ประเพณีลากพระ
ประเพณีลากพระ เป็นประเพณีที่สำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับศาสนาพุทธ (พัทลุง นครศรีธรรมราช
สุราษฎร์ธานี) ประเพณีลากพระเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลพระพุทธเจ้าแกไปโปรดพุทธมารดา ที่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงตอนเช้าพรรษา พอถึงวันออกพรรษา แกกลับลงมาโลกมนุษย์ เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่ เดือน ๘ แรมค่ำหนึ่ง พอถึงวันออกพรรษากะวันแรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ชาวพุทธพากันแห่ไปรับทำบุญใส่บาตร บางคนเข้าไม่ถึงเรือพระ ก็ซัดข้าวของลงไปในบาตร จึงกลายเป็นประเพณีซัดต้ม
พอท่านลงมาจากสวรรค์แล้ว ชาวบ้านกะพากันแห่ท่านไป บางก็โห่ร้องกัน ก่อนวันแรมค่ำหนึ่ง เรือพระต้องเสร็จหมดแล้ว เรือพระจะทำเป็นรูปพญานาค ๒ ตัว เรือพระทำบุษบกตั้งบน ที่ปลายแหลมเราเรียกว่ายอดนม ตกแต่งรูปแบบลายไทย หากวัดใดอยู่ใกล้คลอง ก็จะทำเป็นเรือหงส์ยาวรี และสามารถพายได้
เมื่อถึงวันงาน ชาวบ้านตื่นเต้นนอนไม่หลับ รุ่งขึ้นรีบชิงกันดึงเชือกเรือพระ พร้อมร้อง “เฮโลสารพา อีโย่ ระโห่ เหววกัน”
ก่อนวันลากพระ ชาวบ้านทำขนมต้มกันทุกครัวเรือน แจกจ่ายเพื่อนบ้าน “ของกูเหนียวดำ ของหมึงเหนียวขาว เอามากินแลถิ” เอาใบพ้อมาห่อข้าวเหนียวรูปสามเหลี่ยม การลากเรือพระนั้นจะลากไปชุมนุมกันที่แห่งหนึ่งและทำการสมโภชทำพิธีทางศาสนาฉลองพระกัน เมื่อเสร็จพิธีจะลากไปไหนกี่วันก็ได้ ในงานฉลองพระบางทีมีการละเล่น เช่น ซัดต้ม ชักกะเย่อ มวย หรือแข่งเรือพาย แข่งว่ายน้ำ เป็นต้น