวบ้านจะนำเอาแม่พิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นมะละกอดิบหรือฟักทองดิบแกะสลักเป็นดอก จุ่มลงไปในขี้ผึ้งที่ต้มให้ร้อนจนเหลว จากนั้น ก็นำมาจุ่มลงในน้ำเย็นโดยทันที ขี้ผึ้งก็จะจับตัวแข็งและหลุดออกมาเป็นดอกตามลวดลายของแม่พิมพ์ เรียกว่า ดอกผึ้งจากนั้น ก็จะนำดอกผึ้งดังกล่าวมาประดับกับหยวกกล้วยที่มีไม้ไผ่เป็นโครง ดัดแต่งเป็นทรงรูปปราสาท ขนาดใหญ่เล็กตามความต้องการ แล้วร่วมกันแห่เอาไปถวายให้พระในวัด
การแห่ต้นผึ้งจะทำกันในช่วงออกพรรษา หรือทำพร้อมกับการทอดกฐินเลย ซึ่งอาจมีพิธีไหลเรือไฟร่วมด้วย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจะมีการแห่ต้นผึ้งลงเรือไปตามแม่น้ำป่าสัก และอยากถวายวัดไปก็นำขึ้นท่าน้ำไปถวายได้ตามที่ญาติโยมต้องการ
ภูมิปัญญาที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือ กระบวนการนำเอาขี้ผึ้งไปถวายพระ เพื่อพระจะได้นำเอาขี้ผึ้งนั้นไปหล่อเป็นเทียนเพื่อทำพุทธบูชาอีกทีหนึ่ง โดยพระจะไม่ต้องออกมาหาขี้ผึ้งเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการผิดศีล
นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อถึงการถวายต้นผึ้งเพื่อเป็นการทำบุญถึงบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องและเพื่อเป็นการแก้บนอีกด้วยประเพณี งดงาม ในยามค่ำ

สถานที่ตั้ง
วัดท่ากกแก หมู่ที่ ๔ ตำบลตาลเดี่ยว
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมูที่ ๔ ตำบลตาลเดี่ยว
อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดท่ากกแก
บุคคลอ้างอิง นางสาวธัญญา คำมี
ชื่อที่ทำงาน วัดท่ากกแก
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านท่ากกแก
จังหวัด เพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่